แม้ทุกวันนี้เราจะคุยกับคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาธรรมชาติเป็นเรื่องปกติ แต่โค้ดแชตบอตแรกๆ ในโลกที่คุยได้สมจริงคงเป็นโครงการ ELIZA โดย Joseph Weizenbaum ที่โต้ตอบกับมนุษย์เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ แม้มันจะไม่ได้เข้าใจคำพูดของเราจริงๆ แต่เป็นเพียงโค้ดจับรูปแบบและถามกลับให้ดูเนียนเท่านั้น
โครงการ ELIZA สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการคอมพิวเตอร์ในยุค 1965 อย่างมาก และก็มีโค้ดที่พอร์ตไปภาษาต่างๆ จำนวนมาก แต่โค้ดต้นฉบับเดิมนั้นกลับสูญหายไป กลุ่มนักวิจัยก็ร่วมกันค้นหาจนกระทั่งไปเจอในสำเนารายงาน ELIZA พร้อมกับซอร์สโค้ดในหอจดหมายเหตุ MIT
แม้จะเจอซอร์สโค้ดแล้ว แต่โค้ดเดิมของ ELIZA เขียนบนเครื่อง IBM 7094 Compatible Time-Sharing System (CTSS) คอมพิวเตอร์ที่ล็อกอินเข้าใช้งานได้พร้อมกันหลายคนเครื่องแรกของโลก มีแรม 32k word (word ขนาด 36 bit) แต่ละ word เก็บ 6 ตัวอักษร โดยยุคนั้นเป็นยุคก่อน ASCII ซีพียู 450kHz รองรับผู้ใช้ได้พร้อมกัน 30 คน ตัวโค้ด ELIZA เขียนด้วยภาษา MAD (Michigan Algorithm Decoder) พร้มกับไลบรารี SLIP (Symmetric LIst Processor) ที่ Weizenbaum สร้างขึ้นมาเอง
เคราะห์ดีที่ David Pitts เคยสร้างอีมูเลเตอร์ เครื่อง IBM 7094 ไว้แล้ว ทีมค้นหา ELIZA ต้องพิมพ์โค้ดทั้งหมดเป็นไฟล์ และพบว่า Weizenbaum ละฟังก์ชั่นจำนวนหนึ่งไม่ใส่ไว้ในซอร์สโค้ด ทำให้ทีมอนุรักษ์ต้องเขียนฟังก์ชั่นขึ้นมาแทน แถมชุดข้อมูลเริ่มโปรแกรมก็หายไปทำให้โปรแกรมรันไม่ขึ้น
ทีมงานพบปัญหารายทาง เช่นโปรแกรมแครช เพราะพิมพ์โค้ดจากกระดาษแล้วใส่ 0 เกินไปหนึ่งตัว แต่ก็แก้ไขจนรันได้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา โค้ดนี้มีโหมดสอนรูปแบบบทสนทนาเพิ่มเติมเอาไวด้วย โดย Weizenbaum ก็เคยพูดถึงฟีเจอร์นี้ในรายงานแต่โค้ดเวอร์ชั่นนี้กลับพบว่ามันทำงานได้ไม่สมบูรณ์
โค้ด ELIZA เปิดให้ดาวน์โหลดบน GitHub โดยมาพร้อมกับอีมูเลเตอร์ CTSS ทั้งเครื่อง ทายาทของ Weizenbaum อนุญาตให้เผยแพร่โค้ดนี้เป็นสาธารณะ CC0 แต่โค้ดอีมูเลเตอร์เป็นสัญญาอนุญาต MIT
ที่มา - Team ELIZA
Topics:
Chatbot
Artificial Intelligence
Continue reading...
โครงการ ELIZA สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการคอมพิวเตอร์ในยุค 1965 อย่างมาก และก็มีโค้ดที่พอร์ตไปภาษาต่างๆ จำนวนมาก แต่โค้ดต้นฉบับเดิมนั้นกลับสูญหายไป กลุ่มนักวิจัยก็ร่วมกันค้นหาจนกระทั่งไปเจอในสำเนารายงาน ELIZA พร้อมกับซอร์สโค้ดในหอจดหมายเหตุ MIT
แม้จะเจอซอร์สโค้ดแล้ว แต่โค้ดเดิมของ ELIZA เขียนบนเครื่อง IBM 7094 Compatible Time-Sharing System (CTSS) คอมพิวเตอร์ที่ล็อกอินเข้าใช้งานได้พร้อมกันหลายคนเครื่องแรกของโลก มีแรม 32k word (word ขนาด 36 bit) แต่ละ word เก็บ 6 ตัวอักษร โดยยุคนั้นเป็นยุคก่อน ASCII ซีพียู 450kHz รองรับผู้ใช้ได้พร้อมกัน 30 คน ตัวโค้ด ELIZA เขียนด้วยภาษา MAD (Michigan Algorithm Decoder) พร้มกับไลบรารี SLIP (Symmetric LIst Processor) ที่ Weizenbaum สร้างขึ้นมาเอง
เคราะห์ดีที่ David Pitts เคยสร้างอีมูเลเตอร์ เครื่อง IBM 7094 ไว้แล้ว ทีมค้นหา ELIZA ต้องพิมพ์โค้ดทั้งหมดเป็นไฟล์ และพบว่า Weizenbaum ละฟังก์ชั่นจำนวนหนึ่งไม่ใส่ไว้ในซอร์สโค้ด ทำให้ทีมอนุรักษ์ต้องเขียนฟังก์ชั่นขึ้นมาแทน แถมชุดข้อมูลเริ่มโปรแกรมก็หายไปทำให้โปรแกรมรันไม่ขึ้น
ทีมงานพบปัญหารายทาง เช่นโปรแกรมแครช เพราะพิมพ์โค้ดจากกระดาษแล้วใส่ 0 เกินไปหนึ่งตัว แต่ก็แก้ไขจนรันได้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา โค้ดนี้มีโหมดสอนรูปแบบบทสนทนาเพิ่มเติมเอาไวด้วย โดย Weizenbaum ก็เคยพูดถึงฟีเจอร์นี้ในรายงานแต่โค้ดเวอร์ชั่นนี้กลับพบว่ามันทำงานได้ไม่สมบูรณ์
โค้ด ELIZA เปิดให้ดาวน์โหลดบน GitHub โดยมาพร้อมกับอีมูเลเตอร์ CTSS ทั้งเครื่อง ทายาทของ Weizenbaum อนุญาตให้เผยแพร่โค้ดนี้เป็นสาธารณะ CC0 แต่โค้ดอีมูเลเตอร์เป็นสัญญาอนุญาต MIT
ที่มา - Team ELIZA
Topics:
Chatbot
Artificial Intelligence
Continue reading...