ทีมนักวิจัยจากวิทยาลัยสาธารณสุขแห่งฮาร์วาร์ด หรือ Harvard T.H. Chan School of Public Health ได้เผยแพร่ งานวิจัย ในวารสาร PLOS One เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (27 ธันวาคม 2023) พบว่าโซเชียลมีเดียทำรายได้โฆษณาจากผู้ใช้เยาวชนในประเทศสหรัฐอเมริกาไปกว่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญ
ที่มาของจำนวนรายได้ดังกล่าวมาจาก ทีมวิจัยประเมินจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ประกอบไปด้วยผู้ใช้ Facebook, Instagram, Snapchat, TikTok, Youtube และ X
ทางทีมวิจัยอ้างอิงจากผลสำรวจ และสำมะโนประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกาโดย Common Sense Media และ Pew Research ในปี 2022 ประกอบกับข้อมูลของสำนักงานวิจัย Insider Intelligence และจำนวนเวลาที่เยาวชนใช้โซเชียลมีเดียในแต่ละวันจากแอปพลิเคชัน Parental Control อย่าง Qustodio เพื่อสร้างแบบจำลองข้อมูลทำให้สามารถประเมินจำนวนรายได้
ทีมวิจัยนำโดยศาสตราจารย์ Bryan Austin กล่าวว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสร้างรายได้จากผู้ใช้เป็นจำนวนมหาศาล แต่ไม่สามารถจัดการและดูแลเนื้อหาในแพลตฟอร์มตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิต ความเครียด และความวิตกกังวล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้เยาวชน จึงควรผลักดันให้ภาครัฐเข้ามากำกับดูแลมากขึ้น การกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐและความโปร่งใสในการควบคุมเนื้อหาจากบริษัทเทคโนโลยีเจ้าของแพลตฟอร์ม มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจิตในเยาวชน และช่วยลดแนวปฏิบัติด้านการโฆษณาที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกด้วย
ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญและผู้ออกกฎหมายต่างกังวลต่อผลกระทบในเชิงลบของโซเชียลมีเดีย เนื่องจากการใช้อัลกอริทึมที่อาจนำไปสู่การใช้งานแพลตฟอร์มมากเกินไป โดยเฉพาะในผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ทำให้ในปีนี้สภานิติบัญญัติในหลายรัฐ เช่น นิวยอร์ก และ ยูทาห์ ผ่านร่างกฎหมายโดยหวังว่าจะช่วยควบคุมและลดการใช้โซเชียลมีเดียในเยาวชน
ในเดือนธันวาคมเดียวกันนี้ สำนักงานคณะกรรมการการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FTC เสนอให้แก้ไขข้อกฎหมาย ควบคุมการใช้ Push Notification และไม่ให้ใช้โฆษณาติดตาม (Ad Tracking) ในผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 13 ปีด้วยเช่นกัน
ที่มา: Harvard T.H. Chan School of Public Health ผ่าน AP News
Topics:
Harvard
Research
Social Media
Advertising
Mental Health
อ่านต่อ...
ที่มาของจำนวนรายได้ดังกล่าวมาจาก ทีมวิจัยประเมินจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ประกอบไปด้วยผู้ใช้ Facebook, Instagram, Snapchat, TikTok, Youtube และ X
ทางทีมวิจัยอ้างอิงจากผลสำรวจ และสำมะโนประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกาโดย Common Sense Media และ Pew Research ในปี 2022 ประกอบกับข้อมูลของสำนักงานวิจัย Insider Intelligence และจำนวนเวลาที่เยาวชนใช้โซเชียลมีเดียในแต่ละวันจากแอปพลิเคชัน Parental Control อย่าง Qustodio เพื่อสร้างแบบจำลองข้อมูลทำให้สามารถประเมินจำนวนรายได้
ทีมวิจัยนำโดยศาสตราจารย์ Bryan Austin กล่าวว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสร้างรายได้จากผู้ใช้เป็นจำนวนมหาศาล แต่ไม่สามารถจัดการและดูแลเนื้อหาในแพลตฟอร์มตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิต ความเครียด และความวิตกกังวล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้เยาวชน จึงควรผลักดันให้ภาครัฐเข้ามากำกับดูแลมากขึ้น การกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐและความโปร่งใสในการควบคุมเนื้อหาจากบริษัทเทคโนโลยีเจ้าของแพลตฟอร์ม มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจิตในเยาวชน และช่วยลดแนวปฏิบัติด้านการโฆษณาที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกด้วย
ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญและผู้ออกกฎหมายต่างกังวลต่อผลกระทบในเชิงลบของโซเชียลมีเดีย เนื่องจากการใช้อัลกอริทึมที่อาจนำไปสู่การใช้งานแพลตฟอร์มมากเกินไป โดยเฉพาะในผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ทำให้ในปีนี้สภานิติบัญญัติในหลายรัฐ เช่น นิวยอร์ก และ ยูทาห์ ผ่านร่างกฎหมายโดยหวังว่าจะช่วยควบคุมและลดการใช้โซเชียลมีเดียในเยาวชน
ในเดือนธันวาคมเดียวกันนี้ สำนักงานคณะกรรมการการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FTC เสนอให้แก้ไขข้อกฎหมาย ควบคุมการใช้ Push Notification และไม่ให้ใช้โฆษณาติดตาม (Ad Tracking) ในผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 13 ปีด้วยเช่นกัน
ที่มา: Harvard T.H. Chan School of Public Health ผ่าน AP News
Topics:
Harvard
Research
Social Media
Advertising
Mental Health
อ่านต่อ...