เมื่อพูดถึงระบบ DRM ในเกม ในความเห็นเกมเมอร์ส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่จำเป็น และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเล่นเกม
Steeve Huin ซีโอโอของบริษัท Irdeto เจ้าของเทคโนโลยี Denuvo ที่เกมเมอร์คุ้นชื่อกันดี ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Ars Technica พยายามชี้แจงข้อกล่าวหาเหล่านี้ โดยเขายืนยันว่า DRM เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมเกมที่ลงทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วยป้องกันการแคร็กได้จริง เปิดโอกาสให้บริษัทเจ้าของเกมสามารถทำเงินเพื่อคืนทุนค่าพัฒนาในช่วงแรกๆ ที่เกมวางขาย และส่งผลบวกต่อเกมเมอร์ที่จะได้เล่นเกมคุณภาพสูงต่อไปในระยะยาว
Huin เล่าว่าบริษัทเกมที่เป็นลูกค้า Denuvo มักซื้อไลเซนส์เพียงแค่ 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อคุ้มครองเกมในช่วงแรกๆ ที่วางขายเท่านั้น หลังจากนั้นจึงอัพเดตเกมเวอร์ชันที่ไม่มีระบบ DRM ตามมาในภายหลัง (ข่าวเก่าของ Resident Evil Village)
Ars Technica ยังรายงานว่าสถิติการป้องกันแคร็กของ Denuvo ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจากรายชื่อเกมในชุมชนแคร็กเกมบน Reddit พบว่ามีเกมประมาณครึ่งหนึ่งของรายชื่อ 127 เกมที่ถูกแคร็กได้ในปัจจุบัน ส่วนเกมที่ถูกแคร็กได้ก็มีระยะเวลาเฉลี่ยที่แคร็กได้ 175 วันหลังวางขาย หรือประมาณ 6 เดือน ซึ่งถือว่า Denuvo สามารถปกป้องการแคร็กได้ดีพอสมควร
ส่วนข้อวิจารณ์เรื่อง Denuvo ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเกม เช่น ทีมแคร็ก RE:Village บอกว่า DRM ทำเกมกระตุก หรือการนำเกมเวอร์ชันปลด DRM แล้วมาเทียบกับเกมแบบมี DRM ที่เห็นความต่างของเฟรมเรต ทางคุณ Huin บอกว่าการเปรียบเทียบส่วนใหญ่มักไม่แฟร์นัก เพราะเป็นการเทียบเกมคนละเวอร์ชันกัน เกมเวอร์ชันที่ปลด DRM แล้วมักเป็นแพตช์ที่แก้บั๊กหลายอย่างของเกมไปมากแล้ว ย่อมมีประสิทธิภาพดีกว่า
บริษัท Irdeto จึงมีแนวทางล้างภาพลักษณ์เรื่องนี้ โดยจะส่งเกมให้สื่อบางรายรีวิว แยกเป็น 2 เวอร์ชัน ให้เทียบกันเห็นๆ เลยว่าแบบมีและไม่มี DRM มีประสิทธิภาพต่างกันอย่างไร เราจะได้เห็นโครงการนี้เริ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทิศทางของ Denuvo ไม่ได้จำกัดตัวเองแค่การป้องกันแคร็กเกม (anti-tamper) เท่านั้น แต่ล่าสุดยังขยายไปยังการป้องกันโกง (anti-cheat) และป้องกันบ็อต (unbotify) ด้วย โดยใช้พื้นฐานเทคโนโลยีเดียวกัน แต่การป้องกันโกงจะทำตอนเกมกำลังรันอยู่ ส่วนป้องกันแคร็กทำตอนเกมโหลด ซึ่ง Huin บอกว่าเทคโนโลยีป้องกันโกงของ Denuvo ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพเกมไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ
ที่มา - Ars Technica
Topics:
Denuvo
DRM
Games
Anti-Cheat
อ่านต่อ...
Steeve Huin ซีโอโอของบริษัท Irdeto เจ้าของเทคโนโลยี Denuvo ที่เกมเมอร์คุ้นชื่อกันดี ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Ars Technica พยายามชี้แจงข้อกล่าวหาเหล่านี้ โดยเขายืนยันว่า DRM เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมเกมที่ลงทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วยป้องกันการแคร็กได้จริง เปิดโอกาสให้บริษัทเจ้าของเกมสามารถทำเงินเพื่อคืนทุนค่าพัฒนาในช่วงแรกๆ ที่เกมวางขาย และส่งผลบวกต่อเกมเมอร์ที่จะได้เล่นเกมคุณภาพสูงต่อไปในระยะยาว
Huin เล่าว่าบริษัทเกมที่เป็นลูกค้า Denuvo มักซื้อไลเซนส์เพียงแค่ 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อคุ้มครองเกมในช่วงแรกๆ ที่วางขายเท่านั้น หลังจากนั้นจึงอัพเดตเกมเวอร์ชันที่ไม่มีระบบ DRM ตามมาในภายหลัง (ข่าวเก่าของ Resident Evil Village)
Ars Technica ยังรายงานว่าสถิติการป้องกันแคร็กของ Denuvo ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจากรายชื่อเกมในชุมชนแคร็กเกมบน Reddit พบว่ามีเกมประมาณครึ่งหนึ่งของรายชื่อ 127 เกมที่ถูกแคร็กได้ในปัจจุบัน ส่วนเกมที่ถูกแคร็กได้ก็มีระยะเวลาเฉลี่ยที่แคร็กได้ 175 วันหลังวางขาย หรือประมาณ 6 เดือน ซึ่งถือว่า Denuvo สามารถปกป้องการแคร็กได้ดีพอสมควร
ส่วนข้อวิจารณ์เรื่อง Denuvo ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเกม เช่น ทีมแคร็ก RE:Village บอกว่า DRM ทำเกมกระตุก หรือการนำเกมเวอร์ชันปลด DRM แล้วมาเทียบกับเกมแบบมี DRM ที่เห็นความต่างของเฟรมเรต ทางคุณ Huin บอกว่าการเปรียบเทียบส่วนใหญ่มักไม่แฟร์นัก เพราะเป็นการเทียบเกมคนละเวอร์ชันกัน เกมเวอร์ชันที่ปลด DRM แล้วมักเป็นแพตช์ที่แก้บั๊กหลายอย่างของเกมไปมากแล้ว ย่อมมีประสิทธิภาพดีกว่า
บริษัท Irdeto จึงมีแนวทางล้างภาพลักษณ์เรื่องนี้ โดยจะส่งเกมให้สื่อบางรายรีวิว แยกเป็น 2 เวอร์ชัน ให้เทียบกันเห็นๆ เลยว่าแบบมีและไม่มี DRM มีประสิทธิภาพต่างกันอย่างไร เราจะได้เห็นโครงการนี้เริ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทิศทางของ Denuvo ไม่ได้จำกัดตัวเองแค่การป้องกันแคร็กเกม (anti-tamper) เท่านั้น แต่ล่าสุดยังขยายไปยังการป้องกันโกง (anti-cheat) และป้องกันบ็อต (unbotify) ด้วย โดยใช้พื้นฐานเทคโนโลยีเดียวกัน แต่การป้องกันโกงจะทำตอนเกมกำลังรันอยู่ ส่วนป้องกันแคร็กทำตอนเกมโหลด ซึ่ง Huin บอกว่าเทคโนโลยีป้องกันโกงของ Denuvo ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพเกมไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ
ที่มา - Ars Technica
Topics:
Denuvo
DRM
Games
Anti-Cheat
อ่านต่อ...