ข่าว รู้จัก บสย. ผู้ค้ำประกันให้ SMEs ทำงานแบบ Startup สวัสดิการเหมือนรัฐวิสาหกิจ

  • ผู้เริ่มหัวข้อ ผู้เริ่มหัวข้อNews 
  • วันที่เริ่มต้น วันที่เริ่มต้น
กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


News 

Moderator
สมาชิกทีมงาน
Moderator
Verify member
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตในแบบที่เลี่ยงอย่างไรก็หนีไม่พ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงินที่เรียกได้ว่าโดนดิสรัปต์ไปก่อนใครเพื่อน ไล่ไปตั้งแต่การเข้ามาของ Mobile Banking การชำระเงินผ่าน QR Code ไปจนถึงระบบ e-KYC ที่ทำให้ธุรกรรมหลากหลายแบบเกิดขึ้นได้จริงบนโลกออนไลน์

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็คือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในแวดวงนี้จำเป็นต้องหันหัวเรือไปตามกระแสน้ำเชี่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเอกชนหรือรัฐก็ตาม ดังเช่นในกรณีของ บสย. หรือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่ช่วยค้ำประกันให้กับ SMEs

ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ บสย. เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับรู้ว่าการปรับตัวในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาบทบาทสำคัญไม่ใช่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีเข้ามาหย่อนลงในองค์กร แต่การจะนำนวัตกรรมเข้ามาและปรับใช้กับธุรกิจ ก็จะต้องดึงดูดคนทำงานสายเทคระดับหัวกะทิ (talent) เข้ามาในองค์กร

จึงเลี่ยงไม่ได้ที่องค์กรจะต้องปรับวิธีการทำงานและวัฒนธรรมภายในให้ฉีกหนีภาพจำเดิม ๆ ของรัฐวิสาหกิจ เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในเป้าหมายที่จะกลายเป็น SMEs Digital Gateway หรือบานประตูสู่เงินทุนที่จะช่วยให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น และ ผลักดันสังคมให้ดีขึ้นผ่านการลดความเหลื่อมล้ำด้านการเงินของผู้ประกอบการไม่ว่าขนาดใดก็ตาม

แล้วการปรับตัวของบสย. ทั้งในเรื่องของการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานจะมีความน่าสนใจอย่างไร วันนี้ คุณสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะเป็นคนมาเล่าเรื่องนี้ให้พวกเราชาว Blognone ฟังกัน

ดูไฟล์แนบ ae2318a7ac2bdc930ef4ea8fdc3faa15.jpg

บสย. รัฐวิสาหกิจยุคใหม่ กับภารกิจในฐานะ FinTech​


บสย. หรือชื่อเต็มคือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม มีฐานะเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีภารกิจหลักคือการช่วยเหลือบริษัทขนาดกลางและเล็กในการช่วยค้ำประกันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินให้ SMEs ที่มีศักยภาพ แต่ยังมีหลักประกันไม่เพียงพอ

คุณสิทธิกรเล่าว่า บสย. มี 2 บทบาทหลัก ๆ คือ การช่วยค้ำประกันให้กับ SMEs และการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ SMEs พูดง่าย ๆ คือการช่วยผู้ประกอบการแต่งเนื้อแต่งตัวในทางการเงิน เพื่อให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น

ดูไฟล์แนบ d55ddca043bee32bb5a999727148f67d.jpg

คุณสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

ในเมื่อทุกวันนี้ธุรกรรมต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้บนโลกออนไลน์ ภารกิจหลายอย่างของบสย. ก็เกิดขึ้นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้เช่นกัน ผ่านภารกิจในการเป็น Digital Gateway ที่จะช่วยเชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้ากับสถาบันการเงินผ่านระบบออนไลน์

คุณสิทธิกรยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ว่าหนึ่งในสื่งที่ทางบสย. ทำไปแล้ว คือการเปิด LINE OA เพื่อให้ผู้ประกอบการมีช่องทางติดต่อไปจนถึงตรวจสุขภาพทางการเงินของธุรกิจได้ผ่านการกรอกข้อมูลต่างในแพลตฟอร์มก่อนจะนัดหมายเพื่อพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงิน โดยภายใน 1 ปี ผู้ติดตามผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จาก 1 หมื่นคนเป็นเกือบ 3 หมื่นคน

ดูไฟล์แนบ 6c9ee1631a5ab723129587b029caf243.jpg

นอกจากนี้ บสย. ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมโยงธุรกรรมออนไลน์เข้ากับระบบต่าง ๆ ที่สถาบันการเงินมีการพัฒนาและใช้ในปัจจุบัน เช่น e-KYC e-NCB e-Statement ที่เป็นกุญแจไปสู่การทำธุรกรรมใหม่ ๆ ในอนาคต

คุณสิริรัตน์ อร่ามเสรีวงศ์ ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาระบบดิจิทัล สรุปเป้าหมายของบสย. ในอนาคตว่า ต้องการเป็น Financial Digital Gateway ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์เต็มรูปแบบ เช่น สามารถอนุมัติเบื้องต้น (pre-approve) การค้ำประกันผ่านระบบออนไลน์ และในระยะยาวก็หวังให้สามารถอนุมัติแบบอัตโนมัติได้เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงการค้ำประกันสินเชื่อ

No Description
คุณสิริรัตน์ อร่ามเสรีวงศ์ ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาระบบดิจิทัล

คุณสิริรัตน์อธิบายต่อว่า ปัจจุบัน ช่องทางหลัก ๆ ที่ผู้ประกอบการเข้าถึงบสย. คือผ่านทางสถาบันการเงิน ส่วนอีกช่องทางคือการเข้าถึงโดยตรงที่ในอนาคตจะพยายามผลักดันมากขึ้นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยสิ่งที่ได้ทำไปแล้วคือการเปิดช่องทาง LINE OA การพัฒนาระบบการค้ำประกันหลังบ้านเพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบให้รองรับผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในอนาคตมากขึ้น ไปจนถึงการใช้ API เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มดิจิทัลลเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลภายในบ้าน ดังนั้นแล้วการเปิดรับทีมงานรุ่นใหม่เข้ามาทำงานด้วยจึงเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ต้องทำ

บสย. กับการทำงานแบบสตาร์ตอัป​


บสย. มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า TCG (Thai Credit Guarantee Corporation) โดยคุณสิทธิกรเล่าว่า Core Values ยุคใหม่ขององค์กรที่ตั้งไว้ก็มีชื่อเรียกย่อ ๆ ว่า TCG เหมือนกัน โดยแบ่งเป็น

  • T – Think Creatively: เป็นพื้นที่เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ จากคนหลากหลาย
  • C – Connectivity: ทำงานแบบเชื่อมโยงกัน เอื้อให้รับฟังไอเดียจากคนอื่น
  • G – Good Governance: มีธรรมาภิบาลแม้จะทำงานเร็วแต่ก็ต้องรอบคอบ

แนวคิดด้านการทำงานของบสย. คือ TCG Fast & First รวดเร็ว รอบคอบ ที่หนึ่งในใจ SMEs โดยคุณสิทธิกรเจาะลึกลงไปอีกว่า การทำงานในแวดวงการเงินในปัจจุบันจะต้องรวดเร็วทันใจ เนื่องจากธุรกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้เกิดขึ้นได้ในไม่กี่คลิก

ดูไฟล์แนบ 0c7789f98d7061c55618ac0c3cf690d7.jpg

อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อที่สำคัญต่อ SMEs แล้ว นอกจากที่จะต้องทำงานเร็วก็ยังต้องทำงานรอบคอบ ตลอดจนมีธรรมาภิบาลและความโปร่งใสเพียงพอ ถึงจะเป็นที่หนึ่งในใจของ SMEs ได้

นอกจากนี้ คุณสิทธิกรยังเล่าให้ฟังถึงวัฒนธรรมเด่น ๆ ที่บสย. อีก ได้แก่

1. วัฒนธรรมแบบ Agile​


ใช้จุดเด่นในแบบสตาร์ตอัป คือการทำงานแบบรวดเร็วลดลำดับขั้นตอน เช่น เปิดรับพนักงานในตำแหน่ง Specialist ที่ไม่จำเป็นต้องเข้ามาไต่ลำดับขั้นใหม่แบบราชการ นอกจากนี้ยังมีทีม Agile ที่รายงานตรงกับ CEO ทันที ไอเดียของคนรุ่นใหม่จึงถูกนำมาใช้งานเป็นรูปธรรมเต็มที่ไม่ต้องผ่านขั้นบันไดสูงชัน

2. การทำงานแบบยืดหยุ่น​


บสย. เป็น Hybrid Workplace ที่เปิดให้หัวหน้างานตกลงกับสมาชิกในทีมได้เองว่าจะเข้าออฟฟิศสัปดาห์ละกี่วัน สามารถ Work from Anywhere ได้โดยยังเข้าถึงระบบของบสย.ได้สะดวก และมีการสนับสนุนอุปกรณ์การทำงานที่พกพาง่าย จะนั่งทำงานที่ร้านกาแฟก็ได้ เพราะเชื่อว่าแต่ละคนก็มีรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับตัวเองต่างกัน

3. ความหลากหลายในที่ทำงาน​


บสย. คนในองค์กรเป็น 3 รุ่น คือ Analog (คนประสบการณ์สูง), Computer (คนยุคเปลี่ยนผ่าน) และ Digital (คนรุ่นใหม่) ซึ่งจุดสำคัญคือการทำงานกันแบบมี Connectivity มีการเชื่อมโยงกันและกัน เปิดรับความคิดเห็นจากคนที่หลากหลายเพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นในองค์กรอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจได้ว่าการทำงานที่บสย. จะเป็นพื้นที่เปิดให้กับคนรุ่นใหม่

ดูไฟล์แนบ 0afb2b16aae28e825d9bf01a01db22cf.jpg

นอกจากนี้ คุณสิทธิกรยังเล่าว่า แม้ทางบสย. จะหยิบเอาวัฒนธรรมการทำงานที่โดดเด่นของสตาร์ตอัปมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Agile การทำงานแบบยืดหยุ่น และเปิดรับความหลากหลาย แต่ก็ยังคงจุดเด่นของรัฐวิสาหกิจบางอย่างเอาไว้ เช่น สวัสดิการ ที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลของบิดามารดาหรือคู่สมรสและบุตร พูดง่าย ๆ คือทำงานกันแบบสตาร์ตอัปแต่มีสวัสดิการแบบรัฐวิสาหกิจ

เสียงจากคนรุ่นใหม่ที่บสย.​


ถ้าพูดถึงบรรยากาศการทำงานข้างในบสย. คงจะไม่มีใครที่เล่าให้ฟังได้ดีไปกว่าคนที่ทำงานข้างใน โดยนอกจากเรื่องราวของคุณสิทธิกรแล้ว Blognone ยังได้ไปสัมภาษณ์พนักงานอีก 2 ท่าน ลองมาฟังกันเลยว่าบรรยากาศการทำงานในบสย. และจะมีอะไรโดนใจบ้าง

คนแรกคือ คุณออม ชนิกา กนกธีระพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ก่อนหน้านี้เคยทำงานในบริษัทเอกชน ย้ายมาทำงานที่บสย. เพื่อความแปลกใหม่ในชีวิตทั้งในการทำงานในรัฐวิสาหกิจและการทำงานในสถาบันการเงินที่ไม่เคยทำมาก่อน

No Description
คุณออม ชนิกา กนกธีระพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายบัญชี

คุณออมเล่าให้ฟังว่า จุดเด่นของออฟฟิศบสย. คือความเปิดกว้าง โดยขยายความเพิ่มเติมว่า เดิมทีตัวเองไม่เคยมีประสบการณ์ในสถาบันการเงินมาก่อน แต่หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานก็พร้อมช่วยเหลือเต็มที่ นอกจากนี้ ยังเปิดให้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เพราะที่ทำงานพร้อมจะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่คนทำงานหลากหลายภูมิหลังนำเข้ามาเติมเต็มองค์กร

คนต่อมาคือ คุณเป้ ภูริญ รังษีภโนดร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ก่อนหน้านี้เคยมีประสบการณ์ในสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของรัฐก่อนจะขยับมาทำงานที่บสย. ซึ่งมีไซส์องค์กรกระชับขึ้น

คุณเป้อธิบายถึงความประทับใจในการทำงานที่ว่ามีโอกาสในการเติบโตดีเพราะวางโครงสร้างองค์กรแบบแนวราบที่แต่ละคนมีโอกาสได้ดูแลโปรเจ็กต์เป็นของตัวเอง อีกทั้งยังได้ทำงานในหลากหลาย Job Function จึงทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

ดูไฟล์แนบ 61dc3e3b85641d4b0b82e65f505ed4a4.jpgคุณเป้ ภูริญ รังษีภโนดร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

คุณเป้เล่าต่อว่า บสย. ให้สวัสดิการค่อนข้างดี เช่นการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมถึงบิดามารดา จึงเปิดโอกาสให้ทำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพะวงข้างหลัง

นอกจากนี้ แม้บสย. จะมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่คุณเป้ตั้งข้อสังเกตว่า บสย. พยายามทำตัวเองให้ lean ตลอดเวลา คือแม้จะเป็นองค์กรไซส์ 300 - 400 คน แต่ก็พยายามตัดลำดับขั้นตอนที่ยุ่งยากออกไปอยู่เสมอ แม้จะมีบางส่วนที่อาจต้องคงไว้ เช่น กฎระเบียบ แต่ในส่วนที่ปรับได้ก็มีการเปลี่ยนไปเยอะแล้วเช่นกัน

สรุป​


บสย. มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็น Financial Digital Gateway ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์เต็มรูปแบบ ด้วยทิศทางดังกล่าว บสย. จึงกำลังมองหาเพื่อนร่วมงานเพิ่มเติมเพื่อเข้ามาสร้างสรรค์ให้แพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วทันสมัยมากขึ้น เพื่อทำให้ภารกิจที่ต้องการเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนลงเป็นไปได้มากขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์ท้าทายในสังคม

คุณสิทธิกรทิ้งท้ายว่า หากคุณเป็นคนที่มีไฟอยากทำงานที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำนวัตกรรมเข้ามาแก้ไขปัญหา มีความมั่นใจในตัวเองแต่ก็เปิดกว้างรับฟังผู้อื่น ล้มแล้วลุกเร็ว กล้าลงมือทำเมื่อมีความคิดใหม่ ๆ บสย. ก็จะเป็นองค์กรที่ใช่ของคุณ

ดูไฟล์แนบ a094d7e93fe23ae15715e193b9a19934.jpg

และสำหรับคนสาย IT ที่กำลังมองหางานในแวดวงการเงินที่มีบรรยากาศการทำงานกระชับฉับไว มีสวัสดิการโดนใจ แถมยังได้ทำงานที่เติมเต็มจุดมุ่งหมายทางสังคม บสย. ก็เป็นทางเลือกที่ห้ามพลาดที่มาพร้อมโอกาสเติบโตที่ดีและสวัสดีการที่มั่นคง

สำหรับใครที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดและกดสมัครงานที่สนใจได้ที่ Blognone Jobs, LINE Official Account: @tcgfirst, Facebook: tcg.or.th และ Website ของ บสย.

Topics:
Blognone Workplace

อ่านต่อ...
 

ไฟล์แนบ


กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม ด้านล่าง