เว็บไซต์ Windows Central รายงานข่าววงในของ Windows รุ่นปีหน้า 2024 ที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเรียก Windows 12 หรือไม่ เพราะฝ่ายการตลาดของไมโครซอฟท์ยังไม่ตัดสินใจเรื่องนี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Windows ปี 2024 เกิดจากปัจจัยผู้บริหาร Panos Panay ที่ดูแลทีม Windows ลาออก โดยแนวทางที่ Panos วางเตรียมเอาไว้คือ กลับมาออกตัวแกนหลักของระบบปฏิบัติการ (platform) ทุกสามปี แล้วออกอัพเดตฟีเจอร์ย่อยให้บ่อยๆ ปีละ 2-3 ครั้ง (ภาษาภายในไมโครซอฟท์เรียก Moment updates) ดังที่เราเห็นใน Windows 11 ช่วงหลัง
แต่หลัง Panos ลงจากตำแหน่ง นโยบายนี้กำลังเปลี่ยนมาเป็นการออกอัพเดตใหญ่ระบบปฏิบัติการปีละครั้ง (เหมือนยุค Windows 10 ช่วงหนึ่ง) โดยอาจมีอัพเดตย่อย Moment update บ้างแต่ไม่สำคัญนัก
ภาพ Copilot ของ Windows 11
แผนการของไมโครซอฟท์มีตัวแกนระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่ชื่อ Germanium และชุดฟีเจอร์ที่พัฒนาแยกจากตัวแกนระบบ ใช้ชื่อว่า Hudson Valley ซึ่งแนวทางนี้ใช้มาสักพักแล้ว (รอบก่อนหน้านี้ชื่อ Cobalt กับ Sun Valley ในปี 2021 ที่กลายร่างมาเป็น Windows 11)
ตามข่าวบอกว่ารอบนี้ Germanium กับ Hudson Valley จะอัพเดตแยกจากกัน เพราะทำเสร็จไม่พร้อมกัน
รอบนี้คาดกันว่าไมโครซอฟท์จะออกอัพเดต Germanium ให้พีซีใหม่บางส่วนก่อน โดยเฉพาะพีซีที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite ตัวใหม่ของ Qualcomm ซึ่งไม่สามารถใช้งานกับแกนตัวเดิมของ Windows 11 ได้ จากนั้นไมโครซอฟท์จะปล่อยอัพเดต Hudson Valley ให้กับพีซีที่ใช้ Germanium ในภายหลัง พร้อมกับผู้ใช้พีซีเดิมที่ได้อัพเดต Hudson Valley รอบใหญ่ทีเดียวเลย
ส่วนฟีเจอร์ใหม่ของ Hudson Valley จะเน้นเรื่อง AI โดยเรียกกันว่า "advanced Copilot" คือเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ (shell) ของระบบปฏิบัติการที่นำพลัง AI มาใช้หลายส่วน
ฟีเจอร์ใหม่อื่นๆ ที่มีในข่าว
Windows Central ชี้ว่าในเรื่องชื่อแบรนด์ยังไม่ชัดเจนว่าไมโครซอฟท์จะเอาอย่างไร เพราะตอนนี้ไมโครซอฟท์มีฐานผู้ใช้ Windows ทั้งหมด 1.4 พันล้านเครื่อง แบ่งเป็น Windows 10 ราว 1 พันล้านเครื่อง และ Windows 11 อีก 400 ล้านเครื่อง ยังมีปัญหาเรื่องพีซีเก่าอัพเกรดเป็น Windows 11 ไม่ได้อยู่อีกมาก หากจะออก Windows 12 มาอีกจะยิ่งทำให้กลุ่มฐานผู้ใช้แตกกระจาย จึงเป็นอีกปัจจัยที่ไมโครซอฟท์อาจยังไม่กล้าปรับตัวเลขเวอร์ชันในระยะอันใกล้นี้ แต่สุดท้ายผู้มีอำนาจตัดสินใจคือฝ่ายการตลาด ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้เคาะกัน
ที่มา - Windows Central
Topics:
Windows
Microsoft
Operating System
Rumors
อ่านต่อ...
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Windows ปี 2024 เกิดจากปัจจัยผู้บริหาร Panos Panay ที่ดูแลทีม Windows ลาออก โดยแนวทางที่ Panos วางเตรียมเอาไว้คือ กลับมาออกตัวแกนหลักของระบบปฏิบัติการ (platform) ทุกสามปี แล้วออกอัพเดตฟีเจอร์ย่อยให้บ่อยๆ ปีละ 2-3 ครั้ง (ภาษาภายในไมโครซอฟท์เรียก Moment updates) ดังที่เราเห็นใน Windows 11 ช่วงหลัง
แต่หลัง Panos ลงจากตำแหน่ง นโยบายนี้กำลังเปลี่ยนมาเป็นการออกอัพเดตใหญ่ระบบปฏิบัติการปีละครั้ง (เหมือนยุค Windows 10 ช่วงหนึ่ง) โดยอาจมีอัพเดตย่อย Moment update บ้างแต่ไม่สำคัญนัก
ภาพ Copilot ของ Windows 11
แผนการของไมโครซอฟท์มีตัวแกนระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่ชื่อ Germanium และชุดฟีเจอร์ที่พัฒนาแยกจากตัวแกนระบบ ใช้ชื่อว่า Hudson Valley ซึ่งแนวทางนี้ใช้มาสักพักแล้ว (รอบก่อนหน้านี้ชื่อ Cobalt กับ Sun Valley ในปี 2021 ที่กลายร่างมาเป็น Windows 11)
ตามข่าวบอกว่ารอบนี้ Germanium กับ Hudson Valley จะอัพเดตแยกจากกัน เพราะทำเสร็จไม่พร้อมกัน
- Germanium จะพัฒนาเสร็จในเดือนเมษายน 2024
- Hudson Valley จะพัฒนาเสร็จในเดือนสิงหาคม 2024 จะปล่อยอัพเดตในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม
รอบนี้คาดกันว่าไมโครซอฟท์จะออกอัพเดต Germanium ให้พีซีใหม่บางส่วนก่อน โดยเฉพาะพีซีที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite ตัวใหม่ของ Qualcomm ซึ่งไม่สามารถใช้งานกับแกนตัวเดิมของ Windows 11 ได้ จากนั้นไมโครซอฟท์จะปล่อยอัพเดต Hudson Valley ให้กับพีซีที่ใช้ Germanium ในภายหลัง พร้อมกับผู้ใช้พีซีเดิมที่ได้อัพเดต Hudson Valley รอบใหญ่ทีเดียวเลย
ส่วนฟีเจอร์ใหม่ของ Hudson Valley จะเน้นเรื่อง AI โดยเรียกกันว่า "advanced Copilot" คือเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ (shell) ของระบบปฏิบัติการที่นำพลัง AI มาใช้หลายส่วน
- ฟีเจอร์ history/timeline ที่ใช้ Copilot ช่วยจดจำงานที่เราทำไปก่อนหน้านี้ เราสามารถค้นหางานที่เคยเปิดทำเอาไว้ แล้ว Copilot จะหาทุกสิ่งที่อยู่บนหน้าจอที่มีคำนี้ให้
- ใช้ AI ปรับปรุงระบบค้นหาของ Windows ด้วยภาษาธรรมชาติ เช่น จำชื่อไฟล์งานไม่ได้ แต่จำได้ว่าใครส่งให้ พิมพ์คำสั่ง “find me the document that Bob sent me on WhatsApp a few days ago” หาไฟล์นั้นได้
- Super Resolution ใช้พลังของชิป NPU ในพีซีใหม่ๆ ช่วยอัพสเกลภาพวิดีโอและเกม
- ทำ Live Captions จากเสียงหรือวิดีโอที่กำลังเล่น พร้อมแปลเป็นภาษาอื่นได้
- ใช้ AI ช่วยปรับเอฟเฟคต์ parallax ของภาพพื้นหลัง หากขยับเคอร์เซอร์หรือเอียงเครื่องโน้ตบุ๊ก (ที่มีไจโรสโคป)
ฟีเจอร์ใหม่อื่นๆ ที่มีในข่าว
- Start Menu และ File Explorer จะมีพื้นที่ Creator สำหรับสร้างเนื้อหาจากบริการต่างๆ ในเครือไมโครซอฟท์ เช่น Microsoft 365, Word, PowerPoint, Microsoft Designer
- ปรับปรุงเรื่องการประหยัดพลังงานให้ดีกว่าเดิม ฮาร์ดแวร์บางรุ่นอาจแบตอึดขึ้น 50%
Windows Central ชี้ว่าในเรื่องชื่อแบรนด์ยังไม่ชัดเจนว่าไมโครซอฟท์จะเอาอย่างไร เพราะตอนนี้ไมโครซอฟท์มีฐานผู้ใช้ Windows ทั้งหมด 1.4 พันล้านเครื่อง แบ่งเป็น Windows 10 ราว 1 พันล้านเครื่อง และ Windows 11 อีก 400 ล้านเครื่อง ยังมีปัญหาเรื่องพีซีเก่าอัพเกรดเป็น Windows 11 ไม่ได้อยู่อีกมาก หากจะออก Windows 12 มาอีกจะยิ่งทำให้กลุ่มฐานผู้ใช้แตกกระจาย จึงเป็นอีกปัจจัยที่ไมโครซอฟท์อาจยังไม่กล้าปรับตัวเลขเวอร์ชันในระยะอันใกล้นี้ แต่สุดท้ายผู้มีอำนาจตัดสินใจคือฝ่ายการตลาด ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้เคาะกัน
ที่มา - Windows Central
Topics:
Windows
Microsoft
Operating System
Rumors
อ่านต่อ...