Association for Computing Machinery (ACM) สมาคมวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ชื่อดัง ประกาศมอบรางวัล Turing Award พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์ให้กับ Robert Metcalfe ผู้ร่วมสร้างอีเธอร์เน็ตในปี 1973 หรือ 50 ปีที่แล้ว และเป็นรากฐานข้อระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ยอดนิยมในทุกวันนี้ที่ยังคงใช้แนวคิดในการส่งข้อมูลคล้ายเดิม
Metcalfe ออกแบบอีเธอร์เน็ตเมื่อสมัยทำงานอยู่ Xerox Palo Alto Research Center (PARC) โดยครั้งแรกที่สาธิตการทำงานได้ระบบมีความเร็ว 2.94Mbps และยุคแรกออกแบบให้ใช้งานกับสาย Coaxial (หรือสายอากาศทีวี หากยังมีใครเห็นอยู่ตามบ้าน) แนวคิดหลักคือการออกแบบระบบให้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถสื่อสารบนสายเส้นเดียวกันได้ เรียกว่า อีเธอร์ แนวคิดนี้สามารถดัดแปลงไปใช้งานกับสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์หรือสายแลน (สายกลุ่ม twisted pair), สายไฟเบอร์, สายไฟแรงสูง, หรือแม้แต่คลื่นวิทยุ
เขาลาออกไปตั้งบริษัท 3Com ในปี 1979 และกลายเป็นผู้ผลิตการ์ดแลนบน IBM PC ทุกวันนี้เขาเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณอยู่ที่ MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL)
ที่มา - ACM, MIT CSAIL
แผนภาพการออกแบบอีเธอร์เน็ตจากรายงาน "Ethernet: Distributed Packet Switching for Local Computer Networks" ที่เขียนร่วมกับ David Boggs ที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว
Topics:
Person
ACM
Ethernet
อ่านต่อ...
Metcalfe ออกแบบอีเธอร์เน็ตเมื่อสมัยทำงานอยู่ Xerox Palo Alto Research Center (PARC) โดยครั้งแรกที่สาธิตการทำงานได้ระบบมีความเร็ว 2.94Mbps และยุคแรกออกแบบให้ใช้งานกับสาย Coaxial (หรือสายอากาศทีวี หากยังมีใครเห็นอยู่ตามบ้าน) แนวคิดหลักคือการออกแบบระบบให้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถสื่อสารบนสายเส้นเดียวกันได้ เรียกว่า อีเธอร์ แนวคิดนี้สามารถดัดแปลงไปใช้งานกับสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์หรือสายแลน (สายกลุ่ม twisted pair), สายไฟเบอร์, สายไฟแรงสูง, หรือแม้แต่คลื่นวิทยุ
เขาลาออกไปตั้งบริษัท 3Com ในปี 1979 และกลายเป็นผู้ผลิตการ์ดแลนบน IBM PC ทุกวันนี้เขาเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณอยู่ที่ MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL)
ที่มา - ACM, MIT CSAIL
แผนภาพการออกแบบอีเธอร์เน็ตจากรายงาน "Ethernet: Distributed Packet Switching for Local Computer Networks" ที่เขียนร่วมกับ David Boggs ที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว
Topics:
Person
ACM
Ethernet
อ่านต่อ...