รีวิว Lenovo ThinkStation P2 Tower เวิร์คสเตชันตัวแรง ปรับสเปคได้ สำหรับคนทำงาน
ในยุคสมัยนี้ Workstation ถือว่าเป็นชื่อประเภทคอมพิวเตอร์ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงขึ้นในวงกว้างเท่าไหร่นัก และแยกความต่างกับ Desktop PC ได้ค่อนข้างยากขึ้นทุกที หรือหนักที่สุดคือผู้ใช้งานในยุคนี้ไม่รู้จักเลยว่า Workstation คืออะไร วันนี้ทีมงาน blognone จึงได้รับเกียรติจาก Lenovo ส่ง Lenovo ThinkStation P2 Tower มาให้รีวิว และไขข้องใจว่าคอมพิวเตอร์แบบ Workstation ทำอะไรได้บ้าง และเหมาะกับใคร
ดูไฟล์แนบ a7bfbc6a83b6bbe4f19fe174366deb1e.jpg
ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า Workstation เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง มักใช้ในงานด้านวิศวกรรม การออกแบบ กราฟิก การตัดต่อภาพยนตร์ และงานด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ แต่ความแรงอย่างเดียวนั้นไม่พอ ตัวเครื่องต้องใช้วัสดุที่ทนทาน และมีการบริการหลังการขายจากแบรนด์นั้น ๆ อย่างทาง Lenovo เองก็มีประกันแบบ On Site ให้ถึง 3 ปีทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องยกเครื่องไปซ่อมที่ร้าน หรือแงะเครื่องเองเพราะมีช่างมาซ่อมให้ถึงที่
สำหรับ Lenovo ThinkStation P2 Tower นั้นมาพร้อมหน่วยประมวลผล intel Core i7-14700 ได้มาตรฐาน Intel vPro เทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ มีมาตรการรักษาความปลอดภัยบนฮาร์ดแวร์หลายชั้นที่ตรวจสอบด้วย AI มีความเสถียรสูง และทำให้ฝ่ายไอทีบำรุงรักษาจากระยะไกลได้ , การ์ดจอ NVIDIA RTX 4070 ที่มี VRAM 12GB ส่วนหน่วยความจำหรือแรมให้มา 32GB แบบ DDR5 ความเร็ว 4400mhz
ดูจากสเปคแล้วแม้จะไม่ต่างจาก Desktop PC Gaming เท่าไหร่นัก แต่ Lenovo ThinkStation P2 Tower สามารถเลือกปรับแต่งได้หลายอย่างมาก ๆ ในหน้าสั่งชื่อของเว็บไซต์ของ Lenovo ทั้งก่อนซื้อ และหลังซื้อ ปรับแต่งได้ตั้งแต่แรมที่สามารถเลือกใช้แบบ ECC และใส่ได้สูงสุดถึง 128GB ส่วน PCle ก็รองรับถึง 4 ช่อง นอกจากนี้ยังมีช่องใส่ HDD ขนาด 3.5 นิ้วได้อีก 2 ช่อง และขนาด 2.5 นิ้วอีก 1 ช่อง
ภายนอกตัวเครื่องเป็นสีดำดีไซน์เรียบง่ายมีรูระบายความร้อนทั้งด้านหน้า และด้านหลังอีกทั้งยังมีพอร์ตการเชื่อมต่อที่เยอะมากมีตั้งแต่ USB-C, USB 3.2, ช่องเสียบ SD Card, ช่องเสียบหูฟัง, ช่องเสียบไมค์, ช่องใส่แผ่น DVD, ช่องต่อ Einternet, Displayport, HDMI และมีช่องต่อ PS/2 สำหรับคีย์บอร์ด และเมาส์ยุคก่อนให้ด้วย ส่งผลให้แม้ภายนอกจะดูเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทำงานออฟฟิศธรรมดาที่ขนาดเล็กกระทัดรัด แต่พอมองดูดี ๆ จะพบว่า Lenovo ThinkStation P2 Tower เป็น Workstation ที่ใส่เต็มด้านการเชื่อมต่อเพื่อทุกสถานการณ์ของการทำงานจริง ๆ
พูดถึงสเปคกันไปก็เยอะแล้ว เรามาดูประสิทธิภาพการทำงานของ Lenovo ThinkStation P2 Tower กันดีกว่า โดยทีมงานจะแบ่งเป็นการทดสอบกับโปรแกรมวัดประสิทธิภาพ และการใช้ทำงานจริงจากโปรแกรมทำงานต่าง ๆ
เริ่มกันที่การทดสอบวัดประสิทธิภาพทีมงานได้ทดสอบกับ Geekbench ทั้ง CPU และ GPU แล้วพบว่าด้าน CPU แบบคอร์เดียวได้ 2780 คะแนนและแบบหลายคอร์ได้ 17,513 คะแนน ส่วน GPU ได้ 170,475 คะแนน ในรายละเอียการทดสอบมีการประมวลผลทั้งงานตัดต่อภาพ, วิดีโอ, ย่อไฟล์ และตัวอักษร ซึ่งผลที่ได้ค่อนข้างน่าประทับใจ
โปรแกรมถัดมาคือ 3D Mark ในส่วนนี้จะหนักไปทางด้าน GPU เป็นหลัก ทีมงานเลือกทดสอบทั้งเฟรมเรต และคุณภาพกราฟิก ผลที่ได้คือในแง่กราฟิกสามารถประมวลผลแบบ Native ได้ที่ความละเอียด 4K แบบ 40fps ส่วนด้านประสิทธิภาพได้ความละเอียด 1440p 120fps
ส่วนโปรแกรมทำงานที่นำมาทดสอบทีมงานได้เลือก Blender สำหรับงานแอนิเมชัน ส่วนงานตัดต่อภาพยนตร์ทีมงานเลือก Adobe Premiere Pro มาทดสอบ และงานกราฟิกเลือกใช้ Photoshop และ Illustrator
Blender ทีมงานเลือกใช้โปรเจกต์ที่มีอยู่ในแล้วมาทดสอบผลลัพท์ที่ได้พบว่าในงานแบบ 2.5 มิติทำงานได้ลื่นไหลจนแทบจะเป็นเรียลไทม์แล้ว ส่วนงาน 3 มิติแม้เฟรมเรตที่ได้จะไม่ลื่นเท่างาน 2.5 มิติ แต่ถือว่าใช้ทำงานได้
Adobe Premiere Pro ทีมงานเลือกใช้ฟุตเทจจากกล้อง Blackmagic Camera ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีจากเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละฟุตเทจจะเป็นความละเอียด 4K ที่มี Bitrate ที่สูงกกว่ากล้องทั่วไป ทีมงานได้ตัดต่อคลิปวิดีโอความยาวประมาณ 10 นาที และลองเรนเดอร์ออกมาเป็นไฟล์วิดีโอผลปรากฏว่าใช้เวลาเรนเดอร์ไป 5 นาที 30 วินาที ซึ่งเป็นผลลัพท์ที่น่าพอใจกับเงื่อนไขที่ใช้ฟุตเทจคุณภาพสูง
ในส่วนของ Photoshop ทีมงานอาจไม่ได้ลงลึกมากแต่ก็ทดสอบในแง่ของการใช้ Generative AI ลบพื้นหลังหรือสร้างพื้นที่ใหม่ให้กับภาพ โดยรวมแล้วทำงานได้รวดเร็วมากอย่างการลบพื้นหลังเทียบจะคลิ๊กเดียวรอไม่ถึงวินาทีแล้วได้ภาพที่ไร้พื้นหลังเลย ส่วนการสร้างพื้นที่ใหม่แม้จะไม่เร็วทันใจแบบการลบพื้นหลังแต่ก็ประมวลผลได้เร็วมาก ๆ
ด้าน Illustrator ทีมงานได้ใช้ตัวอย่างงานที่เนื้องานมีความละเอียดสูง และต้องมีหลายเลเยอร์ ซึ่งเป็นงานที่กินเครื่องประมาณหนึ่ง โดยยืมตัวผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกมาลองใช้งานดู ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกกับทีมงานว่าค่อนข้างประทับใจ เพราะที่ผ่านมาด้วยไลฟ์สไตล์การทำงานแบบไฮบริดทำให้ต้องทำงานบนแล็ปท็อปเป็นหลัก การได้กลับมาใช้ Workstation ที่มีไว้เพื่อทำงานจริง ๆ นั้น ตอบโจทย์กว่ามาก ทำงานได้ลื่นไหลไม่ติดขัด
สรุปแล้ว Lenovo ThinkStation P2 Tower เป็น Workstation ที่เหมาะกับการทำงานเป็นอย่างยิ่งด้วยประสิทธิภาพการทำงาน และการประมวลผลที่รวดเร็ว อีกทั้งภายนอกได้รับการออกแบบมาอย่างดีมีพอร์ตการเชื่อมต่อที่หลากหลาย มีขนาดเครื่องที่ไม่ใหญ่จนเกินไปทำให้ไม่กินพื้นที่ของโต๊ะทำงานมากเกินจำเป็น ปิดท้ายด้วยบริการหลังการขายที่ช่างมาซ่อมให้ถึงที่นาน 3 ปี
แต่หากรู้สึกว่าสเปคยังไม่สุดพอนอกจาก ThinkStation P2 แล้ว Lenovo ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ WorkStation ที่มาพร้อมกับ Intel Xeon W Processor ซึ่งก็ให้ประสิทธิภาพการทำงานยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
Topics:
Lenovo
ThinkStation
PC
Workstation
Continue reading...
ในยุคสมัยนี้ Workstation ถือว่าเป็นชื่อประเภทคอมพิวเตอร์ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงขึ้นในวงกว้างเท่าไหร่นัก และแยกความต่างกับ Desktop PC ได้ค่อนข้างยากขึ้นทุกที หรือหนักที่สุดคือผู้ใช้งานในยุคนี้ไม่รู้จักเลยว่า Workstation คืออะไร วันนี้ทีมงาน blognone จึงได้รับเกียรติจาก Lenovo ส่ง Lenovo ThinkStation P2 Tower มาให้รีวิว และไขข้องใจว่าคอมพิวเตอร์แบบ Workstation ทำอะไรได้บ้าง และเหมาะกับใคร
ดูไฟล์แนบ a7bfbc6a83b6bbe4f19fe174366deb1e.jpg
ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า Workstation เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง มักใช้ในงานด้านวิศวกรรม การออกแบบ กราฟิก การตัดต่อภาพยนตร์ และงานด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ แต่ความแรงอย่างเดียวนั้นไม่พอ ตัวเครื่องต้องใช้วัสดุที่ทนทาน และมีการบริการหลังการขายจากแบรนด์นั้น ๆ อย่างทาง Lenovo เองก็มีประกันแบบ On Site ให้ถึง 3 ปีทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องยกเครื่องไปซ่อมที่ร้าน หรือแงะเครื่องเองเพราะมีช่างมาซ่อมให้ถึงที่
สำหรับ Lenovo ThinkStation P2 Tower นั้นมาพร้อมหน่วยประมวลผล intel Core i7-14700 ได้มาตรฐาน Intel vPro เทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ มีมาตรการรักษาความปลอดภัยบนฮาร์ดแวร์หลายชั้นที่ตรวจสอบด้วย AI มีความเสถียรสูง และทำให้ฝ่ายไอทีบำรุงรักษาจากระยะไกลได้ , การ์ดจอ NVIDIA RTX 4070 ที่มี VRAM 12GB ส่วนหน่วยความจำหรือแรมให้มา 32GB แบบ DDR5 ความเร็ว 4400mhz
ดูจากสเปคแล้วแม้จะไม่ต่างจาก Desktop PC Gaming เท่าไหร่นัก แต่ Lenovo ThinkStation P2 Tower สามารถเลือกปรับแต่งได้หลายอย่างมาก ๆ ในหน้าสั่งชื่อของเว็บไซต์ของ Lenovo ทั้งก่อนซื้อ และหลังซื้อ ปรับแต่งได้ตั้งแต่แรมที่สามารถเลือกใช้แบบ ECC และใส่ได้สูงสุดถึง 128GB ส่วน PCle ก็รองรับถึง 4 ช่อง นอกจากนี้ยังมีช่องใส่ HDD ขนาด 3.5 นิ้วได้อีก 2 ช่อง และขนาด 2.5 นิ้วอีก 1 ช่อง
ภายนอกตัวเครื่องเป็นสีดำดีไซน์เรียบง่ายมีรูระบายความร้อนทั้งด้านหน้า และด้านหลังอีกทั้งยังมีพอร์ตการเชื่อมต่อที่เยอะมากมีตั้งแต่ USB-C, USB 3.2, ช่องเสียบ SD Card, ช่องเสียบหูฟัง, ช่องเสียบไมค์, ช่องใส่แผ่น DVD, ช่องต่อ Einternet, Displayport, HDMI และมีช่องต่อ PS/2 สำหรับคีย์บอร์ด และเมาส์ยุคก่อนให้ด้วย ส่งผลให้แม้ภายนอกจะดูเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทำงานออฟฟิศธรรมดาที่ขนาดเล็กกระทัดรัด แต่พอมองดูดี ๆ จะพบว่า Lenovo ThinkStation P2 Tower เป็น Workstation ที่ใส่เต็มด้านการเชื่อมต่อเพื่อทุกสถานการณ์ของการทำงานจริง ๆ
พูดถึงสเปคกันไปก็เยอะแล้ว เรามาดูประสิทธิภาพการทำงานของ Lenovo ThinkStation P2 Tower กันดีกว่า โดยทีมงานจะแบ่งเป็นการทดสอบกับโปรแกรมวัดประสิทธิภาพ และการใช้ทำงานจริงจากโปรแกรมทำงานต่าง ๆ
เริ่มกันที่การทดสอบวัดประสิทธิภาพทีมงานได้ทดสอบกับ Geekbench ทั้ง CPU และ GPU แล้วพบว่าด้าน CPU แบบคอร์เดียวได้ 2780 คะแนนและแบบหลายคอร์ได้ 17,513 คะแนน ส่วน GPU ได้ 170,475 คะแนน ในรายละเอียการทดสอบมีการประมวลผลทั้งงานตัดต่อภาพ, วิดีโอ, ย่อไฟล์ และตัวอักษร ซึ่งผลที่ได้ค่อนข้างน่าประทับใจ
โปรแกรมถัดมาคือ 3D Mark ในส่วนนี้จะหนักไปทางด้าน GPU เป็นหลัก ทีมงานเลือกทดสอบทั้งเฟรมเรต และคุณภาพกราฟิก ผลที่ได้คือในแง่กราฟิกสามารถประมวลผลแบบ Native ได้ที่ความละเอียด 4K แบบ 40fps ส่วนด้านประสิทธิภาพได้ความละเอียด 1440p 120fps
ส่วนโปรแกรมทำงานที่นำมาทดสอบทีมงานได้เลือก Blender สำหรับงานแอนิเมชัน ส่วนงานตัดต่อภาพยนตร์ทีมงานเลือก Adobe Premiere Pro มาทดสอบ และงานกราฟิกเลือกใช้ Photoshop และ Illustrator
Blender ทีมงานเลือกใช้โปรเจกต์ที่มีอยู่ในแล้วมาทดสอบผลลัพท์ที่ได้พบว่าในงานแบบ 2.5 มิติทำงานได้ลื่นไหลจนแทบจะเป็นเรียลไทม์แล้ว ส่วนงาน 3 มิติแม้เฟรมเรตที่ได้จะไม่ลื่นเท่างาน 2.5 มิติ แต่ถือว่าใช้ทำงานได้
Adobe Premiere Pro ทีมงานเลือกใช้ฟุตเทจจากกล้อง Blackmagic Camera ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีจากเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละฟุตเทจจะเป็นความละเอียด 4K ที่มี Bitrate ที่สูงกกว่ากล้องทั่วไป ทีมงานได้ตัดต่อคลิปวิดีโอความยาวประมาณ 10 นาที และลองเรนเดอร์ออกมาเป็นไฟล์วิดีโอผลปรากฏว่าใช้เวลาเรนเดอร์ไป 5 นาที 30 วินาที ซึ่งเป็นผลลัพท์ที่น่าพอใจกับเงื่อนไขที่ใช้ฟุตเทจคุณภาพสูง
ในส่วนของ Photoshop ทีมงานอาจไม่ได้ลงลึกมากแต่ก็ทดสอบในแง่ของการใช้ Generative AI ลบพื้นหลังหรือสร้างพื้นที่ใหม่ให้กับภาพ โดยรวมแล้วทำงานได้รวดเร็วมากอย่างการลบพื้นหลังเทียบจะคลิ๊กเดียวรอไม่ถึงวินาทีแล้วได้ภาพที่ไร้พื้นหลังเลย ส่วนการสร้างพื้นที่ใหม่แม้จะไม่เร็วทันใจแบบการลบพื้นหลังแต่ก็ประมวลผลได้เร็วมาก ๆ
ด้าน Illustrator ทีมงานได้ใช้ตัวอย่างงานที่เนื้องานมีความละเอียดสูง และต้องมีหลายเลเยอร์ ซึ่งเป็นงานที่กินเครื่องประมาณหนึ่ง โดยยืมตัวผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกมาลองใช้งานดู ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกกับทีมงานว่าค่อนข้างประทับใจ เพราะที่ผ่านมาด้วยไลฟ์สไตล์การทำงานแบบไฮบริดทำให้ต้องทำงานบนแล็ปท็อปเป็นหลัก การได้กลับมาใช้ Workstation ที่มีไว้เพื่อทำงานจริง ๆ นั้น ตอบโจทย์กว่ามาก ทำงานได้ลื่นไหลไม่ติดขัด
สรุปแล้ว Lenovo ThinkStation P2 Tower เป็น Workstation ที่เหมาะกับการทำงานเป็นอย่างยิ่งด้วยประสิทธิภาพการทำงาน และการประมวลผลที่รวดเร็ว อีกทั้งภายนอกได้รับการออกแบบมาอย่างดีมีพอร์ตการเชื่อมต่อที่หลากหลาย มีขนาดเครื่องที่ไม่ใหญ่จนเกินไปทำให้ไม่กินพื้นที่ของโต๊ะทำงานมากเกินจำเป็น ปิดท้ายด้วยบริการหลังการขายที่ช่างมาซ่อมให้ถึงที่นาน 3 ปี
แต่หากรู้สึกว่าสเปคยังไม่สุดพอนอกจาก ThinkStation P2 แล้ว Lenovo ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ WorkStation ที่มาพร้อมกับ Intel Xeon W Processor ซึ่งก็ให้ประสิทธิภาพการทำงานยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
Topics:
Lenovo
ThinkStation
PC
Workstation
Continue reading...