ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อนอย่างมาก ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับการทำงานและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เพียงพอและกระจัดกระจาย เริ่มต้นปีใหม่ 2024 นี้ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่นำโดย ดร. Hans Keirstead ผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์ จึงได้ริเริ่มโครงการขนาดยักษ์ Human Immunome Project (HIP) เพื่อที่จะทำการทดลองเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่ละเอียดที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
โครงการ Human Immunome Project นี้ตั้งระยะเวลาโครงการไว้ 10 ปี (ค.ศ. 2024-2033) คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณอย่างน้อย 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ห้าปีแรก (ค.ศ. 2024-2028) ของโครงการจะเป็นการเริ่มบุกเบิกเก็บตัวอย่างจากอาสาสมัครไม่ต่ำกว่า 500 คนในทวีปแอฟริกา, ออสเตรเลีย, เอเซีย, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, และยุโรป จากนั้นจะขยายกลุ่มตัวอย่างออกไปให้ครอบคลุมทั้งเรื่องเพศ, อายุ, ระดับรายได้, และปัจจัยทางสุขภาพ จากสถานีเก็บตัวอย่าง 70-100 แห่งทั่วโลก ให้ได้สถานีละประมาณ 10,000 คน
ห้าปีหลัง (ค.ศ. 2029-2033) จะเน้นไปที่การจัดการข้อมูลมหาศาลที่เก็บมาในห้าปีแรกมาผนวกรวมเข้ากับข้อมูลผลการทดลองและข้อมูลอื่นๆ ทางชีววิทยา เช่น ข้อมูลจีโนม ข้อมูลทรานสคริปโตม ฯลฯ และนำเอาข้อมูลที่ได้มาสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์ตั้งแต่ระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ไปจนถึงระดับอวัยวะ ผลที่ได้จะเป็นแผนที่ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดและโมเดลใช้ทำนายการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อยาและเชื้อโรคได้อย่างแม่นยำ
โครงการ Human Immunome Project ได้รับตอบรับเข้ามาร่วมจากมหาวิทยาลัย, ศูนย์วิจัย, ห้องปฏิบัติการ, และบริษัทชื่อดัง 30 กว่าแห่ง มีหลายบริษัทเลยที่น่าจะคุ้นหูชาวโลกในยุค COVID-19 เช่น Pfizer, Moderna, AstraZeneca, Janssen, Novavax เป็นต้น
รอดูกันว่าอีกสิบปีข้างหน้า โครงการนี้จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน หากมันสำเร็จ ไม่เพียงจะเกิดประโยชน์ในด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน แต่ยังมีผลกระทบต่อการประยุกต์ในทางการแพทย์และการค้นหาวัคซีนเพื่อรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคตอีกด้วย
ที่มา
Human Immunome Project, Science
Topics:
Science
Immunology
Research
อ่านต่อ...
โครงการ Human Immunome Project นี้ตั้งระยะเวลาโครงการไว้ 10 ปี (ค.ศ. 2024-2033) คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณอย่างน้อย 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ห้าปีแรก (ค.ศ. 2024-2028) ของโครงการจะเป็นการเริ่มบุกเบิกเก็บตัวอย่างจากอาสาสมัครไม่ต่ำกว่า 500 คนในทวีปแอฟริกา, ออสเตรเลีย, เอเซีย, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, และยุโรป จากนั้นจะขยายกลุ่มตัวอย่างออกไปให้ครอบคลุมทั้งเรื่องเพศ, อายุ, ระดับรายได้, และปัจจัยทางสุขภาพ จากสถานีเก็บตัวอย่าง 70-100 แห่งทั่วโลก ให้ได้สถานีละประมาณ 10,000 คน
ห้าปีหลัง (ค.ศ. 2029-2033) จะเน้นไปที่การจัดการข้อมูลมหาศาลที่เก็บมาในห้าปีแรกมาผนวกรวมเข้ากับข้อมูลผลการทดลองและข้อมูลอื่นๆ ทางชีววิทยา เช่น ข้อมูลจีโนม ข้อมูลทรานสคริปโตม ฯลฯ และนำเอาข้อมูลที่ได้มาสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์ตั้งแต่ระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ไปจนถึงระดับอวัยวะ ผลที่ได้จะเป็นแผนที่ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดและโมเดลใช้ทำนายการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อยาและเชื้อโรคได้อย่างแม่นยำ
โครงการ Human Immunome Project ได้รับตอบรับเข้ามาร่วมจากมหาวิทยาลัย, ศูนย์วิจัย, ห้องปฏิบัติการ, และบริษัทชื่อดัง 30 กว่าแห่ง มีหลายบริษัทเลยที่น่าจะคุ้นหูชาวโลกในยุค COVID-19 เช่น Pfizer, Moderna, AstraZeneca, Janssen, Novavax เป็นต้น
รอดูกันว่าอีกสิบปีข้างหน้า โครงการนี้จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน หากมันสำเร็จ ไม่เพียงจะเกิดประโยชน์ในด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน แต่ยังมีผลกระทบต่อการประยุกต์ในทางการแพทย์และการค้นหาวัคซีนเพื่อรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคตอีกด้วย
ที่มา
Human Immunome Project, Science
Topics:
Science
Immunology
Research
อ่านต่อ...