เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวของ Meta ที่บอกว่าบริษัทจะนำโพสต์ที่เป็นสาธารณะทั้งบน Facebook และ Instagram มาใช้เทรนโมเดล AI (แต่ในยุโรปสามารถ opt-out ได้) ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนไม่พอใจและมองหาทางเลือกใหม่ คำตอบหนึ่งคือ Cara แพลตฟอร์มโซเชียลโพสต์รูปภาพ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกใหม่กว่า 5 แสนคนในสัปดาห์ที่ผ่านมา
Cara ไม่ใช่แอปใหม่ เพราะเปิดตัวมาตั้งแต่มกราคมปีที่แล้ว เพียงแต่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักจนกระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้ที่เคยอยู่หลักหมื่น เพิ่มขึ้นมาเป็นหลายแสน กระแสนี้แม้แต่ผู้ก่อตั้ง Jingna Zhang ซึ่งเป็นช่างภาพและศิลปินด้วยยังบอกว่าไม่คาดคิดมาก่อน
รูปแบบของแพลตฟอร์ม Cara คือพอร์ตโฟลิโอรวมผลงานและฟีดโซเชียล แต่จุดขายสำคัญที่ทำให้ครีเอเตอร์จำนวนมากย้ายมาลองใช้ คือนโยบาย Anit-AI โดยห้ามลงรูปภาพที่สร้างจาก AI ซึ่ง Cara บอกว่ามีระบบตรวจจับ แล้วลบรูปเหล่านี้ออกไป นอกจากนี้รูปภาพทั้งหมดที่อัปโหลดจะติดแท็กไว้ เพื่อป้องกันนักพัฒนาภายนอกมาดูดรูปไปเทรน AI ส่วนฟังก์ชันอื่นได้แก่ หน้าฟีดหลักที่ปรับแต่งได้ทุกอย่าง และธัมเนลของภาพที่ครอปกำหนดได้เอง
ปัจจุบัน Cara ยังไม่มีโมเดลธุรกิจ ใช้ระบบอาสาสมัครดำเนินการทั้งหมดนำโดย Zhang และใช้การรับเงินบริจาคมาเสริมเพื่อให้แพลตฟอร์มให้บริการได้
Zhang อธิบายข้อมูลตนเองเอาไว้ซึ่งบอกแรงจูงใจในการสร้าง Cara ได้ดีนั่นคือ ตนเชื่อว่าถ้าบริษัทใหญ่ไม่ปกป้องพวกเรา เราก็ต้องสร้างบ้านของพวกเราขึ้นมาเอง ปัจจุบัน Zhang มีคดีฟ้องร้องกูเกิล เรื่องการละเมิดผลงานนำไปเทรน AI และก่อนหน้านี้ Zhang ก็ชนะคดีที่ศาลประเทศลักเซมเบิร์ก ประเด็นถูกละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย โดยถูกนำไปสร้างเป็นภาพวาดที่คล้ายกัน
ที่มา: Entrepreneur
Topics:
Cara
Social Network
Artificial Intelligence
Continue reading...
Cara ไม่ใช่แอปใหม่ เพราะเปิดตัวมาตั้งแต่มกราคมปีที่แล้ว เพียงแต่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักจนกระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้ที่เคยอยู่หลักหมื่น เพิ่มขึ้นมาเป็นหลายแสน กระแสนี้แม้แต่ผู้ก่อตั้ง Jingna Zhang ซึ่งเป็นช่างภาพและศิลปินด้วยยังบอกว่าไม่คาดคิดมาก่อน
รูปแบบของแพลตฟอร์ม Cara คือพอร์ตโฟลิโอรวมผลงานและฟีดโซเชียล แต่จุดขายสำคัญที่ทำให้ครีเอเตอร์จำนวนมากย้ายมาลองใช้ คือนโยบาย Anit-AI โดยห้ามลงรูปภาพที่สร้างจาก AI ซึ่ง Cara บอกว่ามีระบบตรวจจับ แล้วลบรูปเหล่านี้ออกไป นอกจากนี้รูปภาพทั้งหมดที่อัปโหลดจะติดแท็กไว้ เพื่อป้องกันนักพัฒนาภายนอกมาดูดรูปไปเทรน AI ส่วนฟังก์ชันอื่นได้แก่ หน้าฟีดหลักที่ปรับแต่งได้ทุกอย่าง และธัมเนลของภาพที่ครอปกำหนดได้เอง
ปัจจุบัน Cara ยังไม่มีโมเดลธุรกิจ ใช้ระบบอาสาสมัครดำเนินการทั้งหมดนำโดย Zhang และใช้การรับเงินบริจาคมาเสริมเพื่อให้แพลตฟอร์มให้บริการได้
Zhang อธิบายข้อมูลตนเองเอาไว้ซึ่งบอกแรงจูงใจในการสร้าง Cara ได้ดีนั่นคือ ตนเชื่อว่าถ้าบริษัทใหญ่ไม่ปกป้องพวกเรา เราก็ต้องสร้างบ้านของพวกเราขึ้นมาเอง ปัจจุบัน Zhang มีคดีฟ้องร้องกูเกิล เรื่องการละเมิดผลงานนำไปเทรน AI และก่อนหน้านี้ Zhang ก็ชนะคดีที่ศาลประเทศลักเซมเบิร์ก ประเด็นถูกละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย โดยถูกนำไปสร้างเป็นภาพวาดที่คล้ายกัน
ที่มา: Entrepreneur
Topics:
Cara
Social Network
Artificial Intelligence
Continue reading...