กลุ่มบริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายราย นำโดยผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่ทั้ง AMD, Intel รวมถึงบริษัทอื่นๆ ได้แก่ Broadcom, Cisco, Google, HPE, Meta, Microsoft ประกาศตั้งกลุ่ม Ultra Accelerator Link (UALink) วางมาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างจีพียูกับจีพียูในศูนย์ข้อมูล
ถ้าหากชื่อมันคุ้นๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะ UALink ออกมาเพื่อปลดแอก NVLink ระบบการส่งข้อมูลระหว่างจีพียูของบริษัทแห่งหนึ่งที่ครองตลาดจีพียูศูนย์ข้อมูลอยู่แทบทั้งหมดนั่นเอง
ตอนนี้ยังไม่มีสเปกของ UALink ออกมา โดยทางกลุ่มพันธมิตรระบุว่าจะจดทะเบียนตั้งกลุ่ม UALink Consortium ในช่วงไตรมาส 3/2024 และออกสเปก UALink 1.0 ในช่วงไตรมาส 3 เช่นกัน โดยสเปกเวอร์ชันนี้จะรองรับการต่อจีพียูหรือตัวเร่งการประมวลผลอื่นๆ ได้รวม 1,024 ตัว
เว็บไซต์ HPCwire ให้ข้อมูลเรื่องวิธีการเชื่อมต่อจีพียู ว่าปัจจุบันมี 3 ระดับ ได้แก่
ที่มา - Businesswire, HPC Wire
Topics:
GPU
AMD
Intel
NVIDIA
Hardware
อ่านต่อ...
ถ้าหากชื่อมันคุ้นๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะ UALink ออกมาเพื่อปลดแอก NVLink ระบบการส่งข้อมูลระหว่างจีพียูของบริษัทแห่งหนึ่งที่ครองตลาดจีพียูศูนย์ข้อมูลอยู่แทบทั้งหมดนั่นเอง
ตอนนี้ยังไม่มีสเปกของ UALink ออกมา โดยทางกลุ่มพันธมิตรระบุว่าจะจดทะเบียนตั้งกลุ่ม UALink Consortium ในช่วงไตรมาส 3/2024 และออกสเปก UALink 1.0 ในช่วงไตรมาส 3 เช่นกัน โดยสเปกเวอร์ชันนี้จะรองรับการต่อจีพียูหรือตัวเร่งการประมวลผลอื่นๆ ได้รวม 1,024 ตัว
เว็บไซต์ HPCwire ให้ข้อมูลเรื่องวิธีการเชื่อมต่อจีพียู ว่าปัจจุบันมี 3 ระดับ ได้แก่
- ใช้ PCI Bus ที่เป็นมาตรฐานของเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป รองรับจีพียูได้ 4-8 ตัว โดย Intel เคยพยายามผลักดันมาตรฐาน CXL มาจับตลาดนี้ แต่ก็ยังไม่เกิดเพราะบริษัทจีพียูรายนั้นไม่สนใจเข้าร่วม
- การเชื่อมจีพียูข้ามเซิร์ฟเวอร์ ในตลาดนิยมใช้ Infiniband ซึ่งตอนนี้กลายเป็นเทคโนโลยีของบริษัทรายที่ว่านั้นเช่นกัน เมื่อปีที่แล้ว มีกลุ่ม Ultra Ethernet Consortium (UEC) พยายามขึ้นมาแข่ง ซึ่ง Intel เริ่มนำมาใช้แล้วกับตัวเร่งการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ Gaudi 2
- การเชื่อมระหว่างจีพียูกับจีพียู ก็คือ NVLink ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ คู่แข่งคือ AMD Infinity Fabric ซึ่งใช้ในตัวเร่ง MI300 AI ของตัวเอง แต่ยังไม่มี "กลุ่มมาตรฐาน" ที่รวมพันธมิตรหลายค่ายมาช่วยผนึกกำลัง จึงเป็นที่มาของกลุ่ม UALink ตามข่าวนี้
ที่มา - Businesswire, HPC Wire
Topics:
GPU
AMD
Intel
NVIDIA
Hardware
อ่านต่อ...