คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศอนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ตรงตามข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้
คณะกรรมการบอกว่าหลังสอบสวนในเชิงลึกแล้ว พบว่าการซื้อกิจการครั้งนี้ไม่กระทบต่อการแข่งขันในตลาดเกมคอนโซล และบริการเล่นเกมแบบเหมาจ่าย (multi-game subscription services)
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมองว่าดีลนี้อาจกระทบตลาดคลาวด์เกมมิ่ง เช่น ไมโครซอฟท์อาจนำ Call of Duty เป็นเอ็กซ์คลูซีฟของ Game Pass Ultimate เพื่อกีดกันบริการคลาวด์เกมมิ่งรายอื่น หรือ ช่วยดันยอดขายของระบบปฏิบัติการ Windows ในตลาดพีซี ซึ่งมาตรการเยียวยาที่ไมโครซอฟท์นำเสนอคือ อนุญาตให้บริการคลาวด์เกมมิ่งรายอื่นเข้าถึงเกมของ Activision Blizzard ได้ (ปัจจุบัน Activision Blizzard ไม่ให้ไลเซนส์ใครเลย) ถือว่าแก้ข้อกังวลของคณะกรรมการแล้ว จึงอนุมัติให้ดีลนี้ผ่าน
การเคลียร์เรื่องดีลในยุโรป ทำให้ตอนนี้ไมโครซอฟท์เหลืออุปสรรคสำคัญคือ ไมโครซอฟท์ยังต้องเจออุปสรรคสำคัญคือ FTC ของสหรัฐอเมริกา ที่จะเริ่มสอบสวนในเดือนสิงหาคม และ CMA ของสหราชอาณาจักรที่บล็อคดีล ซึ่งไมโครซอฟท์อยู่ระหว่างการอุทธรณ์
ที่มา - European Commission
Topics:
European Commission
EU
Europe
Microsoft
Activision Blizzard
อ่านต่อ...
คณะกรรมการบอกว่าหลังสอบสวนในเชิงลึกแล้ว พบว่าการซื้อกิจการครั้งนี้ไม่กระทบต่อการแข่งขันในตลาดเกมคอนโซล และบริการเล่นเกมแบบเหมาจ่าย (multi-game subscription services)
- คณะกรรมการมองว่าไมโครซอฟท์ยังต้องทำเกม Call of Duty ลง PlayStation ต่อไปแน่ๆ เพราะยอดขายคอนโซลในยุโรปนั้น PlayStation ชนะ Xbox ด้วยสัดส่วนถึง 4:1 และถ้าหากไมโครซอฟท์ถอดเกม Call of Duty ออกจาก PlayStation จริงๆ ยอดขาย Call of Duty ในยุโรปก็น้อยกว่าในภูมิภาคอื่น จึงไม่กระทบต่อการแข่งขันมากนัก
- Activision ไม่มีทางทำบริการเกมเหมาจ่ายของตัวเอง เพราะจะไปกินตลาดการขายเกมแบบเดิม ดังนั้นต่อให้ไมโครซอฟท์ไม่ซื้อ Activision เราก็ไม่มีโอกาสเห็น Activision ทำบริการเกมเหมาจ่ายมาแข่งกับ Game Pass อยู่ดี
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมองว่าดีลนี้อาจกระทบตลาดคลาวด์เกมมิ่ง เช่น ไมโครซอฟท์อาจนำ Call of Duty เป็นเอ็กซ์คลูซีฟของ Game Pass Ultimate เพื่อกีดกันบริการคลาวด์เกมมิ่งรายอื่น หรือ ช่วยดันยอดขายของระบบปฏิบัติการ Windows ในตลาดพีซี ซึ่งมาตรการเยียวยาที่ไมโครซอฟท์นำเสนอคือ อนุญาตให้บริการคลาวด์เกมมิ่งรายอื่นเข้าถึงเกมของ Activision Blizzard ได้ (ปัจจุบัน Activision Blizzard ไม่ให้ไลเซนส์ใครเลย) ถือว่าแก้ข้อกังวลของคณะกรรมการแล้ว จึงอนุมัติให้ดีลนี้ผ่าน
การเคลียร์เรื่องดีลในยุโรป ทำให้ตอนนี้ไมโครซอฟท์เหลืออุปสรรคสำคัญคือ ไมโครซอฟท์ยังต้องเจออุปสรรคสำคัญคือ FTC ของสหรัฐอเมริกา ที่จะเริ่มสอบสวนในเดือนสิงหาคม และ CMA ของสหราชอาณาจักรที่บล็อคดีล ซึ่งไมโครซอฟท์อยู่ระหว่างการอุทธรณ์
ที่มา - European Commission
Topics:
European Commission
EU
Europe
Microsoft
Activision Blizzard
อ่านต่อ...