Vesuvius Challenge โครงการตั้งรางวัลสำหรับการอ่านม้วนหนังสือ Herculaneum ที่ถูกฝังในเถ้าภูเขาไฟ Vesuvius ที่ระเบิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 79 ประกาศรางวัลแรกให้กับ Luke Farritor นักศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์อายุ 21 ปี ที่สามารถอ่านตัวอักษร 10 ตัวแรกในม้วนหนังสือได้สำเร็จโดยไม่เปิดม้วนหนังสือออกมา ได้รางวัล 40,000 ดอลลาร์
แม้ว่าม้วนหนังสือ Herculaneum จะคลี่ออกมาอ่านไม่ได้แต่ก็มีบางชิ้นที่หลุดออกมาเอง และก่อนหน้านี้ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Brent Seales พบหมึกที่ใช้เขียนข้อความจากภาพ CT-scan ทำให้มีความหวังว่าจะอ่านข้อความในม้วนหนังสือได้โดยไม่ต้องแกะม้วนออกมา ดูภาพสแกนและพบรอยแตกของม้วนหนังสือเป็นรอยจากการเขียนตัวอักษร
Farritor สร้างโมเดล machine learning เพื่อตรวจจับรอยแตกของม้วนหนังสือและค่อยๆ label ข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จนพบรอยเขียนมากขึ้นเรื่อยๆ จนโมเดลเริ่มสมบูรณ์จึงสามารถอ่านเป็นคำออกมาได้
คำที่พบคำแรกคือคำว่า “ΠΟΡΦΥΡΑϹ” แปลว่าสีม่วง แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงว่าอาจจะเป็นคำอื่นที่เขียนใกล้เคียงกัน และเนื่องจากไม่มีบริบทรอบข้างทำให้ยังสรุปชัดเจนไม่ได้
ก่อนที่จะประกาศรางวัล Youssef Nader นักศึกษาชาวอียิปต์อาศัยโมเดล machine learning ที่ปรับปรุงมาจากการแข่งขัน และเมื่อเห็นว่า Farritor เริ่มตรวจหาตัวอักษรได้ จึงลองตรวจในพื้นที่เดียวกัน และค่อยๆ ปรับปรุงโมเดลไปเรื่อยๆ จนอ่านข้อความได้มากขึ้น สุดท้ายเขาตรวจจับพบสองคำ คือ “ανυοντα” และ “ομοιων” ทำให้ได้รางวัลไป 10,000 ดอลลาร์
รางวัลใหญ่สุดของ Vesuvius Challenge นั้นอยู่ที่ 700,000 ดอลลาร์ ต้องสามารถอ่านข้อความ 4 ชุด จากม้วนหนังสือสองม้วน รวมอย่างน้อย 140 ตัวอักษร มีเส้นตายวันที่ 31 ธันวาคมนี้
ที่มา - Vesuvius Challenge
Topics:
History
Machine Learning
อ่านต่อ...
แม้ว่าม้วนหนังสือ Herculaneum จะคลี่ออกมาอ่านไม่ได้แต่ก็มีบางชิ้นที่หลุดออกมาเอง และก่อนหน้านี้ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Brent Seales พบหมึกที่ใช้เขียนข้อความจากภาพ CT-scan ทำให้มีความหวังว่าจะอ่านข้อความในม้วนหนังสือได้โดยไม่ต้องแกะม้วนออกมา ดูภาพสแกนและพบรอยแตกของม้วนหนังสือเป็นรอยจากการเขียนตัวอักษร
Farritor สร้างโมเดล machine learning เพื่อตรวจจับรอยแตกของม้วนหนังสือและค่อยๆ label ข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จนพบรอยเขียนมากขึ้นเรื่อยๆ จนโมเดลเริ่มสมบูรณ์จึงสามารถอ่านเป็นคำออกมาได้
คำที่พบคำแรกคือคำว่า “ΠΟΡΦΥΡΑϹ” แปลว่าสีม่วง แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงว่าอาจจะเป็นคำอื่นที่เขียนใกล้เคียงกัน และเนื่องจากไม่มีบริบทรอบข้างทำให้ยังสรุปชัดเจนไม่ได้
ก่อนที่จะประกาศรางวัล Youssef Nader นักศึกษาชาวอียิปต์อาศัยโมเดล machine learning ที่ปรับปรุงมาจากการแข่งขัน และเมื่อเห็นว่า Farritor เริ่มตรวจหาตัวอักษรได้ จึงลองตรวจในพื้นที่เดียวกัน และค่อยๆ ปรับปรุงโมเดลไปเรื่อยๆ จนอ่านข้อความได้มากขึ้น สุดท้ายเขาตรวจจับพบสองคำ คือ “ανυοντα” และ “ομοιων” ทำให้ได้รางวัลไป 10,000 ดอลลาร์
รางวัลใหญ่สุดของ Vesuvius Challenge นั้นอยู่ที่ 700,000 ดอลลาร์ ต้องสามารถอ่านข้อความ 4 ชุด จากม้วนหนังสือสองม้วน รวมอย่างน้อย 140 ตัวอักษร มีเส้นตายวันที่ 31 ธันวาคมนี้
ที่มา - Vesuvius Challenge
Topics:
History
Machine Learning
อ่านต่อ...