JetBrains ประกาศว่า Kotlin Multiplatform (KMP) ที่ช่วยให้เขียนโค้ดเป็นภาษา Kotlin แล้วแชร์โค้ด (ส่วนใหญ่หรือทั้งหมด) ข้ามแพลตฟอร์มได้ เข้าสถานะเสถียรพร้อมสำหรับงานโปรดักชันแล้วใน Kotlin 1.9.20 เวอร์ชันล่าสุด
Kotlin Multiplatform เริ่มจากการใช้งานเขียนแอพบนมือถือ Kotlin Multiplatform Mobile (KMM) โดยแปลงโค้ดจากฝั่ง Android ที่เขียนด้วย Kotlin อยู่แล้วให้ไปรันแบบเนทีฟบน iOS ได้ด้วย ช่วยลดการดูแลโค้ดลง และภายหลังก็ขยายมายังแพลตฟอร์มอื่นอย่างเดสก์ท็อปและเว็บ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Kotlin Multiplatform (KMP) ให้ครอบคลุมมากขึ้น
JetBrains ยกตัวอย่างบริษัทที่นำ KMP ไปใช้งานได้แก่ Netflix, Philips, McDonald’s, 9GAG, Baidu, VMware โดยยกตัวอย่างกรณี 9Gag ว่าเลือกใช้ Kotlin Multiplatform หลังทดลองใช้ทั้ง Flutter และ React Native มาก่อนแล้ว (อ้างอิง)
ตัวอย่างหน้าตาแอพบน Android, iOS, Desktop
Kotlin Multiplatform แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตัวโค้ดที่เป็น Core Kotlin และเฟรมเวิร์ค UI ที่เรียกว่า Compose Multiplatform ซึ่งยังรองรับจำนวนแพลตฟอร์มไม่เท่ากัน โดยตัวฐาน Core Kotlin รองรับเยอะกว่า ที่เข้าสถานะเสถียรแล้วได้แก่ Android, iOS, Desktop (รันบน JVM), Server-side (รันบน JVM) และเว็บ (แปลงผ่าน Kotlin/JS)
แพลตฟอร์มอีกตัวที่กำลังพัฒนาอยู่คือ การเขียนเว็บที่แปลงผ่าน Kotlin/Wasm (Web Assembly) โดยตรง ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นทดลอง (Experimental) จะเข้าสถานะ Alpha ในปีหน้า 2024
ส่วน Compose Multiplatform มีจำนวนแพลตฟอร์มตามหลังอยู่บ้าง ตอนนี้คือ Android กับ Desktop (JVM) เข้าสถานะเสถียรแล้ว ในขณะที่ iOS ยังเป็น Alpha จะเข้าสถานะ Beta ในปีหน้า 2024 และเว็บ (Wasm) เป็น Experimental
นักพัฒนาสามารถเลือกได้ว่าจะแชร์โค้ดเฉพาะแค่บางส่วน, เฉพาะแค่ส่วน Logic หรือทั้งหมดรวมถึง UI ด้วย ตามที่เหมาะสมกับโครงการนั้นๆ
รายชื่อแพลตฟอร์มที่ซัพพอร์ต ณ เดือนพฤศจิกายน 2023 รายชื่อแพลตฟอร์มทั้งหมด
ที่มา - Kotlin Blog
Topics:
Kotlin
Development
JetBrains
อ่านต่อ...
Kotlin Multiplatform เริ่มจากการใช้งานเขียนแอพบนมือถือ Kotlin Multiplatform Mobile (KMM) โดยแปลงโค้ดจากฝั่ง Android ที่เขียนด้วย Kotlin อยู่แล้วให้ไปรันแบบเนทีฟบน iOS ได้ด้วย ช่วยลดการดูแลโค้ดลง และภายหลังก็ขยายมายังแพลตฟอร์มอื่นอย่างเดสก์ท็อปและเว็บ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Kotlin Multiplatform (KMP) ให้ครอบคลุมมากขึ้น
JetBrains ยกตัวอย่างบริษัทที่นำ KMP ไปใช้งานได้แก่ Netflix, Philips, McDonald’s, 9GAG, Baidu, VMware โดยยกตัวอย่างกรณี 9Gag ว่าเลือกใช้ Kotlin Multiplatform หลังทดลองใช้ทั้ง Flutter และ React Native มาก่อนแล้ว (อ้างอิง)
ตัวอย่างหน้าตาแอพบน Android, iOS, Desktop
Kotlin Multiplatform แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตัวโค้ดที่เป็น Core Kotlin และเฟรมเวิร์ค UI ที่เรียกว่า Compose Multiplatform ซึ่งยังรองรับจำนวนแพลตฟอร์มไม่เท่ากัน โดยตัวฐาน Core Kotlin รองรับเยอะกว่า ที่เข้าสถานะเสถียรแล้วได้แก่ Android, iOS, Desktop (รันบน JVM), Server-side (รันบน JVM) และเว็บ (แปลงผ่าน Kotlin/JS)
แพลตฟอร์มอีกตัวที่กำลังพัฒนาอยู่คือ การเขียนเว็บที่แปลงผ่าน Kotlin/Wasm (Web Assembly) โดยตรง ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นทดลอง (Experimental) จะเข้าสถานะ Alpha ในปีหน้า 2024
ส่วน Compose Multiplatform มีจำนวนแพลตฟอร์มตามหลังอยู่บ้าง ตอนนี้คือ Android กับ Desktop (JVM) เข้าสถานะเสถียรแล้ว ในขณะที่ iOS ยังเป็น Alpha จะเข้าสถานะ Beta ในปีหน้า 2024 และเว็บ (Wasm) เป็น Experimental
นักพัฒนาสามารถเลือกได้ว่าจะแชร์โค้ดเฉพาะแค่บางส่วน, เฉพาะแค่ส่วน Logic หรือทั้งหมดรวมถึง UI ด้วย ตามที่เหมาะสมกับโครงการนั้นๆ
รายชื่อแพลตฟอร์มที่ซัพพอร์ต ณ เดือนพฤศจิกายน 2023 รายชื่อแพลตฟอร์มทั้งหมด
ที่มา - Kotlin Blog
Topics:
Kotlin
Development
JetBrains
อ่านต่อ...