ทีมวิจัยห้องปฎิบัติการ MRC Laboratory of Molecular Biology มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประกาศความสำเร็จในการทำแผนที่สมองแมลงวันทอง (Drosophila fruit fly) ครบทั้งสมอง รวม 140,000 นิวรอน การเชื่อมโยงไซแนปส์รวม 15 ล้านชุด สามารถระบุประเภทเซลล์สมองได้ 8,452 ประเภท จากเดิมที่จำแนกได้เพียง 3,643 ประเภทเท่านั้น
กระบวนการทำแผนที่สมองอาศัยการสไลซ์ตัวอย่างเป็นแผ่นๆ หนา 40 นาโนเมตรแล้วสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จากนั้นใช้ปัญญาประดิษฐ์แยกส่วนของภาพว่าส่วนใดเป็นนิวรอนและเชื่อมต่อกับเซลล์ใดบ้าง จากนั้นยืนยันข้อมูลด้วยนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทีมงานเองและนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัคร โดยรวมใช้เวลายืนยันการเชื่อมต่อประมาณ 33 ปีทำงาน
สมองของแมลงวันทองเป็นสมองสัตว์ที่ซับซ้อนที่สุดที่เคยมีการทำแผนที่ครบถ้วน โดยแมลงวันทองมีความสามารถในการเดิน, บิน, นำทาง, ส่งเสียงร้อง, และสร้างความทรงจำ
เมื่อปี 2020 กูเกิลก็เคยปล่อยแผนที่สมองแมลงวันทองเหมือนกันแต่การทำแผนที่ยังหยาบกว่ามาก โดยตัวอย่างหนา 20 ไมครอน หรือ 20,000 นาโนเมตร คิดเป็น 500 เท่าของงานวิจัยนี้
ที่มา - MRC Laboratory
Topics:
Brain
Cambridge University
Biology
Science
Continue reading...
กระบวนการทำแผนที่สมองอาศัยการสไลซ์ตัวอย่างเป็นแผ่นๆ หนา 40 นาโนเมตรแล้วสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จากนั้นใช้ปัญญาประดิษฐ์แยกส่วนของภาพว่าส่วนใดเป็นนิวรอนและเชื่อมต่อกับเซลล์ใดบ้าง จากนั้นยืนยันข้อมูลด้วยนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทีมงานเองและนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัคร โดยรวมใช้เวลายืนยันการเชื่อมต่อประมาณ 33 ปีทำงาน
สมองของแมลงวันทองเป็นสมองสัตว์ที่ซับซ้อนที่สุดที่เคยมีการทำแผนที่ครบถ้วน โดยแมลงวันทองมีความสามารถในการเดิน, บิน, นำทาง, ส่งเสียงร้อง, และสร้างความทรงจำ
เมื่อปี 2020 กูเกิลก็เคยปล่อยแผนที่สมองแมลงวันทองเหมือนกันแต่การทำแผนที่ยังหยาบกว่ามาก โดยตัวอย่างหนา 20 ไมครอน หรือ 20,000 นาโนเมตร คิดเป็น 500 เท่าของงานวิจัยนี้
ที่มา - MRC Laboratory
Topics:
Brain
Cambridge University
Biology
Science
Continue reading...