ทีมวิศวกรรมของ LinkedIn เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังการย้ายระบบของ LinkedIn ที่เดิมรันอยู่บน CentOS 7 มาใช้ Azure Linux ของไมโครซอฟท์
หลังจากโดนไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ LinkedIn มีแผนการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมทั้งหมดไปอยู่บน Azure แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่สำเร็จ ส่วนการย้ายระบบปฏิบัติการรอบนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 และสิ้นสุดช่วงเดือนเมษายน
LinkedIn บอกว่าเป้าหมายหลักของการย้ายระบบปฏิบัติการ เกิดจากความต้องการใช้ระบบปฏิบัติการที่ทันสมัยกว่าเดิม (CentOS 7 พัฒนาอยู่บน RHEL 7 ที่ออกครั้งแรกในปี 2014 เริ่มเก่าแล้ว) และเอื้อต่อการพัฒนาฟีเจอร์ด้าน AI ใหม่ๆ ให้กับสมาชิก LinkedIn จำนวนมากกว่า 1 พันล้านคนได้รวดเร็วมากขึ้น
ประเด็นเรื่อง CentOS 7 หมดระยะซัพพอร์ตในเดือนมิถุนายน 2024 บีบให้ LinkedIn ต้องรีบย้ายระบบ เพราะแผนเดิมคือการอัพเกรดเป็น CentOS 8 ซึ่งควรได้อัพเดตไปจนถึงปี 2019 แต่เมื่อ CentOS 8 โดน Red Hat ตัดจบไปตอนปี 2021 ทำให้ต้องหาโซลูชันอื่น
ทีมวิศวกรรม LinkedIn บอกว่า Azure Linux เป็นทางออกที่เหมาะสม เพราะเป็นระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ มีสถาปัตยกรรมใหม่ๆ เช่น การสร้างไฟล์อิมเมจเฉพาะส่วนสำคัญ ช่วยให้บูตเครื่องเร็วขึ้น, มีแพตช์ความปลอดภัยสม่ำเสมอ บวกกับมีไมโครซอฟท์ซัพพอร์ตให้ในระยะยาว และเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับคลาวด์อยู่แล้ว จึงเป็นตัวเลือกเดียวที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ระบบของ LinkedIn เดิมก็มีความซับซ้อนสูง ต่อให้เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน การย้ายไปใช้ Azure Linux ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แนวทางของ LinkedIn คือทดลองย้ายระบบแบบ pilot ดูก่อน เพื่อให้ทีมภายในแต่ละทีมมีโอกาสลองทำความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการใหม่ หาอุปสรรคและข้อจำกัดกันก่อน หลังจากนั้นทีมต่างๆ ต้องพัฒนาเครื่องมือการย้ายระบบกันภายใน แล้วทดสอบจนพอใจก่อนย้ายจริง
ตัวอย่างปัญหาที่พบในขั้นตอนวางแผน ได้แก่
ระบบของ LinkedIn มีทั้งส่วนที่เป็น stateless ย้ายไประบบปฏิบัติการใหม่ได้อัตโนมัติ, ส่วนที่เป็น stateful ที่ต้องทำตัวช่วยย้าย data partition เพิ่มเติม รวมถึงจัดการสร้างแพ็กเกจ MySQL ใหม่ และในบางกรณี ทีมงานต้อง refactor ตัวแอพพลิเคชันใหม่ก่อนเพื่อลดดาวน์ไทม์ที่จะเกิดขึ้น
การย้ายระบบจาก CentOS มาเป็น Azure Linux ใช้วิธีแบบค่อยเป็นค่อยไป ทีมงานเริ่มย้ายระบบช่วงเดือนมกราคม 2024 และครบ 100% ช่วงประมาณเดือนมีนาคม ตอนนี้ระบบเกือบทั้งหมดของ LinkedIn รันบน Azure Linux เรียบร้อยแล้ว
ทีม LinkedIn บอกว่าการได้ทดสอบระบบในช่วง pilot มีความสำคัญมาก และเน้นว่าการถ่ายทอดประสบการณ์ pilot ให้ทีมวิศวกรอื่นๆ จะช่วยได้มาก ซึ่ง LinkedIn ใช้ทั้งการจัด technical talk แบบจริงจัง และการประชุม หรือการคุยเล่นตามโอกาสต่างๆ ในเวลางาน ช่วยกันถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านี้
ที่มา - LinkedIn Engineering Blog
Topics:
LinkedIn
Microsoft Azure
Linux
CentOS
Cloud Computing
Microsoft
Continue reading...
หลังจากโดนไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ LinkedIn มีแผนการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมทั้งหมดไปอยู่บน Azure แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่สำเร็จ ส่วนการย้ายระบบปฏิบัติการรอบนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 และสิ้นสุดช่วงเดือนเมษายน
LinkedIn บอกว่าเป้าหมายหลักของการย้ายระบบปฏิบัติการ เกิดจากความต้องการใช้ระบบปฏิบัติการที่ทันสมัยกว่าเดิม (CentOS 7 พัฒนาอยู่บน RHEL 7 ที่ออกครั้งแรกในปี 2014 เริ่มเก่าแล้ว) และเอื้อต่อการพัฒนาฟีเจอร์ด้าน AI ใหม่ๆ ให้กับสมาชิก LinkedIn จำนวนมากกว่า 1 พันล้านคนได้รวดเร็วมากขึ้น
ประเด็นเรื่อง CentOS 7 หมดระยะซัพพอร์ตในเดือนมิถุนายน 2024 บีบให้ LinkedIn ต้องรีบย้ายระบบ เพราะแผนเดิมคือการอัพเกรดเป็น CentOS 8 ซึ่งควรได้อัพเดตไปจนถึงปี 2019 แต่เมื่อ CentOS 8 โดน Red Hat ตัดจบไปตอนปี 2021 ทำให้ต้องหาโซลูชันอื่น
ทีมวิศวกรรม LinkedIn บอกว่า Azure Linux เป็นทางออกที่เหมาะสม เพราะเป็นระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ มีสถาปัตยกรรมใหม่ๆ เช่น การสร้างไฟล์อิมเมจเฉพาะส่วนสำคัญ ช่วยให้บูตเครื่องเร็วขึ้น, มีแพตช์ความปลอดภัยสม่ำเสมอ บวกกับมีไมโครซอฟท์ซัพพอร์ตให้ในระยะยาว และเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับคลาวด์อยู่แล้ว จึงเป็นตัวเลือกเดียวที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ระบบของ LinkedIn เดิมก็มีความซับซ้อนสูง ต่อให้เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน การย้ายไปใช้ Azure Linux ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แนวทางของ LinkedIn คือทดลองย้ายระบบแบบ pilot ดูก่อน เพื่อให้ทีมภายในแต่ละทีมมีโอกาสลองทำความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการใหม่ หาอุปสรรคและข้อจำกัดกันก่อน หลังจากนั้นทีมต่างๆ ต้องพัฒนาเครื่องมือการย้ายระบบกันภายใน แล้วทดสอบจนพอใจก่อนย้ายจริง
ตัวอย่างปัญหาที่พบในขั้นตอนวางแผน ได้แก่
- ระบบไฟล์เลือกเป็น XFS ซึ่งเดิมที Azure Linux ไม่ได้รองรับแบบเนทีฟ แต่ทีม LinkedIn ทดสอบแล้วพบว่าให้ประสิทธิภาพดีที่สุดในเกือบทุกกรณี ยกเว้นงานที่เป็น Hadoop
- การย้ายจาก CentOS 7 มายัง Azure Linux มีจุดเปลี่ยนสำคัญคือ systemd ที่เริ่มเข้ามาใช้งานในโลกลินุกซ์ช่วงหลัง CentOS 7 พอดี ทำให้ทีมงานต้องปรับระบบภายในอยู่หลายจุด
- ทีมฝั่ง LinkedIn เจอข้อจำกัดเรื่องกระบวนการสร้างอิมเมจของ OS และจังหวะนั้นทีมฝั่ง Azure สร้างเครื่องมือ Azure Linux Image Customizer พอดี เลยได้นำมาใช้งาน
- ระบบของ LinkedIn มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงข้ามเขตศูนย์ข้อมูล (global changes) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะกระทบการย้ายระบบจนเกิดดาวน์ไทม์ ทีมวิศวกรรมจำเป็นต้องจำกัด global changes ไว้ชั่วคราวเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านง่ายขึ้น
- ระบบไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์เดิมใช้ DKMS (Dynamic Kernel Module Support) ของลินุกซ์ แต่นโยบายของ Azure Linux กำหนดว่าไดรเวอร์จะต้องผ่านการ sign โดยไมโครซอฟท์ด้วยเสมอ ทำให้ทีม LinkedIn ต้องไปจัดการเรื่องไดรเวอร์ที่ใช้งานให้ผ่านมาตรฐานของฝั่งไมโครซอฟท์ก่อน และตอนนี้หันมาใช้ไดรเวอร์ของ Azure Linux เวอร์ชันอัพสตรีมทั้งหมดแล้ว
- Azure Linux ไม่มี GUI เพราะไม่รองรับ window manager ดังนั้นงานจัดการ VM ที่ต้องใช้งาน GUI ซึ่งเดิมต้องทำผ่าน RDP จากเครื่องที่เป็น CentOS desktop ต้องเปลี่ยนมาทำผ่าน IDE ที่เชื่อมต่อแบบรีโมทแทน
ระบบของ LinkedIn มีทั้งส่วนที่เป็น stateless ย้ายไประบบปฏิบัติการใหม่ได้อัตโนมัติ, ส่วนที่เป็น stateful ที่ต้องทำตัวช่วยย้าย data partition เพิ่มเติม รวมถึงจัดการสร้างแพ็กเกจ MySQL ใหม่ และในบางกรณี ทีมงานต้อง refactor ตัวแอพพลิเคชันใหม่ก่อนเพื่อลดดาวน์ไทม์ที่จะเกิดขึ้น
การย้ายระบบจาก CentOS มาเป็น Azure Linux ใช้วิธีแบบค่อยเป็นค่อยไป ทีมงานเริ่มย้ายระบบช่วงเดือนมกราคม 2024 และครบ 100% ช่วงประมาณเดือนมีนาคม ตอนนี้ระบบเกือบทั้งหมดของ LinkedIn รันบน Azure Linux เรียบร้อยแล้ว
ทีม LinkedIn บอกว่าการได้ทดสอบระบบในช่วง pilot มีความสำคัญมาก และเน้นว่าการถ่ายทอดประสบการณ์ pilot ให้ทีมวิศวกรอื่นๆ จะช่วยได้มาก ซึ่ง LinkedIn ใช้ทั้งการจัด technical talk แบบจริงจัง และการประชุม หรือการคุยเล่นตามโอกาสต่างๆ ในเวลางาน ช่วยกันถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านี้
ที่มา - LinkedIn Engineering Blog
Topics:
Microsoft Azure
Linux
CentOS
Cloud Computing
Microsoft
Continue reading...