กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


ข่าว ผู้เชี่ยวชาญชี้หมดยุคทองโปรแกรมเมอร์ หลังจากนี้เน้นเทคโนโลยีที่นิ่ง, ความรับผิดชอบมากขึ้น, เน้นส่งงานไม่เน้นทดลอง

  • ผู้เริ่มหัวข้อ ผู้เริ่มหัวข้อNews 
  • วันที่เริ่มต้น วันที่เริ่มต้น

News 

Moderator
สมาชิกทีมงาน
Moderator
Verify member
Gergely Orosz วิศวกรซอฟต์แวร์ผู้คร่ำหวอดในซิลิกอนวอลเลย์ และผู้เขียนจดหมายข่าววงการซอฟต์แวร์ The Pragmatic Engineer บรรยายในงาน Craft Conference ถึงความเปลี่ยนแปลงของสายงานโปรแกรมเมอร์ว่ากำลังเข้าสู่ช่วงยากลำบากแบบเดียวกับยุคฟองสบู่ dotcom ที่โปรแกรมเมอร์หางานได้ยาก

Orosz เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ เคยอยู่ในยุคดอกเบี้ยต่ำที่ยาวนานจนมีการลงทุนในสตาร์ตอัพต่อเนื่อง โปรแกรมเมอร์กลายเป็นมนุษย์ทองคำที่นายจ้างหาคนมาทำงานได้ลำบาก แต่หลังจากสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วก็ทำให้บริษัทต่างๆ แม้จะเป็นบริษัทที่มีกำไรสูงพากันปลดพนักงาน และหลังจากนี้โปรแกรมเมอร์จะหางานได้ยากขึ้น โดยยกตัวอย่าง SupplyPike สตาร์ตอัพรายหนึ่งที่พบว่าใบสมัครเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, มีอัตรการสมัครจากโปรแกรมเมอร์บริษัทเทคขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น, ผู้สมัครระดับซีเนียร์จริงจังกับการสมัครงานมากขึ้นจากเดิมที่มักมาลองสมัครเผื่อๆ ไว้, และเงินเดือนที่เรียกร้องก็กลับไปอยู่ระดับ "ปกติ"

ในแง่ของเทคโนโลยีที่ใช้งาน Orosz ระบุว่าบริษัทต่างๆ หันกลับไปเลือกเทคโนโลยีเดิมๆ ง่ายๆ กันมากขึ้น สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ถอยจาก microservices กลับไปสู่ monolith มากขึ้นเพราะคนทำงานอยู่ที่เดิมกันนานขึ้นและไม่ได้ขยายทีมงานเร็วๆ เหมือนเดิม โปรแกรมเมอร์ต้องทำงาน fullstack กันมากขึ้น รวมถึงต้องรับผิดชอบงานส่วนอื่นๆ เช่น QA, SRE, หรือ Ops ด้วยตัวเอง

คำแนะนำของ Orosz หลังจากนี้คือโปรแกรมเมอร์ต้องเข้าใจโมเดลธุรกิจขององค์กรมากขึ้น เตรียมตัวกับการถูกปลด เตรียมพร้อมสำหรับการหางานใหม่ เช่น การสมัครงานแต่เนิ่นๆ, หาบุคคลอ้างอิงในการสมัครงาน ตลอดจนทำความเข้าใจในการใช้ LLM เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา - YouTube: The Pragmatic Engineer

No Description


Topics:
Employment
Programmer

Continue reading...
 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม ด้านล่าง