ความคืบหน้าของข่าว ยานสำรวจเอกชนญี่ปุ่น HAKUTO-R ขาดการติดต่อช่วงสุดท้ายก่อนลงจอดบนดวงจันทร์ หลังจากนั้นมีการยืนยันโดยกล้องของ NASA ว่า HAKUTO-R "ตก" ระหว่างลงจอด
บริษัท ispace เจ้าของยานลำนี้ได้เผยผลสอบสวนอย่างละเอียด สรุปว่าปัญหาเกิดจากซอฟต์แวร์ในการวัดค่าความสูงจากพื้นผิวดวงจันทร์
รายงานของ ispace บอกว่ายาน HAKUTO-R ลดระดับความสูงเพื่อลงจอดบนดวงจันทร์ ตั้งแต่ความสูง 100 กิโลเมตรได้ตามที่ควรจะเป็น ความเร็วตอนนั้นลดเหลือ 1 เมตรต่อวินาที แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อความสูงเหลือ 5 กิโลเมตร ระบบของยานกลับวัดค่าความสูงได้เป็น 0 (อยู่บนพื้นดวงจันทร์แล้ว) ระบบการควบคุมการลงจอดอย่างช้าๆ จึงหยุดทำงาน ส่งผลให้ในระยะ 5 กิโลเมตรนี้ยานจึงร่วงลงอย่างอิสระ (free fall) และกระแทกกับผิวดวงจันทร์
สาเหตุของปัญหาเกิดจากการเลือกลงจอดที่หลุมอุกกาบาต (crater) ซึ่งตัววัดระยะความสูงทำงานผิดพลาด เพราะสับสนระหว่างขอบหลุมกับก้นหลุมที่มีความสูงต่างกัน 3 กิโลเมตร ส่วนเหตุผลที่ซอฟต์แวร์ทำงานพลาดยังเกิดจากการตัดสินใจเปลี่ยนจุดลงจอด ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการรีวิวความถูกต้องของซอฟต์แวร์แล้ว และการทดสอบแบบซิมูเลเตอร์ในภายหลังไม่ครอบคลุมเงื่อนไขเหล่านี้ดีมากพอ
ispace บอกว่ายอมรับในความผิดพลาดครั้งนี้ และจะปรับแก้ในซอฟต์แวร์ของภารกิจครั้งถัดไปที่จะมีอีก 2 ครั้งในอนาคต
ภาพเรนเดอร์ยาน HAKUTO-R ที่ควรลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ที่มา - ispace via Engadget
Topics:
Space
Moon
Japan
อ่านต่อ...
บริษัท ispace เจ้าของยานลำนี้ได้เผยผลสอบสวนอย่างละเอียด สรุปว่าปัญหาเกิดจากซอฟต์แวร์ในการวัดค่าความสูงจากพื้นผิวดวงจันทร์
รายงานของ ispace บอกว่ายาน HAKUTO-R ลดระดับความสูงเพื่อลงจอดบนดวงจันทร์ ตั้งแต่ความสูง 100 กิโลเมตรได้ตามที่ควรจะเป็น ความเร็วตอนนั้นลดเหลือ 1 เมตรต่อวินาที แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อความสูงเหลือ 5 กิโลเมตร ระบบของยานกลับวัดค่าความสูงได้เป็น 0 (อยู่บนพื้นดวงจันทร์แล้ว) ระบบการควบคุมการลงจอดอย่างช้าๆ จึงหยุดทำงาน ส่งผลให้ในระยะ 5 กิโลเมตรนี้ยานจึงร่วงลงอย่างอิสระ (free fall) และกระแทกกับผิวดวงจันทร์
สาเหตุของปัญหาเกิดจากการเลือกลงจอดที่หลุมอุกกาบาต (crater) ซึ่งตัววัดระยะความสูงทำงานผิดพลาด เพราะสับสนระหว่างขอบหลุมกับก้นหลุมที่มีความสูงต่างกัน 3 กิโลเมตร ส่วนเหตุผลที่ซอฟต์แวร์ทำงานพลาดยังเกิดจากการตัดสินใจเปลี่ยนจุดลงจอด ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการรีวิวความถูกต้องของซอฟต์แวร์แล้ว และการทดสอบแบบซิมูเลเตอร์ในภายหลังไม่ครอบคลุมเงื่อนไขเหล่านี้ดีมากพอ
ispace บอกว่ายอมรับในความผิดพลาดครั้งนี้ และจะปรับแก้ในซอฟต์แวร์ของภารกิจครั้งถัดไปที่จะมีอีก 2 ครั้งในอนาคต
ภาพเรนเดอร์ยาน HAKUTO-R ที่ควรลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ที่มา - ispace via Engadget
Topics:
Space
Moon
Japan
อ่านต่อ...