เครื่องวัดความดันในปัจจุบันถือเป็นเวชภัณฑ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง แม้เป็นเครื่องราคาถูกก็อยู่ที่หลักพันบาทขึ้นไป แถมพกพาไม่ค่อยสะดวก เพราะขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก (UCSD) ตีพิมพ์งานวิจัยเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตขนาดเล็ก ในรูปแบบคลิปหนีบสมาร์ทโฟน ใช้งานง่ายโดยใช้เพียงปลายนิ้วเท่านั้น ที่สำคัญคือราคาถูก โดยต้นทุนการผลิต 1,000 ชิ้น อยู่ที่เพียง 0.8 ดอลลาร์ หรือราวๆ 30 บาทเท่านั้น
ตัวเครื่องถูกเรียกว่า BPClip โดยอาศัยคุณสมบัติของเลือด ที่ดูดซับแสงเป็นกลไกลหลัก ซึ่งด้านหนึ่งของตัว BPClip จะหนีบอยู่กับหลอด LED ที่เป็นแฟลชของสมาร์ทโฟน เพื่อให้แสงแฟลชเป็นตัวสะท้อนการไหลเวียดของเลือดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหัวใจส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เซ็นเซอร์ก็จะตรวจจับได้ว่าหัวใจกำลังบีบตัว เพราะมีเลือดดูดซับแสงได้เยอะ ขณะที่เมื่อหัวใจคลายตัว แสงก็จะถูกดูดซับได้น้อย
การจับจังหวะการเต้นของหัวใจจะยังไม่เพียงพอกับวัดค่าความดันโลหิต แต่ต้องหาอัตราการไหลเวียนของเลือดในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ผ่านแรงบีบด้วย (ลักษณะเดียวกับที่เครื่องวัดความดันแบบสวมแขนที่บีบแขนเรา) ตัว BPClip เลยใส่สปริงมาให้ด้วยบริเวณเซ็นเซอร์ที่วางนิ้ว เมื่อกดสปริงค้างไว้ (พร้อมๆ กับการใช้แสงดูอัตราการเต้นของหัวใจ) เพื่อดูการไหลเวียนของเลือด ระบบก็จะสามารถคำนวนออกมาเป็นความดันโลหิตได้
แน่นอนว่าตัว BPClip จะต้องทำงานร่วมกับแอปบนสมาร์ทโฟน เพื่อการคำนวนค่าต่างๆ และแสดงผลให้กับผู้ใช้ โดย Yinan Xuan หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยเปิดเผยปัจจุบัน BPClip สามารถวัดค่าได้แตกต่างจากเครื่องวัดแบบสวมแขน สูงสุดถึงราว 8 มิลลิเมตรปรอท ทำให้ยังไม่ได้แม่นยำพอที่จะวิเคราะห์อาการของโรคได้ (diagnostic level) แต่ก็เพียงพอที่บ่งชี้ความผิดปกติได้ (screening level)
นอกจากเรื่องการวัดค่าแล้ว BPClip ยังต้องปรับปรุงให้รองรับสมาร์ทโฟนหลากหลายรุ่นเพิ่มขึ้นด้วย โดยตัวต้นแบบในงานวิจัยนี้ ถูกออกแบบมาให้รองรับเฉพาะ Pixel 4 เท่านั้น ซึ่งทีมผู้ร่วมวิจัยได้ก่อตั้ง Billion Labs ขึ้นมาเป็นสตาร์ทอัพ ที่จะพัฒนาต่อยอด BPClip ออกสู่ตลาดจริงแล้ว
Topics:
USA
Medical
อ่านต่อ...
ตัวเครื่องถูกเรียกว่า BPClip โดยอาศัยคุณสมบัติของเลือด ที่ดูดซับแสงเป็นกลไกลหลัก ซึ่งด้านหนึ่งของตัว BPClip จะหนีบอยู่กับหลอด LED ที่เป็นแฟลชของสมาร์ทโฟน เพื่อให้แสงแฟลชเป็นตัวสะท้อนการไหลเวียดของเลือดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหัวใจส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เซ็นเซอร์ก็จะตรวจจับได้ว่าหัวใจกำลังบีบตัว เพราะมีเลือดดูดซับแสงได้เยอะ ขณะที่เมื่อหัวใจคลายตัว แสงก็จะถูกดูดซับได้น้อย
การจับจังหวะการเต้นของหัวใจจะยังไม่เพียงพอกับวัดค่าความดันโลหิต แต่ต้องหาอัตราการไหลเวียนของเลือดในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ผ่านแรงบีบด้วย (ลักษณะเดียวกับที่เครื่องวัดความดันแบบสวมแขนที่บีบแขนเรา) ตัว BPClip เลยใส่สปริงมาให้ด้วยบริเวณเซ็นเซอร์ที่วางนิ้ว เมื่อกดสปริงค้างไว้ (พร้อมๆ กับการใช้แสงดูอัตราการเต้นของหัวใจ) เพื่อดูการไหลเวียนของเลือด ระบบก็จะสามารถคำนวนออกมาเป็นความดันโลหิตได้
แน่นอนว่าตัว BPClip จะต้องทำงานร่วมกับแอปบนสมาร์ทโฟน เพื่อการคำนวนค่าต่างๆ และแสดงผลให้กับผู้ใช้ โดย Yinan Xuan หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยเปิดเผยปัจจุบัน BPClip สามารถวัดค่าได้แตกต่างจากเครื่องวัดแบบสวมแขน สูงสุดถึงราว 8 มิลลิเมตรปรอท ทำให้ยังไม่ได้แม่นยำพอที่จะวิเคราะห์อาการของโรคได้ (diagnostic level) แต่ก็เพียงพอที่บ่งชี้ความผิดปกติได้ (screening level)
นอกจากเรื่องการวัดค่าแล้ว BPClip ยังต้องปรับปรุงให้รองรับสมาร์ทโฟนหลากหลายรุ่นเพิ่มขึ้นด้วย โดยตัวต้นแบบในงานวิจัยนี้ ถูกออกแบบมาให้รองรับเฉพาะ Pixel 4 เท่านั้น ซึ่งทีมผู้ร่วมวิจัยได้ก่อตั้ง Billion Labs ขึ้นมาเป็นสตาร์ทอัพ ที่จะพัฒนาต่อยอด BPClip ออกสู่ตลาดจริงแล้ว
Topics:
USA
Medical
อ่านต่อ...