สมรภูมิการเลือกตั้งในโซเชียลมีความเข้มข้นมาตั้งการเลือกตั้งปี 62 จนมาถึงการเลือกตั้งปี 66 ที่ต้องยอมรับว่าช่องทางโซเชียลถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียงของทุกพรรค แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกใช้เป็นพื้นที่โจมตีคู่แข่งด้วยเช่นกัน ซึ่งการโจมตีทางโซเชียลเหล่านี้ถูกพัฒนาและวางแผนให้ซับซ้อนมากขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
Digital Election Analytic Lab (DEAL) ได้ติดตามพฤติกรรมการโซเชียลมีเดียในการโจมตีพรรคอื่นหรือผู้ที่ลงสมัคร โดยออกมาเป็นรายงานการวิเคราะห์พฤติกรรมการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปในโซเชียลมีเดียไทย (ระหว่างวันที่ 1-17 เมษายน 2566) มีการสำรวจบัญชีทางการพรรคการเมือง, บัญชีของผู้ลงสมัครเลือกตั้ง รวมไปพื้นที่ในการสนทนาเรื่องการเมืองอย่าง Twitter โดยทางทีมงานได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมบางบัญชีที่น่าสงสัย
จากการสำรวจพฤติกรรมเครือข่ายพรรคการเมือง 3 พรรคโดยไม่ระบุชื่อจริงของพรรค พบว่า กลุ่มบัญชีที่เกี่ยวข้องกับพรรค A และ พรรค C มักจะมีการโต้ตอบกันอย่างคึกคัก แต่พรรค B จะโต้ตอบกันเองภายในกลุ่มเท่านั้น และแยกตัวออกจากบัญชีของพรรค A และ C ตามรูปตัวอย่าง
ซึ่งจำนวนบัญชีใน Twitter ของพรรค A มีเยอะมากที่สุด รองลงมาคือ พรรค C และ พรรค B สามารถตีความได้หลายทิศทางว่า เช่น หากผู้ใช้ Twitter ส่วนใหญ่เป็นคนไทยอายุประมาณ 20-35 ปี อาจแสดงว่าฐานเสียงของพรรค A คือ ประชากรกลุ่มนี้ ซึ่งใช้ Twitter เพื่อสื่อสารกับพรรค
พรรค A : บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค A มีพฤติกรรมที่ผิดจากการใช้งานทั่วไปของ Twitter คือ มีลักษณะเป็นบัญชีทีไม่พักผ่อนโดยมีการโพสต์, รีโพสต์และตอบกลับตลอดเวลา บางบัญชีโพสต์แบบไม่มีช่วงพักตลอด 24 ชั่วโมง มากกวา 300 โพสต์ เฉลี่ย 5 โพสต์ใน 1 นาที ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเป็นบัญชีปกติต้องมีการนอนหรือพักบ้าง
นอกจากนี้บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค A มักตอบข้อความที่มาจากบัญชีทางการของพรรค A โดยเป็นข้อความให้กำลังใจสนับสนุน แต่มีการใช้อิโมจิอย่างเดียว ซึ่งอาจจะตั้งข้อสงสัยได้ว่าเป็นไปเพื่อต้องการเพิ่มยอดการมองเห็น
พรรค B : มีเครือข่ายใน Twitter ที่น้อยกว่าอีก 2 พรรค และผู้ใช้ค่อนข้างกระจายตัวอาจเป็นไปได้ว่า ฐานเสียงของพรรค B ไม่ได้อยู่ใน Twitter โดยพฤติกรรมของบัญชีในช่วงการหาเสียงค่อนข้างมีความเฉื่อยช้า ซึ่งต่างจากพฤติกรรมปกติของคนใช้ Twitter รุ่นใหม่ที่ชอบการโต้ตอบไปมา
ทำให้ตั้งข้อสงสัยว่าบัญชีเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่จะพยายามจุดกระแสในบางประเด็นเพื่อให้ฐานเสียงใน Twitter ขยายประเด็นไปยังพื้นที่โซเชียลมีเดียอื่น เช่น Facebook, Line หรือ Tiktok ที่มีผู้สนับสนุนพรรค B นิยมใช้มากกว่า
บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค B มีพฤติกรรมที่ผิดปกติจากบัญชีผู้ใช้ทั่วไป เช่น บางบัญชีไม่โพสต์อะไรเลยตลอดทั้งวัน บางครั้งก็โพสต์ถี่ๆ แบบไม่มีช่วงพักตลอด 24 ชั่วโมง บางบัญชีโพสต์มากกว่า 300 โพสต์ โดยพบว่ามีบัญชีที่พักเพียง 23 วินาที โดยเนื้อหาของโพสต์จำนวนมากมักโจมตีพรรค A และ C และถูกส่งไปยังกลุ่มของคนที่สนับสนุนพรรค B หรือก็โพสต์อวยพรรค B ด้วยกันเอง
จากการสังเกต 3 พรรค พบว่า พรรค A มีผู้สนับสนุนจำนวนมาก โดยพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้คือ เน้นรีทวิต, ไลค์, ตอบกลับ ซึ่งก็ดูเหมือนกับพฤติกรรมปกติของคนใช้ Twitter ทั่วไป แต่บัญชีของบุคคลทั่วไปจะมีรูปแบบพฤติกรรมที่หลากหลายกว่านั้น เช่น มีการโพสต์เนื้อหา, รีทวิต และตอบกลับข้อความคนอื่น แต่บัญชีผู้สนับสนุนของพรรค A หลายบัญชีมีพฤติกรรม “เชิงเดี่ยว” มากกว่ามีพลวัต จึงต่างกับพฤติกรรมของผู้สนับสนุนพรรค B และ พรรค C
ที่มา: wewatchthailand
Social Media
Twitter
อ่านต่อ...
Digital Election Analytic Lab (DEAL) ได้ติดตามพฤติกรรมการโซเชียลมีเดียในการโจมตีพรรคอื่นหรือผู้ที่ลงสมัคร โดยออกมาเป็นรายงานการวิเคราะห์พฤติกรรมการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปในโซเชียลมีเดียไทย (ระหว่างวันที่ 1-17 เมษายน 2566) มีการสำรวจบัญชีทางการพรรคการเมือง, บัญชีของผู้ลงสมัครเลือกตั้ง รวมไปพื้นที่ในการสนทนาเรื่องการเมืองอย่าง Twitter โดยทางทีมงานได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมบางบัญชีที่น่าสงสัย
จากการสำรวจพฤติกรรมเครือข่ายพรรคการเมือง 3 พรรคโดยไม่ระบุชื่อจริงของพรรค พบว่า กลุ่มบัญชีที่เกี่ยวข้องกับพรรค A และ พรรค C มักจะมีการโต้ตอบกันอย่างคึกคัก แต่พรรค B จะโต้ตอบกันเองภายในกลุ่มเท่านั้น และแยกตัวออกจากบัญชีของพรรค A และ C ตามรูปตัวอย่าง
ซึ่งจำนวนบัญชีใน Twitter ของพรรค A มีเยอะมากที่สุด รองลงมาคือ พรรค C และ พรรค B สามารถตีความได้หลายทิศทางว่า เช่น หากผู้ใช้ Twitter ส่วนใหญ่เป็นคนไทยอายุประมาณ 20-35 ปี อาจแสดงว่าฐานเสียงของพรรค A คือ ประชากรกลุ่มนี้ ซึ่งใช้ Twitter เพื่อสื่อสารกับพรรค
พรรค A : บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค A มีพฤติกรรมที่ผิดจากการใช้งานทั่วไปของ Twitter คือ มีลักษณะเป็นบัญชีทีไม่พักผ่อนโดยมีการโพสต์, รีโพสต์และตอบกลับตลอดเวลา บางบัญชีโพสต์แบบไม่มีช่วงพักตลอด 24 ชั่วโมง มากกวา 300 โพสต์ เฉลี่ย 5 โพสต์ใน 1 นาที ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเป็นบัญชีปกติต้องมีการนอนหรือพักบ้าง
นอกจากนี้บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค A มักตอบข้อความที่มาจากบัญชีทางการของพรรค A โดยเป็นข้อความให้กำลังใจสนับสนุน แต่มีการใช้อิโมจิอย่างเดียว ซึ่งอาจจะตั้งข้อสงสัยได้ว่าเป็นไปเพื่อต้องการเพิ่มยอดการมองเห็น
พรรค B : มีเครือข่ายใน Twitter ที่น้อยกว่าอีก 2 พรรค และผู้ใช้ค่อนข้างกระจายตัวอาจเป็นไปได้ว่า ฐานเสียงของพรรค B ไม่ได้อยู่ใน Twitter โดยพฤติกรรมของบัญชีในช่วงการหาเสียงค่อนข้างมีความเฉื่อยช้า ซึ่งต่างจากพฤติกรรมปกติของคนใช้ Twitter รุ่นใหม่ที่ชอบการโต้ตอบไปมา
ทำให้ตั้งข้อสงสัยว่าบัญชีเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่จะพยายามจุดกระแสในบางประเด็นเพื่อให้ฐานเสียงใน Twitter ขยายประเด็นไปยังพื้นที่โซเชียลมีเดียอื่น เช่น Facebook, Line หรือ Tiktok ที่มีผู้สนับสนุนพรรค B นิยมใช้มากกว่า
บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค B มีพฤติกรรมที่ผิดปกติจากบัญชีผู้ใช้ทั่วไป เช่น บางบัญชีไม่โพสต์อะไรเลยตลอดทั้งวัน บางครั้งก็โพสต์ถี่ๆ แบบไม่มีช่วงพักตลอด 24 ชั่วโมง บางบัญชีโพสต์มากกว่า 300 โพสต์ โดยพบว่ามีบัญชีที่พักเพียง 23 วินาที โดยเนื้อหาของโพสต์จำนวนมากมักโจมตีพรรค A และ C และถูกส่งไปยังกลุ่มของคนที่สนับสนุนพรรค B หรือก็โพสต์อวยพรรค B ด้วยกันเอง
จากการสังเกต 3 พรรค พบว่า พรรค A มีผู้สนับสนุนจำนวนมาก โดยพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้คือ เน้นรีทวิต, ไลค์, ตอบกลับ ซึ่งก็ดูเหมือนกับพฤติกรรมปกติของคนใช้ Twitter ทั่วไป แต่บัญชีของบุคคลทั่วไปจะมีรูปแบบพฤติกรรมที่หลากหลายกว่านั้น เช่น มีการโพสต์เนื้อหา, รีทวิต และตอบกลับข้อความคนอื่น แต่บัญชีผู้สนับสนุนของพรรค A หลายบัญชีมีพฤติกรรม “เชิงเดี่ยว” มากกว่ามีพลวัต จึงต่างกับพฤติกรรมของผู้สนับสนุนพรรค B และ พรรค C
ที่มา: wewatchthailand
Topics:เลือกตั้งมีการปั่นเกิดขึ้นไหม? กลุ่ม Digital Election Analytic Lab ออกรายงานชิ้นแรก วิเคราะห์พฤติกรรม 3 พรรคการเมืองหลักในทวิตเตอร์และข้อสังเกตต่อบัญชีต้องสงสัยเป็นประโยชน์สำหรับคนสนใจ Digital Politics มาก อ่านตัวเต็ม 3 หน้าได้ทางนี้ค่ะ https://t.co/ERlVvcAGob pic.twitter.com/tB7Sv0Rfxt
— Wasinee P. (@WPabuprapap) May 11, 2023
Social Media
อ่านต่อ...