ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2023 ของ Ford เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซีอีโอ Jim Farley ได้ประกาศปรับยุทธศาสตร์การลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า EV ของบริษัทใหม่ ชะลอการลงทุนในโรงงานแบตเตอรี่ลง เพื่อรับมือกับตลาด EV ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Farley อธิบายว่าปัญหาซัพพลายเชนในช่วง COVID-19 ที่ทำให้ชิปขาดแคลน รถยนต์ EV ผลิตเท่าไรก็ขาย บวกกับต้นทุนการเงินที่ต่ำเพราะวัฏจักรดอกเบี้ยต่ำช่วงปี 2021-2022 ทำให้ Ford ประเมินอุปสงค์ของลูกค้าผิดไป ช่วงแรกที่ Ford เร่งปั๊มรถยนต์ EV ออกมาขายก็ขายได้หมดจริงๆ แต่เมื่อลูกค้ากลุ่มแรกๆ ซื้อกันไปหมดแล้ว บริษัทก็พบว่าลูกค้ากลุ่มถัดไปไม่ยอม "จ่ายแพงกว่า" เพื่อซื้อรถยนต์ EV อีก ปัญหานี้ Tesla เป็นฝ่ายพบก่อนบริษัทอื่น และ Ford ก็ค้นพบตามมาอย่างรวดเร็วจึงต้องปรับตัวตามทันที
Farley บอกว่าถ้าดูสถิติยอดขายรถยนต์ EV ในสหรัฐช่วงครึ่งหลังของปี 2023 จะเห็นว่าจำนวนรถยนต์ส่งมอบนั้นเพิ่มขึ้น แต่รายได้รวมกลับลดลง เป็นเพราะค่ายรถที่มีสต๊อกล้นเกินต้องลดราคาลงมากันถ้วนหน้า ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นทั้งในจีนและยุโรปด้วย
การเปลี่ยนแปลงของตลาด EV ทำให้ธุรกิจ EV (Ford เรียกหน่วยธุรกิจนี้ว่า Model e) ขาดทุน 4.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 (ภาพรวมบริษัทยังกำไร 4.7 พันล้าานดอลลาร์) โดยบริษัทมองว่าสัดส่วนยอดขาย EV จะเพิ่มเป็น 40% ภายในสิ้นปี 2024 ก็ตาม
ด้วยสภาพตลาดแบบนี้ ทำให้ Ford ชะลอการลงทุนในโรงงานแบตเตอรี่หลายแห่งที่วางแผนไว้ และปรับแผนการเปิดตัวรถไฟฟ้า Gen 2 จนกว่าจะพร้อมในเรื่องต้นทุนจริงๆ ว่าทำออกมาขายแล้วได้กำไรแน่ๆ
จุดที่น่าสนใจคือ Farley เปิดเผยว่า Ford แยกทีมวิศวกรไปซุ่มทำแพลตฟอร์ม EV ตัวใหม่อย่างเงียบๆ มาสองปีแล้ว แพลตฟอร์มตัวนี้ออกแบบมาสำหรับรถยนต์ EV ยุคถัดไปที่ต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง พร้อมใช้ต่อสู้ในตลาด EV ยุคหน้าที่ต้องสู้กับรถรุ่นใหม่ของ Tesla และรถยนต์ EV จีนที่มีจุดเด่นเรื่องราคา
Farley ยังไม่บอกว่ารถไฟฟ้า Gen 2 ที่ใช้แพลตฟอร์มใหม่จะมีรุ่นใดบ้าง และมีกำหนดเปิดตัวเมื่อไร
ที่มา - Ford (PDF), The Register, Ars Technica
Topics:
Ford
Electric Car
Automobile
อ่านต่อ...
Farley อธิบายว่าปัญหาซัพพลายเชนในช่วง COVID-19 ที่ทำให้ชิปขาดแคลน รถยนต์ EV ผลิตเท่าไรก็ขาย บวกกับต้นทุนการเงินที่ต่ำเพราะวัฏจักรดอกเบี้ยต่ำช่วงปี 2021-2022 ทำให้ Ford ประเมินอุปสงค์ของลูกค้าผิดไป ช่วงแรกที่ Ford เร่งปั๊มรถยนต์ EV ออกมาขายก็ขายได้หมดจริงๆ แต่เมื่อลูกค้ากลุ่มแรกๆ ซื้อกันไปหมดแล้ว บริษัทก็พบว่าลูกค้ากลุ่มถัดไปไม่ยอม "จ่ายแพงกว่า" เพื่อซื้อรถยนต์ EV อีก ปัญหานี้ Tesla เป็นฝ่ายพบก่อนบริษัทอื่น และ Ford ก็ค้นพบตามมาอย่างรวดเร็วจึงต้องปรับตัวตามทันที
Farley บอกว่าถ้าดูสถิติยอดขายรถยนต์ EV ในสหรัฐช่วงครึ่งหลังของปี 2023 จะเห็นว่าจำนวนรถยนต์ส่งมอบนั้นเพิ่มขึ้น แต่รายได้รวมกลับลดลง เป็นเพราะค่ายรถที่มีสต๊อกล้นเกินต้องลดราคาลงมากันถ้วนหน้า ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นทั้งในจีนและยุโรปด้วย
การเปลี่ยนแปลงของตลาด EV ทำให้ธุรกิจ EV (Ford เรียกหน่วยธุรกิจนี้ว่า Model e) ขาดทุน 4.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 (ภาพรวมบริษัทยังกำไร 4.7 พันล้าานดอลลาร์) โดยบริษัทมองว่าสัดส่วนยอดขาย EV จะเพิ่มเป็น 40% ภายในสิ้นปี 2024 ก็ตาม
ด้วยสภาพตลาดแบบนี้ ทำให้ Ford ชะลอการลงทุนในโรงงานแบตเตอรี่หลายแห่งที่วางแผนไว้ และปรับแผนการเปิดตัวรถไฟฟ้า Gen 2 จนกว่าจะพร้อมในเรื่องต้นทุนจริงๆ ว่าทำออกมาขายแล้วได้กำไรแน่ๆ
จุดที่น่าสนใจคือ Farley เปิดเผยว่า Ford แยกทีมวิศวกรไปซุ่มทำแพลตฟอร์ม EV ตัวใหม่อย่างเงียบๆ มาสองปีแล้ว แพลตฟอร์มตัวนี้ออกแบบมาสำหรับรถยนต์ EV ยุคถัดไปที่ต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง พร้อมใช้ต่อสู้ในตลาด EV ยุคหน้าที่ต้องสู้กับรถรุ่นใหม่ของ Tesla และรถยนต์ EV จีนที่มีจุดเด่นเรื่องราคา
Farley ยังไม่บอกว่ารถไฟฟ้า Gen 2 ที่ใช้แพลตฟอร์มใหม่จะมีรุ่นใดบ้าง และมีกำหนดเปิดตัวเมื่อไร
ที่มา - Ford (PDF), The Register, Ars Technica
Topics:
Ford
Electric Car
Automobile
อ่านต่อ...