วันนี้ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา หรือ "หมออ๋อง" รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 และ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.พรรคก้าวไกล มีแถลงข่าวงาน Open Parliament Hackathon 2024 ที่รัฐสภาไทยจะเปิดข้อมูล open data เป็นครั้งแรก และเชิญผู้สนใจเข้ามาร่วมเสนอไอเดียด้านเทคโนโลยีต่อรัฐสภาไทย ในรูปแบบ hackathon ซึ่งจะเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่เราจะได้มีโอกาส "ค้างคืน" ในรัฐสภาไทย
นายปดิพัทธ์ บอกว่าหลังเข้ามาทำหน้าที่ ส.ส. และรองประธานสภามาได้ระยะหนึ่ง พบว่าภารกิจที่สำคัญของรัฐสภาไทย จริงๆ แล้วมีเพียงแค่ 4 ด้านคือ
รัฐสภาไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ใช่ 4 ข้อนี้ และในทางกลับกันคือ สภาต้องถามตัวเองว่าทำภารกิจหลักทั้ง 4 ข้อได้ดีพอหรือยัง เช่น ตลอดอายุสภาชุดนี้ผ่านมาแล้ว 1 ปี ยังผ่านกฎหมายไปได้แค่ 2 ฉบับ แต่กลับต้องจ่ายเงินค่าเลี้ยงอาหารให้กับคนทำงานในสภาไปแล้วเป็นหลักสิบล้านบาท ต้องถามตัวเองว่าทำงานได้คุ้มค่าภาษีประชาชนหรือไม่
นายปดิพัทธ์ ยังบอกว่าในหน่วยงานรัฐสภาเอง มีงบประมาณประจำปีมากกว่า 6 พันล้านบาท มีข้าราชการ คนทำงานข้างในมากกว่า 4 พันคน ต้องดูว่าใช้งบประมาณคุ้มค่าแค่ไหน และที่ผ่านมาหลังจากได้เข้ามารับผิดชอบโครงการด้านไอทีของรัฐสภา ที่ใช้งบราว 1 พันล้านบาทต่อปี ก็พบข้อเสนอโครงการหลายอันที่ไม่เมคเซนส์ เช่น ระบบติดตั้งการประชุมออนไลน์ในห้องทำงานของ ส.ส. ทุกคนในสภา 500 คน ซึ่งไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร เพราะที่นั่งอยู่ในอาคารรัฐสภาเดียวกัน ตรงนี้ได้ตัดงบออกไปแล้วมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท และอยากเอางบประมาณส่วนนี้ไปทำเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่าด้วย
ฝั่งของนายณัฐพงษ์ เล่าว่าแนวคิดของประเทศเอสโตเนีย เขียนกฎหมายเรื่อง open data ไว้ดีมาก โดยบอกว่าข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในฐานข้อมูลของรัฐบาล ต้องถือว่าเป็นข้อมูลที่ให้สาธารณชนเข้าได้ เว้นแต่ว่ามีเหตุจำเป็นต้องปิดกั้น ถือว่าเปิดทุกอย่างเป็นดีฟอลต์ ในขณะที่ของไทยนั้นกลับกัน คือปิดเป็นดีฟอลต์ ต้องไปไล่ขอให้เปิดเผยเป็นรายการไป
สิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงคือ เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดของรัฐสภาไทยออกมาให้ทุกคนเข้าถึงได้ ระบบไอทีของรัฐสภาแบ่งออกเป็น 4 ระบบ มีทั้งกระบวนการงานสภา, บันทึกรายงานการประชุม (ย้อนไปตั้งแต่เริ่มต้นรัฐสภาไทยปี 2475 แต่อยู่ในรูปเอกสารสแกน ถ้าเป็น full-text จะมีตั้งแต่ราวปี 254x เป็นต้นมา), คลังความรู้ของสภา และเอกสารงบประมาณ โดยข้อมูล 3 ส่วนแรกลอง dump database ออกมาแล้วมีขนาดประมาณ 500MB สามารถเอาไปใช้งานด้านต่างๆ ได้อีกมาก
แต่เปิดข้อมูลอย่างเดียวคงไม่เกิดประโยชน์อะไรมาก จึงจัดให้มีกิจกรรม Open Parliament Hackathon เชิญผู้ที่สนใจไม่ว่าทำอาชีพใด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์หรือทำงาน data โดยตรงก็ได้ เข้ามารับฟังและร่วมเสนอไอเดียกันด้วย (ลิงก์สมัคร, สมัครได้ถึง 31 กรกฎาคม) ผู้เข้าร่วมจะได้ใช้เวลา 2 วัน 1 คืนที่รัฐสภาไทย (6-7 สิงหาคม) เข้าร่วมกิจกรรม workshop กับผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านกระบวนการสภา เพื่อพัฒนาไอเดียมานำเสนอว่าอยากเห็นอะไรในระบบไอทีของรัฐสภาไทย
(หมายเหตุ: ผู้ที่ไม่อยากค้างคืนก็สามารถกลับบ้านแล้วกลับมาใหม่ตอนเช้าได้ แต่ถ้าใครอยากลองนอนในสภาดูสักครั้งในชีวิตก็เป็นโอกาสอันดี แม้เป็นการนอนในห้องประชุมที่จัดกิจกรรมก็ตาม)
นายณัฐพงษ์ ได้ยกตัวอย่างไอเดียสิ่งที่น่าทำกับข้อมูลเปิดของรัฐสภาไทย เช่น
นายณัฐพงษ์ ยังยกตัวอย่างผลงานของรัฐสภาเยอรมนี ที่มีคลิปบันทึกการพูดของ ส.ส. ทุกคนไว้ทั้งหมด และสามารถทำ full text search ค้นหาสิ่งที่ ส.ส. ค้นนั้นพูดไว้ด้วย keyword กดแล้วเด้งเข้าวิดีโอในจังหวะที่พูดเรื่องนั้นได้ทันที เป็นเครื่องมือตรวจเช็ค digital footprint ชั้นดี ใช้จับโกหกนักการเมืองได้
หลังจากจบกระบวนการ hackathon แล้ว โครงการผลักดันรัฐสภาให้เปิดกว้างยังไม่จบลง เพราะไอเดียต่างๆ จะถูกรวบรวมและเสนอเข้าอนุกรรมการด้านไอทีของรัฐสภาอีกที หากมีไอเดียที่น่าสนใจและพัฒนาต่อ ก็จะพัฒนาเป็นโครงการจัดซื้อจัดจ้างในช่วงปีงบประมาณ 2568-2570 มี TOR ตามระบบ และเชื้อเชิญให้บริษัทสตาร์ตอัพไทยมาแข่งขันกันรับงานไป รัฐสภาจะได้ระบบไอทีที่โดนใจประชาชน เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการจริงๆ ส่วนสตาร์ตอัพไทยก็จะได้งานภาครัฐไปหล่อเลี้ยงให้ตัวเองเติบโตขึ้นพร้อมกัน
นายณัฐพงษ์ เรียกแนวคิดการจ้างบริษัทสตาร์ตอัพไทยว่า Thai-first ควรให้โอกาสบริษัทผู้ประกอบการไทยที่มีความสามารถ มากกว่าการจ้างบริษัท "ขาประจำ" ที่รับงานภาครัฐอยู่บ่อยๆ ผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เผยแพร่ให้คนรู้จักเยอะๆ เน้นการแข่งขัน ไม่ให้ล็อคสเปกได้ โดยตรงนี้พาร์ทเนอร์กับ DEPA ที่มี บัญชีบริการดิจิทัล (Thailand Digital Catalog) รวมรายชื่อบริษัทไทยที่ให้บริการด้านดิจิทัล และสมาคม Thai Startup ที่มีสมาชิกเป็นบริษัทสตาร์ตอัพจำนวนมากอยู่แล้ว
นายปดิพัทธ์ บอกว่าการผลักดัน Open Parliament เป็นภารกิจที่รัฐสภาต้องทำในระยะยาว อย่างน้อยถึงปี 2570 และจะยังเดินหน้าต่อไป แม้พรรคก้าวไกลถูกยุบในวันที่ 7 สิงหาคม เพราะเป็นภารกิจของข้าราชการรัฐสภาด้วย ส่วนนายณัฐพงษ์บอกว่าถึงแม้พรรคถูกยุบ ตนเองยังมีสถานะเป็น ส.ส. และเป็นบอร์ดไอทีของรัฐสภาเช่นเดิม ก็จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไปอย่างแน่นอน อีกทั้งในงาน Hackathon ครั้งนี้ยังมี ส.ส. ของพรรคการเมืองอื่นๆ เข้าร่วมด้วยเช่นกัน เป็นวาระร่วมของสภามากกว่าจะเป็นของพรรคใดพรรคหนึ่ง
Topics:
Thailand
Open Data
Hackathon
Continue reading...
ครั้งแรกของประวัติศาสตร์รัฐสภาไทย! กับการเปิดเผยข้อมูลของรัฐสภาเพื่อพัฒนาระบบให้โปร่งใส เปิดกว้างยิงขึ้น และเป็นของประชาชนทุกคน พร้อมโอกาสในการร่วมงานกับรัฐสภาผ่าน Parliament Sandboxขอเชิญชวนนักพัฒนา นักออกแบบ และผู้สนใจทุกท่านมาร่วมงาน Open Parliament Hackathon 2024… pic.twitter.com/Je5r1adDnG
— Earth Pakornwut \7 (@Earth_MFP) July 26, 2024
นายปดิพัทธ์ บอกว่าหลังเข้ามาทำหน้าที่ ส.ส. และรองประธานสภามาได้ระยะหนึ่ง พบว่าภารกิจที่สำคัญของรัฐสภาไทย จริงๆ แล้วมีเพียงแค่ 4 ด้านคือ
- ออกกฎหมาย
- ผ่านงบประมาณประจำปี
- ติดตามผลการดำเนินงานของรัฐบาล
- สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
รัฐสภาไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ใช่ 4 ข้อนี้ และในทางกลับกันคือ สภาต้องถามตัวเองว่าทำภารกิจหลักทั้ง 4 ข้อได้ดีพอหรือยัง เช่น ตลอดอายุสภาชุดนี้ผ่านมาแล้ว 1 ปี ยังผ่านกฎหมายไปได้แค่ 2 ฉบับ แต่กลับต้องจ่ายเงินค่าเลี้ยงอาหารให้กับคนทำงานในสภาไปแล้วเป็นหลักสิบล้านบาท ต้องถามตัวเองว่าทำงานได้คุ้มค่าภาษีประชาชนหรือไม่
นายปดิพัทธ์ ยังบอกว่าในหน่วยงานรัฐสภาเอง มีงบประมาณประจำปีมากกว่า 6 พันล้านบาท มีข้าราชการ คนทำงานข้างในมากกว่า 4 พันคน ต้องดูว่าใช้งบประมาณคุ้มค่าแค่ไหน และที่ผ่านมาหลังจากได้เข้ามารับผิดชอบโครงการด้านไอทีของรัฐสภา ที่ใช้งบราว 1 พันล้านบาทต่อปี ก็พบข้อเสนอโครงการหลายอันที่ไม่เมคเซนส์ เช่น ระบบติดตั้งการประชุมออนไลน์ในห้องทำงานของ ส.ส. ทุกคนในสภา 500 คน ซึ่งไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร เพราะที่นั่งอยู่ในอาคารรัฐสภาเดียวกัน ตรงนี้ได้ตัดงบออกไปแล้วมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท และอยากเอางบประมาณส่วนนี้ไปทำเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่าด้วย
ฝั่งของนายณัฐพงษ์ เล่าว่าแนวคิดของประเทศเอสโตเนีย เขียนกฎหมายเรื่อง open data ไว้ดีมาก โดยบอกว่าข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในฐานข้อมูลของรัฐบาล ต้องถือว่าเป็นข้อมูลที่ให้สาธารณชนเข้าได้ เว้นแต่ว่ามีเหตุจำเป็นต้องปิดกั้น ถือว่าเปิดทุกอย่างเป็นดีฟอลต์ ในขณะที่ของไทยนั้นกลับกัน คือปิดเป็นดีฟอลต์ ต้องไปไล่ขอให้เปิดเผยเป็นรายการไป
สิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงคือ เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดของรัฐสภาไทยออกมาให้ทุกคนเข้าถึงได้ ระบบไอทีของรัฐสภาแบ่งออกเป็น 4 ระบบ มีทั้งกระบวนการงานสภา, บันทึกรายงานการประชุม (ย้อนไปตั้งแต่เริ่มต้นรัฐสภาไทยปี 2475 แต่อยู่ในรูปเอกสารสแกน ถ้าเป็น full-text จะมีตั้งแต่ราวปี 254x เป็นต้นมา), คลังความรู้ของสภา และเอกสารงบประมาณ โดยข้อมูล 3 ส่วนแรกลอง dump database ออกมาแล้วมีขนาดประมาณ 500MB สามารถเอาไปใช้งานด้านต่างๆ ได้อีกมาก
แต่เปิดข้อมูลอย่างเดียวคงไม่เกิดประโยชน์อะไรมาก จึงจัดให้มีกิจกรรม Open Parliament Hackathon เชิญผู้ที่สนใจไม่ว่าทำอาชีพใด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์หรือทำงาน data โดยตรงก็ได้ เข้ามารับฟังและร่วมเสนอไอเดียกันด้วย (ลิงก์สมัคร, สมัครได้ถึง 31 กรกฎาคม) ผู้เข้าร่วมจะได้ใช้เวลา 2 วัน 1 คืนที่รัฐสภาไทย (6-7 สิงหาคม) เข้าร่วมกิจกรรม workshop กับผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านกระบวนการสภา เพื่อพัฒนาไอเดียมานำเสนอว่าอยากเห็นอะไรในระบบไอทีของรัฐสภาไทย
(หมายเหตุ: ผู้ที่ไม่อยากค้างคืนก็สามารถกลับบ้านแล้วกลับมาใหม่ตอนเช้าได้ แต่ถ้าใครอยากลองนอนในสภาดูสักครั้งในชีวิตก็เป็นโอกาสอันดี แม้เป็นการนอนในห้องประชุมที่จัดกิจกรรมก็ตาม)
นายณัฐพงษ์ ได้ยกตัวอย่างไอเดียสิ่งที่น่าทำกับข้อมูลเปิดของรัฐสภาไทย เช่น
- ระบบวิเคราะห์งบประมาณของรัฐสภา ว่าจ่ายค่าไฟเท่าไร ค่าอาหารเท่าไร แล้วได้กฎหมายกี่ฉบับ
- ลองเอาบันทึกการประชุมสภาย้อนหลังมาวิเคราะห์ข้อความ ทำ word cloud ดูว่ารัฐสภาไทยพูดเรื่องอะไรกันบ่อยที่สุด
- เอาเอกสารงบประมาณมาประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดคอร์รัปชัน
นายณัฐพงษ์ ยังยกตัวอย่างผลงานของรัฐสภาเยอรมนี ที่มีคลิปบันทึกการพูดของ ส.ส. ทุกคนไว้ทั้งหมด และสามารถทำ full text search ค้นหาสิ่งที่ ส.ส. ค้นนั้นพูดไว้ด้วย keyword กดแล้วเด้งเข้าวิดีโอในจังหวะที่พูดเรื่องนั้นได้ทันที เป็นเครื่องมือตรวจเช็ค digital footprint ชั้นดี ใช้จับโกหกนักการเมืองได้
หลังจากจบกระบวนการ hackathon แล้ว โครงการผลักดันรัฐสภาให้เปิดกว้างยังไม่จบลง เพราะไอเดียต่างๆ จะถูกรวบรวมและเสนอเข้าอนุกรรมการด้านไอทีของรัฐสภาอีกที หากมีไอเดียที่น่าสนใจและพัฒนาต่อ ก็จะพัฒนาเป็นโครงการจัดซื้อจัดจ้างในช่วงปีงบประมาณ 2568-2570 มี TOR ตามระบบ และเชื้อเชิญให้บริษัทสตาร์ตอัพไทยมาแข่งขันกันรับงานไป รัฐสภาจะได้ระบบไอทีที่โดนใจประชาชน เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการจริงๆ ส่วนสตาร์ตอัพไทยก็จะได้งานภาครัฐไปหล่อเลี้ยงให้ตัวเองเติบโตขึ้นพร้อมกัน
นายณัฐพงษ์ เรียกแนวคิดการจ้างบริษัทสตาร์ตอัพไทยว่า Thai-first ควรให้โอกาสบริษัทผู้ประกอบการไทยที่มีความสามารถ มากกว่าการจ้างบริษัท "ขาประจำ" ที่รับงานภาครัฐอยู่บ่อยๆ ผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เผยแพร่ให้คนรู้จักเยอะๆ เน้นการแข่งขัน ไม่ให้ล็อคสเปกได้ โดยตรงนี้พาร์ทเนอร์กับ DEPA ที่มี บัญชีบริการดิจิทัล (Thailand Digital Catalog) รวมรายชื่อบริษัทไทยที่ให้บริการด้านดิจิทัล และสมาคม Thai Startup ที่มีสมาชิกเป็นบริษัทสตาร์ตอัพจำนวนมากอยู่แล้ว
นายปดิพัทธ์ บอกว่าการผลักดัน Open Parliament เป็นภารกิจที่รัฐสภาต้องทำในระยะยาว อย่างน้อยถึงปี 2570 และจะยังเดินหน้าต่อไป แม้พรรคก้าวไกลถูกยุบในวันที่ 7 สิงหาคม เพราะเป็นภารกิจของข้าราชการรัฐสภาด้วย ส่วนนายณัฐพงษ์บอกว่าถึงแม้พรรคถูกยุบ ตนเองยังมีสถานะเป็น ส.ส. และเป็นบอร์ดไอทีของรัฐสภาเช่นเดิม ก็จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไปอย่างแน่นอน อีกทั้งในงาน Hackathon ครั้งนี้ยังมี ส.ส. ของพรรคการเมืองอื่นๆ เข้าร่วมด้วยเช่นกัน เป็นวาระร่วมของสภามากกว่าจะเป็นของพรรคใดพรรคหนึ่ง
Topics:
Thailand
Open Data
Hackathon
Continue reading...