รัฐบาลไต้หวันเริ่มหามาตรการแก้ปัญหา หากโดนรัฐบาลจีน "ตัดเน็ต" ด้วยการตัดสายเคเบิลใต้น้ำ ซึ่งจะทำให้เกาะไต้หวันไม่สามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้
ปัญหานี้ไม่ได้เป็นแค่การคาดการณ์ เพราะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 เกิดเหตุว่าหมู่เกาะ Matsu ในปกครองของไต้หวัน (แต่อยู่เกือบติดชายฝั่งจีน) โดนเรือสัญชาติจีนทำเคเบิลใต้น้ำขาด 2 เส้น (พิสูจน์ไม่ได้ว่าอุบัติเหตุหรือตั้งใจ) ทำให้การสื่อสารได้รับผลกระทบ ที่ร้ายไปกว่านั้นคือเรือซ่อมเคเบิลใต้น้ำไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เป็นเวลานาน 2 เดือน กว่าจะซ่อมเสร็จต้องรอถึงเดือนเมษายน
เหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลไต้หวันตื่นตัวอย่างมากเพื่อหาแนวทางแก้ไขในระยะยาว โดย Audrey Tang รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของไต้หวัน ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดคือ "ศัตรู" โจมตีโครงข่ายโทรคมนาคมในประเทศ เพราะรู้หมดว่าเสาสัญญาณอยู่ตรงไหนบ้าง และยังยกกรณีว่าไต้หวันเคยเจอปัญหาสายเคเบิลใต้น้ำขาดเมื่อปี 2006 จากแผ่นดินไหว ซึ่งต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะซ่อมเสร็จ
ภาพจาก @audreyt
แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นช่องทางสำรอง แม้ว่ามีแบนด์วิดท์ไม่มากเมื่อเทียบกับสายเคเบิลใต้น้ำ (0.01% ของแบนด์วิดท์) แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย ซึ่งรัฐบาลไต้หวันพูดคุยกับผู้ให้บริการดาวเทียมหลายราย เช่น SES Global, OneWeb, Project Kuiper ของ Amazon เพื่อกระจายความเสี่ยง ส่วน Starlink ของ SpaceX กลับมีความเสี่ยงว่า Elon Musk ลงทุนในจีนเป็นเงินมหาศาล และเคยให้สัมภาษณ์ว่าไต้หวันควรยอมเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ทำให้คนไต้หวันไม่ไว้วางใจ
ส่วนเรื่องสายเคเบิลใต้น้ำ ไต้หวันยังพยายามสร้างสายเคเบิลใหม่ๆ เพิ่มเพื่อสำรองช่องทางให้มากที่สุด พัฒนาระบบความปลอดภัยของสายเคเบิลร่วมกับชาติพันธมิตรต่างๆ เช่น G7 และ Quad
นอกจากนี้ ไต้หวันยังพยายามคุยกับภาคเอกชนให้ระบบสื่อสารออนไลน์ต่างๆ สามารถใช้งานกันเองในประเทศได้ แม้โดนตัดทราฟฟิกออกสู่โลกภายนอก เพื่อให้รัฐบาลไต้หวันยังสามารถสื่อสารกับประชาชนของตัวเองได้ ตัวอย่างคือ Google Meet ตอนนี้ใช้ routing เฉพาะในประเทศแล้ว ในขณะที่ Zoom ยังต้องวิ่งออกนอกประเทศก่อนมาสร้างการเชื่อมต่อในประเทศ
ที่มา - Nikkei Asia, Bloomberg
Topics:
Taiwan
Telecom
China
Submarine cable
อ่านต่อ...
ปัญหานี้ไม่ได้เป็นแค่การคาดการณ์ เพราะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 เกิดเหตุว่าหมู่เกาะ Matsu ในปกครองของไต้หวัน (แต่อยู่เกือบติดชายฝั่งจีน) โดนเรือสัญชาติจีนทำเคเบิลใต้น้ำขาด 2 เส้น (พิสูจน์ไม่ได้ว่าอุบัติเหตุหรือตั้งใจ) ทำให้การสื่อสารได้รับผลกระทบ ที่ร้ายไปกว่านั้นคือเรือซ่อมเคเบิลใต้น้ำไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เป็นเวลานาน 2 เดือน กว่าจะซ่อมเสร็จต้องรอถึงเดือนเมษายน
เหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลไต้หวันตื่นตัวอย่างมากเพื่อหาแนวทางแก้ไขในระยะยาว โดย Audrey Tang รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของไต้หวัน ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดคือ "ศัตรู" โจมตีโครงข่ายโทรคมนาคมในประเทศ เพราะรู้หมดว่าเสาสัญญาณอยู่ตรงไหนบ้าง และยังยกกรณีว่าไต้หวันเคยเจอปัญหาสายเคเบิลใต้น้ำขาดเมื่อปี 2006 จากแผ่นดินไหว ซึ่งต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะซ่อมเสร็จ
ภาพจาก @audreyt
แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นช่องทางสำรอง แม้ว่ามีแบนด์วิดท์ไม่มากเมื่อเทียบกับสายเคเบิลใต้น้ำ (0.01% ของแบนด์วิดท์) แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย ซึ่งรัฐบาลไต้หวันพูดคุยกับผู้ให้บริการดาวเทียมหลายราย เช่น SES Global, OneWeb, Project Kuiper ของ Amazon เพื่อกระจายความเสี่ยง ส่วน Starlink ของ SpaceX กลับมีความเสี่ยงว่า Elon Musk ลงทุนในจีนเป็นเงินมหาศาล และเคยให้สัมภาษณ์ว่าไต้หวันควรยอมเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ทำให้คนไต้หวันไม่ไว้วางใจ
ส่วนเรื่องสายเคเบิลใต้น้ำ ไต้หวันยังพยายามสร้างสายเคเบิลใหม่ๆ เพิ่มเพื่อสำรองช่องทางให้มากที่สุด พัฒนาระบบความปลอดภัยของสายเคเบิลร่วมกับชาติพันธมิตรต่างๆ เช่น G7 และ Quad
นอกจากนี้ ไต้หวันยังพยายามคุยกับภาคเอกชนให้ระบบสื่อสารออนไลน์ต่างๆ สามารถใช้งานกันเองในประเทศได้ แม้โดนตัดทราฟฟิกออกสู่โลกภายนอก เพื่อให้รัฐบาลไต้หวันยังสามารถสื่อสารกับประชาชนของตัวเองได้ ตัวอย่างคือ Google Meet ตอนนี้ใช้ routing เฉพาะในประเทศแล้ว ในขณะที่ Zoom ยังต้องวิ่งออกนอกประเทศก่อนมาสร้างการเชื่อมต่อในประเทศ
ที่มา - Nikkei Asia, Bloomberg
Topics:
Taiwan
Telecom
China
Submarine cable
อ่านต่อ...