ปัจจุบันมีรูปแบบการหลอกลวงเกิดขึ้นจำนวนมาก ทาง Meta ประเทศไทยออกมาพูดถึงมาตรการการรับมือปัญหาภัยลวงออนไลน์ มีการร่วมมือกับกระทรวง DE และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดตัวแคมเปญ #StayingSafeOnline ให้ความรู้เท่าทันภัยทางออนไลน์
เฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าการตรวจจับและป้องกันสแกมบนแพลตฟอร์มของ Meta หากพบบัญชีที่มีพฤติกรรมการหลอกลวง เจ้าของบัญชีจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้ใช้งานบัญชีปลอมหรือนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เป็นความจริง หากเจ้าของบัญชีไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ตามที่กำหนด หรือหากผู้ตรวจสอบพบว่ามีการละเมิดกฎและนโยบายต่างๆ บัญชีดังกล่าวก็จะถูกลบ
เทคนิคการการตรวจจับปัญหาภัยลวงออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Meta ประกอบด้วย
จากรายงานว่าไตรมาส 2 ปี 2566 ทาง Meta ได้เดินหน้าลบบัญชีปลอมกว่า 676 ล้านบัญชีทั่วโลกบน Facebook โดย 98.8% ถูกตรวจพบและดำเนินการลบด้วย AI และเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ได้ดำเนินการลบเนื้อหาที่เป็นภัยหลอกลวงจำนวน 1.1 พันล้านชิ้น โดย 95.3% เป็นเนื้อหาที่ถูกตรวจจับและดำเนินการผ่าน AI
ในส่วนของมาตรฐานการโฆษณาของ Meta มีแนวทางที่ระบุว่าโฆษณาแบบใดจะได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มในเครือของ Meta ไม่อนุญาตโฆษณาเนื้อหาหลอกลวงหรือสร้างความเข้าใจผิดหรือสแกม หากตรวจจับโฆษณาที่ละเมิดมาตรฐานการโฆษณาจะดำเนินการไม่อนุมัติโฆษณาดังกล่าวทันที
Meta วางแผนรับมือการหลอกลวงทางออนไลน์โดย 1. ติดต่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทั้งในประเทศและนอกประเทศ 2. ให้ความรู้กับประชาชนและรัฐบาลเพื่อรู้เท่าทันภัยออนไลน์ 3. พัฒนาอุตสาหกรรมไอทีให้มีประสิทธิภาพขึ้น
รวมถึงมีการใช้ความรู้ผ่านแคมเปญ #StayingSafeOnline ภายใต้โครงการ We Think Digital Thailand เสริมทักษะดิจิทัลให้ความรู้แก่ประชาชน ในการสังเกตพฤติกรรมของผู้ประสงค์ร้ายและป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากสแกมอีคอมเมิร์ช, สแกมความปลอดภัยและการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง รวมถึงภัยออนไลน์ต่างๆ ผ่านการร่วมกับหลายประเทศและพันธมิตรท้องถิ่นเช่น กระทรวง DE และกลุ่มรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานรัฐต่างๆ และในสัปดาห์หน้าจะมีเปิดตัวซีรีส์วิดีโอให้ความรู้ชื่อว่า “ถอดรหัสเกม” (Decode Scam) ผ่านเพจ Meta ประเทศไทย
ปัจจุบันทางตำรวจไซเบอร์ได้เปิดสายด่วน 1441 เพื่อขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงสามารถแจ้งเบาะแสได้
ด้าน ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) พูดถึงจำนวนคดีหลอกลวงทางออนไลน์มีมากถึง 600 คดีเกี่ยวกับการซื้อขายทางออนไลน์ แต่ในปัจจุบันลดลงเพราะได้รับความร่วมมือกับทาง Meta ประเทศไทย โดย Top 5 ประเภทคดีที่เกิดขึ้น 1. การหลอกลวงจากการซื้อขายของ 2. หลอกให้ทำงานแต่ไม่ได้เงิน 3. แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ส่วนอันดับ 4 และ 5 เป็นคดีหลอกให้ลงทุน
ขณะที่นโยบายเชิงรุกของกระทรวง DE แบ่งเป็น 3 ข้อ ได้แก่
1. ป้องกันเชิงรุก: แบ่งปันข้อมูลกับแพลตฟอร์ม โดยตอนนี้สามารถปิดเว็บหรือเพจผิดกฎหมายได้ 400-500 ต่อวัน
2. ตัดตอน: ออกกฎหมายปิดบัญชีม้า ถ้าได้รับเบาะแสหรือพบว่าเป็นบัญชีน่าสงสัย จะร่วมมือกับธนาคารเพื่อปิดบัญชีชั่วคราวและดำเนินการตรวจสอบต่อ
3. เปิดศูนย์ช่วยเหลือร่วมมือกับหลายฝ่าย: เหยื่อสามารถติดต่อไปที่ศูนย์กลาง เพื่อส่งเรื่องต่อไปให้แพลตฟอร์มและธนาคาร ทำงานร่วมกันเพื่อยังยั้งทันที
ที่มา: ข้อมูลประชาสัมพันธ์ Meta
Topics:
Meta
Facebook
Instagram
Ministry of Digital Economy
Government
อ่านต่อ...
เฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าการตรวจจับและป้องกันสแกมบนแพลตฟอร์มของ Meta หากพบบัญชีที่มีพฤติกรรมการหลอกลวง เจ้าของบัญชีจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้ใช้งานบัญชีปลอมหรือนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เป็นความจริง หากเจ้าของบัญชีไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ตามที่กำหนด หรือหากผู้ตรวจสอบพบว่ามีการละเมิดกฎและนโยบายต่างๆ บัญชีดังกล่าวก็จะถูกลบ
เทคนิคการการตรวจจับปัญหาภัยลวงออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Meta ประกอบด้วย
- ใช้เทคโนโลยี Machine learning เพื่อตรวจสอบเนื้อหาและบัญชีที่ละเมิดนโยบายของ Meta
- ลดการเข้าถึงเนื้อหาที่อาจเป็นเนื้อหาที่เข้าข่ายเป็นภัยลวง
- ตรวจสอบเข้มข้นบัญชีที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีการละเมิดกฎต่าง ๆ
- จัดตั้งช่องทางการรายงานเนื้อหาภัยลวงโดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้และหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย
- ตรวจสอบเพื่อลบบัญชีปลอมออกจากแพลตฟอร์มเป็นประจำ
จากรายงานว่าไตรมาส 2 ปี 2566 ทาง Meta ได้เดินหน้าลบบัญชีปลอมกว่า 676 ล้านบัญชีทั่วโลกบน Facebook โดย 98.8% ถูกตรวจพบและดำเนินการลบด้วย AI และเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ได้ดำเนินการลบเนื้อหาที่เป็นภัยหลอกลวงจำนวน 1.1 พันล้านชิ้น โดย 95.3% เป็นเนื้อหาที่ถูกตรวจจับและดำเนินการผ่าน AI
ในส่วนของมาตรฐานการโฆษณาของ Meta มีแนวทางที่ระบุว่าโฆษณาแบบใดจะได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มในเครือของ Meta ไม่อนุญาตโฆษณาเนื้อหาหลอกลวงหรือสร้างความเข้าใจผิดหรือสแกม หากตรวจจับโฆษณาที่ละเมิดมาตรฐานการโฆษณาจะดำเนินการไม่อนุมัติโฆษณาดังกล่าวทันที
Meta วางแผนรับมือการหลอกลวงทางออนไลน์โดย 1. ติดต่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทั้งในประเทศและนอกประเทศ 2. ให้ความรู้กับประชาชนและรัฐบาลเพื่อรู้เท่าทันภัยออนไลน์ 3. พัฒนาอุตสาหกรรมไอทีให้มีประสิทธิภาพขึ้น
รวมถึงมีการใช้ความรู้ผ่านแคมเปญ #StayingSafeOnline ภายใต้โครงการ We Think Digital Thailand เสริมทักษะดิจิทัลให้ความรู้แก่ประชาชน ในการสังเกตพฤติกรรมของผู้ประสงค์ร้ายและป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากสแกมอีคอมเมิร์ช, สแกมความปลอดภัยและการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง รวมถึงภัยออนไลน์ต่างๆ ผ่านการร่วมกับหลายประเทศและพันธมิตรท้องถิ่นเช่น กระทรวง DE และกลุ่มรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานรัฐต่างๆ และในสัปดาห์หน้าจะมีเปิดตัวซีรีส์วิดีโอให้ความรู้ชื่อว่า “ถอดรหัสเกม” (Decode Scam) ผ่านเพจ Meta ประเทศไทย
ปัจจุบันทางตำรวจไซเบอร์ได้เปิดสายด่วน 1441 เพื่อขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงสามารถแจ้งเบาะแสได้
ด้าน ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) พูดถึงจำนวนคดีหลอกลวงทางออนไลน์มีมากถึง 600 คดีเกี่ยวกับการซื้อขายทางออนไลน์ แต่ในปัจจุบันลดลงเพราะได้รับความร่วมมือกับทาง Meta ประเทศไทย โดย Top 5 ประเภทคดีที่เกิดขึ้น 1. การหลอกลวงจากการซื้อขายของ 2. หลอกให้ทำงานแต่ไม่ได้เงิน 3. แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ส่วนอันดับ 4 และ 5 เป็นคดีหลอกให้ลงทุน
ขณะที่นโยบายเชิงรุกของกระทรวง DE แบ่งเป็น 3 ข้อ ได้แก่
1. ป้องกันเชิงรุก: แบ่งปันข้อมูลกับแพลตฟอร์ม โดยตอนนี้สามารถปิดเว็บหรือเพจผิดกฎหมายได้ 400-500 ต่อวัน
2. ตัดตอน: ออกกฎหมายปิดบัญชีม้า ถ้าได้รับเบาะแสหรือพบว่าเป็นบัญชีน่าสงสัย จะร่วมมือกับธนาคารเพื่อปิดบัญชีชั่วคราวและดำเนินการตรวจสอบต่อ
3. เปิดศูนย์ช่วยเหลือร่วมมือกับหลายฝ่าย: เหยื่อสามารถติดต่อไปที่ศูนย์กลาง เพื่อส่งเรื่องต่อไปให้แพลตฟอร์มและธนาคาร ทำงานร่วมกันเพื่อยังยั้งทันที
ที่มา: ข้อมูลประชาสัมพันธ์ Meta
Topics:
Meta
Ministry of Digital Economy
Government
อ่านต่อ...