- เข้าร่วม
- 1 มิถุนายน 2011
- ข้อความ
- 9,843
- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
พรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายแจกเงินดิจิทัลจำนวน 10,000 บาท ให้คนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคนที่มีอยู่ราว 50 ล้านคน โดยระบุว่าจะพัฒนาระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ด้วยเหตุผลเรื่องการกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินตามนโยบายที่วางไว้
บทความนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตต่อแนวนโยบาย โดยจำกัดขอบเขตแค่ประเด็นทางเทคโนโลยีเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นอื่นๆ ในแง่ความเหมาะสมของนโยบายในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
หากอ้างอิงการแถลงรายละเอียดของโครงการ ณ วันที่ 7 เมษายน 2566 โดยแกนนำของพรรค (คลิปแถลงฉบับเต็มด้านล่าง) การแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมีข้อจำกัดการใช้จ่ายเงินใน 3 มิติ ได้แก่
แกนนำของพรรคเพื่อไทยอธิบายว่าต้องใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพราะ "เขียนเงื่อนไข" ลงในตัวเงินดิจิทัลได้ จึงสามารถจำกัดการใช้งานเหล่านี้ได้ ซึ่งคำกล่าวนี้ห่างไกลจากข้อเท็จจริงในทางเทคนิคอยู่มาก
ผู้ที่เคยศึกษาเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นพร้อมกับเงินดิจิทัล Bitcoin คงทราบข้อมูลกันดีว่า หลักการสำคัญคือนำการประมวลผลไปอยู่บน "เชน" หรือสายโซ่ข้อมูล เพื่อให้ประมวลผลธุรกรรมแบบกระจายศูนย์โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางได้
แต่จริงๆ แล้ว ตัวบล็อกเชนมีหน้าที่ประมวลผลเฉพาะธุรกรรมที่อยู่บนสายโซ่ (on-chain) เท่านั้น ซึ่งครอบคลุมถึงแค่ว่า "ใครโอนเงินให้ใคร" (who pays whom) เปรียบได้กับระบบหลังบ้านเพียงอย่างเดียว โค้ดบนบล็อกเชนนั้นไม่รับรู้ถึงข้อมูลนอกโลกบล็อกเชน เช่น สภาพอากาศ, ราคาหุ้น, หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ผ่านมาโครงการบล็อกเชนต่างๆ ก็จะมีตัวกลางเรียกว่า Oracle นำข้อมูลเข้ามาสู่บล็อกเชนให้อีกทีหนึ่ง
แต่ในการนำไปใช้งานจริง เรายังต้องมีระบบอื่นที่อยู่นอกบล็อกเชน (off-chain) เข้ามาเชื่อมต่อด้วย ตัวอย่างคือระบบกระเป๋าเงิน (วอลเล็ต) ที่ช่วยให้ผู้ใช้จัดการวงเงิน การใช้จ่ายเงินแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นระบบภายนอกที่มาเชื่อมต่อกับบล็อกเชนอีกที หรือถ้าใครติดตามเรื่อง NFT ก็จะทราบว่าตัวไฟล์สินทรัพย์ดิจิทัล ถูกเก็บอยู่ในระบบสตอเรจแบบอื่นนอกบล็อกเชน เช่น ระบบ HTTP แบบดั้งเดิม หรือระบบไฟล์กระจายศูนย์ IPFS
การระบุว่าเลือกใช้บล็อกเชนเพราะเป็นเทคโนโลยีที่จำกัดสิทธิการใช้เงิน ไม่ให้ใช้นอกกรอบนโยบายได้ จึงไม่ถูกต้องในทางเทคนิค และในทางตรงข้ามคือ เทคโนโลยีบล็อกเชนกลับไม่สามารถทำสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้
นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไป เช่น ไม่สามารถรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมากๆ ได้ และต้องอาศัยเวลาในการประมวลผลแต่ละบล็อกนานกว่าระบบธุรกรรมออนไลน์ในปัจจุบัน
ในการแถลงของพรรคเพื่อไทย ได้อ้างถึงแนวคิดเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) โดยพยายามบอกว่าเงินแบบ CBDC ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งไม่จริงเสมอไป
แนวคิดของเงินดิจิทัล CBDC เป็นแค่การแปลงเงินตรา (currency) แบบดั้งเดิมให้อยู่ในรูปดิจิทัลเท่านั้น ตัวเทคโนโลยีจะเป็นบล็อกเชนหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างคือ โครงการทดสอบ CBDC รอบล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าใช้ระบบจากบริษัท Giesecke+Devrient ของเยอรมนี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรวมศูนย์ (centralized) ที่ไม่ใช่บล็อกเชน ด้วยเหตุผลว่าต้องการทดสอบระบบที่รองรับธุรกรรมจำนวนมากๆ ที่เป็นข้อจำกัดของบล็อกเชน
ระบบเงินดิจิทัล CBDC ของหลายประเทศเองก็ไม่ได้ใช้บล็อกเชนมาตั้งแต่แรก เช่น
ในช่วงหลัง ตัวแนวคิด CBDC เอง (ไม่ว่าเป็นเทคโนโลยีแบบใด) ยังถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นว่าต้องมีจริงๆ หรือไม่ ตัวอย่างคือ รายงานของธนาคารกลางสิงคโปร์หลังทดสอบ CBDC แล้ว และพบว่ายังไม่จำเป็นในตอนนี้ และ อดีตที่ปรึกษาธนาคารกลางของอังกฤษ ที่มีมุมมองว่า CBDC ซ้ำซ้อนกับเงินสำรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีอยู่แล้ว และไม่มีประโยชน์ชัดเจน
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทยชูประเด็นเรื่องการใช้บล็อกเชนว่า ต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินใน "โลกยุคใหม่" ซึ่งแตกต่างจากแอพพลิเคชันเป๋าตัง ที่เป็นเงินใน "โลกยุคเก่า"
อย่างไรก็ตาม ระบบเป๋าตังที่พรรคเพื่อไทยระบุว่าเป็นการเงินโลกยุคเก่า ใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบปกติร่วมกับการพัฒนาแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทั่วไป (ไม่มีบล็อกเชนเลย) กลับสามารถทำเงื่อนไข 3 ข้อที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้ และมีอยู่แล้วในโครงการคนละครึ่งที่ผ่านมา
ส่วนเงื่อนไขการใช้งานอื่นๆ เช่น แนวคิดเรื่องการให้เงินดิจิทัลหมุนอยู่ในระบบเพื่อให้เกิดการหมุนของเงินกระตุ้นเศรษฐกิจหลายรอบ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนอยู่ดี เพียงแค่กำหนดเงื่อนไขในแอพเป๋าตัง ให้วงเงินในแอพไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ (อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาของโครงการ) สามารถจ่ายออกเพื่อซื้อสินค้าอื่นๆ ในระบบได้เพียงอย่างเดียว ก็แก้ปัญหานี้ได้
ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ ระบบที่มีอยู่แล้วอย่างเป๋าตัง สามารถตอบโจทย์นโยบายเรื่องการจำกัดสิทธิการใช้เงินของพรรคเพื่อไทยได้ทั้งหมด ไม่ต้องลงทุนพัฒนา "โครงสร้างพื้นฐานใหม่" ให้ซ้ำซ้อน โดยที่ไม่เห็นประโยชน์ที่จับต้องได้จากเทคโนโลยีบล็อกเชนตามที่กล่าวอ้าง
ในแง่ของระยะเวลาโครงการ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบายพรรคเพื่อไทย บอกว่าจะใช้โครงการเงินดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 6 เดือนเท่านั้น และไม่ได้ระบุว่าหลังจากหมดโครงการ 6 เดือนนี้จะมีโครงการเกี่ยวกับเงินดิจิทัลอีกหรือไม่ หากไม่มีแผนต่อเนื่องอีก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่มาเพียงเพื่อโครงการเดียว ก็คงไม่คุ้มค่างบประมาณที่เสียไปเท่าไรนัก
ในแง่ของเวลาเริ่มดำเนินโครงการ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ประเมินว่าจะจัดตั้งรัฐบาลในช่วงไตรมาส 3 และเริ่มโครงการเงินดิจิทัลได้ในวันที่ 1 มกราคม 2567 เท่ากับว่ามีเวลาในการริเริ่มโครงการ พัฒนา และทดสอบระบบเพียงไม่กี่เดือน การพัฒนาระบบไอทีแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนในระยะเวลาเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ง่ายในทางปฏิบัติ และมีโอกาสล้มเหลวสูง ดังที่ตลาดหุ้นออสเตรเลียล้มเลิกโครงการเปลี่ยนระบบเป็นบล็อกเชน สูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณที่ใช้ไป
อย่างไรก็ตาม ระบบที่มีอยู่แล้วอย่างเป๋าตัง ยังมีจุดอ่อนในแง่ความเป็นเจ้าของที่ไม่ชัดเจน เพราะโครงการเป๋าตังพัฒนาโดยธนาคารกรุงไทย (ในฐานะรัฐวิสาหกิจ) ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง การที่ธนาคารรายเดียวได้สิทธิในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ จึงควรถูกตั้งคำถามในแง่การแข่งขันในอุตสาหกรรม เพราะถือว่าได้เปรียบธนาคารหรือสถาบันการเงินรายอื่น (รวมถึงธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจรายอื่นด้วย เช่น ธนาคารออมสิน หรือ ธกส.) เป็นอย่างมาก
หากเรามองย้อนดูจุดเริ่มต้นของโครงการเป๋าตัง ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาพิเศษคือระหว่างวิกฤต COVID-19 ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ก็พอเข้าใจได้ว่า ธนาคารกรุงไทยอาจมีความพร้อมในการพัฒนาระบบไอทีมากกว่าหน่วยงานอื่น และสามารถสร้างระบบขึ้นมาตอบสนองนโยบายภาครัฐได้ในเวลาที่จำกัดมาก
แต่ในปี 2566 วิกฤต COVID-19 คลี่คลายไปมากแล้ว รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้ง ควรต้องหยิบประเด็นนี้มาพิจารณา และหารือกันว่าความเป็นเจ้าของ "โครงสร้างพื้นฐานการเงิน" ของประเทศไทยควรเป็นของใครกันแน่ ภารกิจในอนาคตระยะยาวของเป๋าตังควรเป็นอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจอื่นๆ เข้ามาแข่งขันบนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรมและเสรี
Topics:
Pheu Thai Party
CBDC
Thailand
Finance
Blockchain
อ่านต่อ...
บทความนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตต่อแนวนโยบาย โดยจำกัดขอบเขตแค่ประเด็นทางเทคโนโลยีเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นอื่นๆ ในแง่ความเหมาะสมของนโยบายในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ข้อจำกัดของการใช้เงินดิจิทัลของพรรคเพื่อไทย
หากอ้างอิงการแถลงรายละเอียดของโครงการ ณ วันที่ 7 เมษายน 2566 โดยแกนนำของพรรค (คลิปแถลงฉบับเต็มด้านล่าง) การแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมีข้อจำกัดการใช้จ่ายเงินใน 3 มิติ ได้แก่
- จำกัดระยะทาง กำหนดไว้ที่รัศมี 4 กิโลเมตรจากที่อยู่ตามบัตรประชาชน โดยสามารถขยายรัศมีเพิ่มได้ หากบริเวณนั้นไม่มีร้านค้า
- จำกัดระยะเวลา กำหนดไว้ว่าเงินดิจิทัลมีอายุ 6 เดือน เพราะเป็นนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
- จำกัดประเภทของการใช้จ่าย ยกเว้นการซื้อบุหรี่ การพนัน การใช้หนี้นอกระบบ การซื้อของที่ผิดกฎหมาย
แกนนำของพรรคเพื่อไทยอธิบายว่าต้องใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพราะ "เขียนเงื่อนไข" ลงในตัวเงินดิจิทัลได้ จึงสามารถจำกัดการใช้งานเหล่านี้ได้ ซึ่งคำกล่าวนี้ห่างไกลจากข้อเท็จจริงในทางเทคนิคอยู่มาก
บล็อกเชน ไม่สามารถใช้จำกัดสิทธิได้ด้วยตัวเอง
ผู้ที่เคยศึกษาเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นพร้อมกับเงินดิจิทัล Bitcoin คงทราบข้อมูลกันดีว่า หลักการสำคัญคือนำการประมวลผลไปอยู่บน "เชน" หรือสายโซ่ข้อมูล เพื่อให้ประมวลผลธุรกรรมแบบกระจายศูนย์โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางได้
แต่จริงๆ แล้ว ตัวบล็อกเชนมีหน้าที่ประมวลผลเฉพาะธุรกรรมที่อยู่บนสายโซ่ (on-chain) เท่านั้น ซึ่งครอบคลุมถึงแค่ว่า "ใครโอนเงินให้ใคร" (who pays whom) เปรียบได้กับระบบหลังบ้านเพียงอย่างเดียว โค้ดบนบล็อกเชนนั้นไม่รับรู้ถึงข้อมูลนอกโลกบล็อกเชน เช่น สภาพอากาศ, ราคาหุ้น, หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ผ่านมาโครงการบล็อกเชนต่างๆ ก็จะมีตัวกลางเรียกว่า Oracle นำข้อมูลเข้ามาสู่บล็อกเชนให้อีกทีหนึ่ง
แต่ในการนำไปใช้งานจริง เรายังต้องมีระบบอื่นที่อยู่นอกบล็อกเชน (off-chain) เข้ามาเชื่อมต่อด้วย ตัวอย่างคือระบบกระเป๋าเงิน (วอลเล็ต) ที่ช่วยให้ผู้ใช้จัดการวงเงิน การใช้จ่ายเงินแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นระบบภายนอกที่มาเชื่อมต่อกับบล็อกเชนอีกที หรือถ้าใครติดตามเรื่อง NFT ก็จะทราบว่าตัวไฟล์สินทรัพย์ดิจิทัล ถูกเก็บอยู่ในระบบสตอเรจแบบอื่นนอกบล็อกเชน เช่น ระบบ HTTP แบบดั้งเดิม หรือระบบไฟล์กระจายศูนย์ IPFS
การระบุว่าเลือกใช้บล็อกเชนเพราะเป็นเทคโนโลยีที่จำกัดสิทธิการใช้เงิน ไม่ให้ใช้นอกกรอบนโยบายได้ จึงไม่ถูกต้องในทางเทคนิค และในทางตรงข้ามคือ เทคโนโลยีบล็อกเชนกลับไม่สามารถทำสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้
- จำกัดระยะทาง เป็นสิ่งที่อยู่นอกบล็อกเชน ต้องการแอปพลิเคชั่นรายงานว่าผู้รับและผู้จ่ายอยู่ที่พิกัดใด
- จำกัดระยะเวลา อาจทำได้หากกำหนดเงื่อนไขเวลาเพิ่มเติมในซอฟต์แวร์ที่รันบล็อกเชน เพียงแต่ซอฟต์แวร์บล็อกเชนที่นิยมในปัจจุบัน ออกแบบมาให้ใช้เงินดิจิทัลได้ตลอดไปในอนาคต และไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องอายุของเงินไว้ ที่ผ่านมา Smart Contract บนแพลตฟอร์มอย่าง Ethereum มักกำหนดเวลาโดยใช้หมายเลขบล็อกแทนค่าเวลาจริงๆ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจยากกว่ามาก และเวลาที่กำหนดก็ไม่สามารถกำหนดแน่นอน เช่น บอกว่าให้ใช้ถึงเที่ยงคืนเป๊ะวันที่ 31 ธันวาคม แบบนี้ทำไม่ได้
- จำกัดประเภทของการใช้จ่าย ตัวบล็อกเชนเห็นแค่ยอดธุรกรรมระหว่างใครกับใคร (who pays whom) เท่านั้น ไม่รู้ว่าใช้จ่ายเพื่ออะไร (what) สุดท้ายแล้วการจำกัดประเภทต้องไปทำที่ระบบนอกเชน เช่น ตัวแอพฝั่งผู้ขาย อยู่ดี
นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไป เช่น ไม่สามารถรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมากๆ ได้ และต้องอาศัยเวลาในการประมวลผลแต่ละบล็อกนานกว่าระบบธุรกรรมออนไลน์ในปัจจุบัน
เงินดิจิทัล CBDC ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนเสมอไป
ในการแถลงของพรรคเพื่อไทย ได้อ้างถึงแนวคิดเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) โดยพยายามบอกว่าเงินแบบ CBDC ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งไม่จริงเสมอไป
แนวคิดของเงินดิจิทัล CBDC เป็นแค่การแปลงเงินตรา (currency) แบบดั้งเดิมให้อยู่ในรูปดิจิทัลเท่านั้น ตัวเทคโนโลยีจะเป็นบล็อกเชนหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างคือ โครงการทดสอบ CBDC รอบล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าใช้ระบบจากบริษัท Giesecke+Devrient ของเยอรมนี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรวมศูนย์ (centralized) ที่ไม่ใช่บล็อกเชน ด้วยเหตุผลว่าต้องการทดสอบระบบที่รองรับธุรกรรมจำนวนมากๆ ที่เป็นข้อจำกัดของบล็อกเชน
ระบบเงินดิจิทัล CBDC ของหลายประเทศเองก็ไม่ได้ใช้บล็อกเชนมาตั้งแต่แรก เช่น
- หยวนดิจิทัล (e-CNY) ของประเทศจีน มีลักษณะคล้ายกับพร้อมเพย์ของประเทศไทย
- ข้อเสนอของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความกระจายตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ล่มยาก แต่ก็ไม่ใช่บล็อกเชน
- สหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการสร้างต้นแบบเงิน CBDC ที่ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ 5 รูปแบบ
- ธนาคารกลางออสเตรเลีย ทดลอง CBDC ทั้งหมด 14 รูปแบบ
ในช่วงหลัง ตัวแนวคิด CBDC เอง (ไม่ว่าเป็นเทคโนโลยีแบบใด) ยังถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นว่าต้องมีจริงๆ หรือไม่ ตัวอย่างคือ รายงานของธนาคารกลางสิงคโปร์หลังทดสอบ CBDC แล้ว และพบว่ายังไม่จำเป็นในตอนนี้ และ อดีตที่ปรึกษาธนาคารกลางของอังกฤษ ที่มีมุมมองว่า CBDC ซ้ำซ้อนกับเงินสำรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีอยู่แล้ว และไม่มีประโยชน์ชัดเจน
การเงินโลกเก่า "เป๋าตัง" สามารถทำสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทยชูประเด็นเรื่องการใช้บล็อกเชนว่า ต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินใน "โลกยุคใหม่" ซึ่งแตกต่างจากแอพพลิเคชันเป๋าตัง ที่เป็นเงินใน "โลกยุคเก่า"
อย่างไรก็ตาม ระบบเป๋าตังที่พรรคเพื่อไทยระบุว่าเป็นการเงินโลกยุคเก่า ใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบปกติร่วมกับการพัฒนาแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทั่วไป (ไม่มีบล็อกเชนเลย) กลับสามารถทำเงื่อนไข 3 ข้อที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้ และมีอยู่แล้วในโครงการคนละครึ่งที่ผ่านมา
- จำกัดระยะทาง เป๋าตังกำหนดให้ต้องสแกนจ่ายแบบพบหน้าอยู่แล้ว และในทางเทคนิคสามารถกำหนด geofencing กำหนดรัศมีระยะทางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้
- จำกัดระยะเวลา วงเงินของเป๋าตังมีหมดอายุตามระยะเวลาของโครงการอยู่แล้ว และจำกัดวงเงินรายวัน วันละไม่เกิน 150 บาทอยู่แล้ว
- จำกัดประเภทของการใช้จ่าย ใช้วิธีจำกัดประเภทผู้ขาย (merchants) เช่น ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อที่เป็นแฟรนไชส์ บริการขนส่งสาธารณะบางประเภท ซึ่งใช้วิธีการตรวจสอบจากเอกสาร ณ จุดลงทะเบียน
ส่วนเงื่อนไขการใช้งานอื่นๆ เช่น แนวคิดเรื่องการให้เงินดิจิทัลหมุนอยู่ในระบบเพื่อให้เกิดการหมุนของเงินกระตุ้นเศรษฐกิจหลายรอบ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนอยู่ดี เพียงแค่กำหนดเงื่อนไขในแอพเป๋าตัง ให้วงเงินในแอพไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ (อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาของโครงการ) สามารถจ่ายออกเพื่อซื้อสินค้าอื่นๆ ในระบบได้เพียงอย่างเดียว ก็แก้ปัญหานี้ได้
โครงสร้างพื้นฐานมีอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนใหม่ให้ซ้ำซ้อน แต่ต้องเป็นของทุกคน
ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ ระบบที่มีอยู่แล้วอย่างเป๋าตัง สามารถตอบโจทย์นโยบายเรื่องการจำกัดสิทธิการใช้เงินของพรรคเพื่อไทยได้ทั้งหมด ไม่ต้องลงทุนพัฒนา "โครงสร้างพื้นฐานใหม่" ให้ซ้ำซ้อน โดยที่ไม่เห็นประโยชน์ที่จับต้องได้จากเทคโนโลยีบล็อกเชนตามที่กล่าวอ้าง
ในแง่ของระยะเวลาโครงการ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบายพรรคเพื่อไทย บอกว่าจะใช้โครงการเงินดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 6 เดือนเท่านั้น และไม่ได้ระบุว่าหลังจากหมดโครงการ 6 เดือนนี้จะมีโครงการเกี่ยวกับเงินดิจิทัลอีกหรือไม่ หากไม่มีแผนต่อเนื่องอีก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่มาเพียงเพื่อโครงการเดียว ก็คงไม่คุ้มค่างบประมาณที่เสียไปเท่าไรนัก
ในแง่ของเวลาเริ่มดำเนินโครงการ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ประเมินว่าจะจัดตั้งรัฐบาลในช่วงไตรมาส 3 และเริ่มโครงการเงินดิจิทัลได้ในวันที่ 1 มกราคม 2567 เท่ากับว่ามีเวลาในการริเริ่มโครงการ พัฒนา และทดสอบระบบเพียงไม่กี่เดือน การพัฒนาระบบไอทีแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนในระยะเวลาเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ง่ายในทางปฏิบัติ และมีโอกาสล้มเหลวสูง ดังที่ตลาดหุ้นออสเตรเลียล้มเลิกโครงการเปลี่ยนระบบเป็นบล็อกเชน สูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณที่ใช้ไป
อย่างไรก็ตาม ระบบที่มีอยู่แล้วอย่างเป๋าตัง ยังมีจุดอ่อนในแง่ความเป็นเจ้าของที่ไม่ชัดเจน เพราะโครงการเป๋าตังพัฒนาโดยธนาคารกรุงไทย (ในฐานะรัฐวิสาหกิจ) ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง การที่ธนาคารรายเดียวได้สิทธิในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ จึงควรถูกตั้งคำถามในแง่การแข่งขันในอุตสาหกรรม เพราะถือว่าได้เปรียบธนาคารหรือสถาบันการเงินรายอื่น (รวมถึงธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจรายอื่นด้วย เช่น ธนาคารออมสิน หรือ ธกส.) เป็นอย่างมาก
หากเรามองย้อนดูจุดเริ่มต้นของโครงการเป๋าตัง ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาพิเศษคือระหว่างวิกฤต COVID-19 ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ก็พอเข้าใจได้ว่า ธนาคารกรุงไทยอาจมีความพร้อมในการพัฒนาระบบไอทีมากกว่าหน่วยงานอื่น และสามารถสร้างระบบขึ้นมาตอบสนองนโยบายภาครัฐได้ในเวลาที่จำกัดมาก
แต่ในปี 2566 วิกฤต COVID-19 คลี่คลายไปมากแล้ว รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้ง ควรต้องหยิบประเด็นนี้มาพิจารณา และหารือกันว่าความเป็นเจ้าของ "โครงสร้างพื้นฐานการเงิน" ของประเทศไทยควรเป็นของใครกันแน่ ภารกิจในอนาคตระยะยาวของเป๋าตังควรเป็นอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจอื่นๆ เข้ามาแข่งขันบนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรมและเสรี
Topics:
Pheu Thai Party
CBDC
Thailand
Finance
Blockchain
อ่านต่อ...