คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อนุมัติกรอบความร่วมมือว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (EU-U.S. Data Privacy Framework) เปิดทางให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว
คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐเท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
บริษัทที่ลงนามเข้าร่วมกรอบความร่วมมือนี้จะสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากยุโรปกลับไปยังสหรัฐได้อย่างปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการความปลอดภัยอื่นๆ มาครอบอีกที
อย่างไรก็ตาม กรอบความร่วมมือนี้มีโอกาสถูกอุทธรณ์จากกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านความเป็นส่วนตัว เพราะมองว่าปัญหาอยู่ที่กฎหมายด้านการสอดส่อง (surveillance law) ของสหรัฐ รวมถึงตั้งคำถามถึงท่าทีของ EU ซึ่งที่ผ่านมาต่อต้านแนวทางนี้มาตลอด อย่างกรณีปี 2020 ที่ศาลของ EU สั่งห้ามการส่งข้อมูลกลับสหรัฐ ก็เพราะกฎหมายฉบับดังกล่าว
ที่มา : Ars Technica, POLITICO
Topics:
European Commission
EU
USA
Laws
Europe
Privacy
อ่านต่อ...
คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐเท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
บริษัทที่ลงนามเข้าร่วมกรอบความร่วมมือนี้จะสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากยุโรปกลับไปยังสหรัฐได้อย่างปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการความปลอดภัยอื่นๆ มาครอบอีกที
อย่างไรก็ตาม กรอบความร่วมมือนี้มีโอกาสถูกอุทธรณ์จากกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านความเป็นส่วนตัว เพราะมองว่าปัญหาอยู่ที่กฎหมายด้านการสอดส่อง (surveillance law) ของสหรัฐ รวมถึงตั้งคำถามถึงท่าทีของ EU ซึ่งที่ผ่านมาต่อต้านแนวทางนี้มาตลอด อย่างกรณีปี 2020 ที่ศาลของ EU สั่งห้ามการส่งข้อมูลกลับสหรัฐ ก็เพราะกฎหมายฉบับดังกล่าว
ที่มา : Ars Technica, POLITICO
Topics:
European Commission
EU
USA
Laws
Europe
Privacy
อ่านต่อ...