นอกจากภาพสตีฟ จอบส์ ในเสื้อคอเต่าสีดำ อีกหนึ่งภาพเราน่าจะเคยเห็นจนชินตาคือ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ในลุคเสื้อยืดเทา กางเกงยีนส์ ที่ใส่มายาวนาน 13 ปี (ก่อนหน้านั้นเขาอินกับเสื้อฮู้ด) พร้อมผมสั้นที่เป็นดั่งลายเซ็นของเขาไปแล้ว
แต่ในปีที่ผ่านมา หลายคนอาจจะพอจับสังเกตได้บ้างแล้วว่าซัคเคอร์เบิร์กดูมีสไตล์มากขึ้น แต่น่าจะเห็นกันแค่คร่าว ๆ ไม่ได้คิดว่ามีอะไรพิเศษ หรือมีอะไรต้องสนใจขนาดนั้น
แต่สื่อต่างประเทศดัง ๆ หลายเจ้า เริ่มหยิบเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคำถามว่า ซัคเคอร์เบิร์กเปลี่ยนไปแค่ไหน และที่สำคัญกว่านั้น อะไรคือนัยของความเปลี่ยนแปลง
ครั้งนึงเคยมีคนถามเขากลาง Facebook Forum ว่าทำไมเขาถึงแต่งองค์ทรงเครื่องแบบเดิมทุกวัน คำตอบเขาก็สมศักดิ์ศรีซีอีโอในซิลิคอนวัลเลย์ นั่นคือ “ผมอยากให้ชีวิตเรียบง่าย ลดการตัดสินใจให้น้อยที่สุด” เขาต้องการเก็บพลังงานไว้ใช้กับเรื่องที่สำคัญจริง ๆ
หรือว่าวันนี้ การแต่งกาย จากที่ไม่สำคัญ ก็กลายเป็นธุระสำคัญสำหรับซัคเคอร์เบิร์กจนถึงขั้นที่เขายอมแบ่งเวลามาให้เสียแล้ว?
จุดแรก ๆ ที่ทำให้คนหันมาจับตาสไตล์ของเขาคืองานแถลงผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2024 ของ Meta ในงานมีการโชว์ฟีเจอร์ฟิลเตอร์ใน Instagram เพื่อโชว์พลังของ Meta AI ซึ่งซัคเคอร์เบิร์กเป็นคนเล่นฟิลเตอร์นั้นเอง
จุดที่คนสนใจกลับกลายเป็นตัวเขาเองที่มาในลุคใหม่ มีความเซอร์ขึ้น ผมหยักศกมีวอลุ่ม มาพร้อมสร้อยเงินเส้นโต และพอลองฟิลเตอร์เคราก็เข้ากับหน้าเขาอย่างน่าประหลาดใจ ฉีกภาพเดิม ๆ ที่คนชินตา และกลายเป็นไวรัลไปอีกระยะนึงเลย
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น 2 เดือน เขาได้โซโล่ยาวคนเดียวในพ็อดแคสต์ Morning Brew Daily อย่างลื่นไหลเป็นกันเอง เล่าเรื่องสัพเพเหระตั้งแต่เทคโนโลยี สไตล์การเป็นผู้นำ จนถึงงานอดิเรกในการเลี้ยงวัวของเขา
คือถ้าเป็นคนอื่นจะไม่แปลกใจ แต่นี่คือซัคเคอร์เบิร์กที่คนมักจะมองว่าเข้าถึงได้ยากและดูแข็ง ๆ จนผู้ชมในยูทูปถึงขั้นถล่มคอมเมนต์แซวกันว่า AI ของ Meta เดี๋ยวนี้เก่ง สามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติแล้ว
ภาพลักษณ์รวม ๆ ของในพักหลังของซัคเคอร์เบิร์กเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก จากหุ่นแอนดรอยด์ (คำที่ชาวเน็ตชาวแซว) เสื้อเทา มาวันนี้เขามาในทรงหนุ่มฮอตรักแฟชัน ชอบเล่นกีฬาโดยเฉพาะ MMA แถมยังมีงานอดิเรกคือการเลี้ยงวัวในบ้านสวน (หรืออาณาจักร) ที่ฮาวาย
คำถามที่น่าสนใจคือ นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องส่วนตัวล้วน ๆ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับ Personal Branding ของซีอีโอ ที่ต้องการยิ่งชิ่งไปถึงภาพลักษณ์องค์กร ตรงนี้เราน่าจะไม่ได้คำตอบชัด ๆ จากที่ไหนแน่ ๆ
แต่ถ้ามองในมุมของการวิเคราะห์ สื่อไม่น้อยเห็นตรงกันว่านี่คือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับภาพลักษณ์องค์กร คือถ้านี่เป็นแค่เรื่องของซัคเคอร์เบิร์กล้วน ๆ เขาน่าจะเก็บทุกความเปลี่ยนแปลงเอาไว้แค่การโพสต์ใน Instagram
แต่เขาเลือกขึ้นเวที Meta Connect งานสำคัญประจำปีของบริษัท ด้วยเครื่องแต่งกายที่เขาออกแบบร่วมกับดีไซน์เนอร์ชื่อดัง (พร้อมผลิตภัณฑ์ใหม่คือแว่น Orion AR Glasses) โดยตัวเสื้อเขียนกลางหน้าอกด้วยภาษาละตินว่า Aut Zuck Aut Nihil หรือ Either Zuck or Nothing สื่อความว่าถ้าไม่ชนะอย่างเด็ดขาดก็ยอมแพ้ไปเลยดีกว่า มองในมุมนี้ เครื่องแต่งกายคือเรื่องที่ผ่านการคิดมาแล้ว
ต้นเดือนที่ผ่านมา ซัคเคอร์เบิร์กขึ้นเวที Acquired Podcast เพื่อพูดต่อหน้าผู้ชมหลายพันคน หนึ่งเรื่องที่น่าสนใจที่เขาได้กล่าวถึงคือการยอมรับว่า ความผิดพลาดครั้งใหญ่ในช่วง 20 ปีของเขาคือการประเมินเรื่องการเมืองผิดไป แบกรับปัญหาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมมากเกินไป (แต่ฝ่ายการเมืองมองว่าเป็นความรับผิดชอบของ Facebook) เช่น กรณี Cambridge Analytica ซึ่งตอนนี้เขาหาสมดุลเจอแล้ว
ก่อนงานดังกล่าวไม่นาน ซัคเคอร์เบิร์กเคยออกมาบอกว่า Meta โดนรัฐบาลไบเดนกดดันให้ลบคอนเทนต์บางประเภทในช่วงโควิด และเสียใจที่พูดเรื่องนี้ช้าเกินไป
และวรรคสำคัญที่เขาได้กล่าวในงานจนสื่อหลายเจ้าต้องหยิบจับไปพาดหัวคือ “วันคืนที่เขาจะต้องพร่ำขอโทษได้จบลงแล้ว”
TechCrunch ตั้งประเด็นไว้น่าสนใจว่าแม้ซัคเคอร์เบิร์กจะพูดกว้าง ๆ ไม่ได้เจาะจง แต่นี่เป็นการพูดถึงบทบาทของ Facebook ในการควบคุมเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ซึ่งที่ผ่านมา Meta แสดงท่าทีที่ค่อนข้างสื่อว่าจะลดบทบาทในด้านนี้ลง เช่น การที่ Meta ยกเลิกข้อจำกัดบัญชีของ Donald Trump ทั้ง Facebook และ Instagram (การบอกว่าเสียใจที่ลบคอนเทนต์บางประเภทก็เข้าข่าย)
New York Times เคยรายงานถึงท่าทีระหว่างฝ่ายขวาของการเมืองสหรัฐฯ (ที่ไม่ต้องการให้รัฐมีบทบาทเหนือเอกชน) กับซัคเคอร์เบิร์กเอาไว้ โดยชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเขาได้ต่อสายตรงถึงโดนัลด์ ทรัมป์ ถึงสองครั้ง แต่ไม่เคยติดต่อหากมลา แฮร์ริส จากฝั่งเดโมแครตเลย
ที่สำคัญคือ ซัคเคอร์เบิร์กได้จ้างไบรอัน เบเกอร์ นักกลยุทธ์ของพรรครีพับบลิกัน เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างเขากับสื่อฝ่ายขวาตลอดจนนักการเมืองในพรรคอีกด้วย
จุดที่น่าสนใจคือในงาน Acquired Podcast เสื้อที่เขาใส่ขึ้นพูดเขียนด้วยภาษาละตินว่า Pathei Mathos หรือเรียนรู้จากความผิดพลาด และอย่างที่เล่าไปแล้ว ความผิดพลาดที่เขาพูดถึงในงานนี้ก็คือการแบกรับปัญหาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมมากเกินไปจากฝ่ายการเมือง
หลังจากนี้เราอาจจะได้เห็นตัวตนที่พินอบพิเทาน้อยลงของ Meta จากการเปลี่ยนร่างที่ New York Times เรียกว่า Meta-morphosis (เล่นกับคำว่า Metamophosis ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงภายนอกเหมือนกัน) โดย Techcruch เองก็ให้ความเห็นว่า ถ้านี่ไม่ใช่วิกฤติวัยกลางคนของซัคเคอร์เบิร์ก ก็ต้องเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ถักถอขึ้นอย่างละเมียดละไม
Arwa Mahdawi นักข่าวจาก The Guardian เขียนบทความแสดงความเห็นค่อนข้างรุนแรงว่า นี่เป็นการลดภาพตัวร้ายของ Facebook ด้วยการพลิกรูปโฉมของซีอีโอให้เป็นปุถุชนที่เป็นมิตรและจับต้องได้มากขึ้น
ในมุมของคนสนิทอย่าง Daniel Ek ซีอีโอ Spotify เขาบอกว่านี่คือ Mark 3.0 โดยเวอร์ชัน 1.0 คือตอนที่ซัคเคอร์เบิร์กเป็นไอคอนผู้ผลักดันโซเชียลมีเดียยุคเริ่มแรก 2.0 คือ Evil Mark ที่อื้อฉาวหลังกรณี Cambridge Analytica ส่วน Mark 3.0 คือซัคเคอร์เบิร์กในแบบที่กลับสู่แรงผลักดันดั้งเดิมและเปี่ยมด้วยพลังงาน
คำถามที่อยากจะส่งท้ายเพื่อนำไปสู่การถกเถียงต่อไปก็คือ พลังงานที่ว่าของซัคเคอร์เบิร์กยุคใหม่ กำลังจะนำเราไปสู่อะไร?
อ้างอิง: TechCrunch New York Times The Guardian Axios
Topics:
Mark Zuckerberg
Meta
Facebook
Platform
Continue reading...
แต่ในปีที่ผ่านมา หลายคนอาจจะพอจับสังเกตได้บ้างแล้วว่าซัคเคอร์เบิร์กดูมีสไตล์มากขึ้น แต่น่าจะเห็นกันแค่คร่าว ๆ ไม่ได้คิดว่ามีอะไรพิเศษ หรือมีอะไรต้องสนใจขนาดนั้น
แต่สื่อต่างประเทศดัง ๆ หลายเจ้า เริ่มหยิบเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคำถามว่า ซัคเคอร์เบิร์กเปลี่ยนไปแค่ไหน และที่สำคัญกว่านั้น อะไรคือนัยของความเปลี่ยนแปลง
ครั้งนึงเคยมีคนถามเขากลาง Facebook Forum ว่าทำไมเขาถึงแต่งองค์ทรงเครื่องแบบเดิมทุกวัน คำตอบเขาก็สมศักดิ์ศรีซีอีโอในซิลิคอนวัลเลย์ นั่นคือ “ผมอยากให้ชีวิตเรียบง่าย ลดการตัดสินใจให้น้อยที่สุด” เขาต้องการเก็บพลังงานไว้ใช้กับเรื่องที่สำคัญจริง ๆ
หรือว่าวันนี้ การแต่งกาย จากที่ไม่สำคัญ ก็กลายเป็นธุระสำคัญสำหรับซัคเคอร์เบิร์กจนถึงขั้นที่เขายอมแบ่งเวลามาให้เสียแล้ว?
เรื่องมันเริ่มจากไหน?
จุดแรก ๆ ที่ทำให้คนหันมาจับตาสไตล์ของเขาคืองานแถลงผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2024 ของ Meta ในงานมีการโชว์ฟีเจอร์ฟิลเตอร์ใน Instagram เพื่อโชว์พลังของ Meta AI ซึ่งซัคเคอร์เบิร์กเป็นคนเล่นฟิลเตอร์นั้นเอง
จุดที่คนสนใจกลับกลายเป็นตัวเขาเองที่มาในลุคใหม่ มีความเซอร์ขึ้น ผมหยักศกมีวอลุ่ม มาพร้อมสร้อยเงินเส้นโต และพอลองฟิลเตอร์เคราก็เข้ากับหน้าเขาอย่างน่าประหลาดใจ ฉีกภาพเดิม ๆ ที่คนชินตา และกลายเป็นไวรัลไปอีกระยะนึงเลย
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น 2 เดือน เขาได้โซโล่ยาวคนเดียวในพ็อดแคสต์ Morning Brew Daily อย่างลื่นไหลเป็นกันเอง เล่าเรื่องสัพเพเหระตั้งแต่เทคโนโลยี สไตล์การเป็นผู้นำ จนถึงงานอดิเรกในการเลี้ยงวัวของเขา
คือถ้าเป็นคนอื่นจะไม่แปลกใจ แต่นี่คือซัคเคอร์เบิร์กที่คนมักจะมองว่าเข้าถึงได้ยากและดูแข็ง ๆ จนผู้ชมในยูทูปถึงขั้นถล่มคอมเมนต์แซวกันว่า AI ของ Meta เดี๋ยวนี้เก่ง สามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติแล้ว
ภาพลักษณ์รวม ๆ ของในพักหลังของซัคเคอร์เบิร์กเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก จากหุ่นแอนดรอยด์ (คำที่ชาวเน็ตชาวแซว) เสื้อเทา มาวันนี้เขามาในทรงหนุ่มฮอตรักแฟชัน ชอบเล่นกีฬาโดยเฉพาะ MMA แถมยังมีงานอดิเรกคือการเลี้ยงวัวในบ้านสวน (หรืออาณาจักร) ที่ฮาวาย
คำถามที่น่าสนใจคือ นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องส่วนตัวล้วน ๆ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับ Personal Branding ของซีอีโอ ที่ต้องการยิ่งชิ่งไปถึงภาพลักษณ์องค์กร ตรงนี้เราน่าจะไม่ได้คำตอบชัด ๆ จากที่ไหนแน่ ๆ
แต่ถ้ามองในมุมของการวิเคราะห์ สื่อไม่น้อยเห็นตรงกันว่านี่คือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับภาพลักษณ์องค์กร คือถ้านี่เป็นแค่เรื่องของซัคเคอร์เบิร์กล้วน ๆ เขาน่าจะเก็บทุกความเปลี่ยนแปลงเอาไว้แค่การโพสต์ใน Instagram
แต่เขาเลือกขึ้นเวที Meta Connect งานสำคัญประจำปีของบริษัท ด้วยเครื่องแต่งกายที่เขาออกแบบร่วมกับดีไซน์เนอร์ชื่อดัง (พร้อมผลิตภัณฑ์ใหม่คือแว่น Orion AR Glasses) โดยตัวเสื้อเขียนกลางหน้าอกด้วยภาษาละตินว่า Aut Zuck Aut Nihil หรือ Either Zuck or Nothing สื่อความว่าถ้าไม่ชนะอย่างเด็ดขาดก็ยอมแพ้ไปเลยดีกว่า มองในมุมนี้ เครื่องแต่งกายคือเรื่องที่ผ่านการคิดมาแล้ว
พอแล้วกับคำขอโทษ: ไขปริศนาทิศทางใหม่ Meta หลังซัคเคอร์เบิร์กปรับลุค
ต้นเดือนที่ผ่านมา ซัคเคอร์เบิร์กขึ้นเวที Acquired Podcast เพื่อพูดต่อหน้าผู้ชมหลายพันคน หนึ่งเรื่องที่น่าสนใจที่เขาได้กล่าวถึงคือการยอมรับว่า ความผิดพลาดครั้งใหญ่ในช่วง 20 ปีของเขาคือการประเมินเรื่องการเมืองผิดไป แบกรับปัญหาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมมากเกินไป (แต่ฝ่ายการเมืองมองว่าเป็นความรับผิดชอบของ Facebook) เช่น กรณี Cambridge Analytica ซึ่งตอนนี้เขาหาสมดุลเจอแล้ว
ก่อนงานดังกล่าวไม่นาน ซัคเคอร์เบิร์กเคยออกมาบอกว่า Meta โดนรัฐบาลไบเดนกดดันให้ลบคอนเทนต์บางประเภทในช่วงโควิด และเสียใจที่พูดเรื่องนี้ช้าเกินไป
และวรรคสำคัญที่เขาได้กล่าวในงานจนสื่อหลายเจ้าต้องหยิบจับไปพาดหัวคือ “วันคืนที่เขาจะต้องพร่ำขอโทษได้จบลงแล้ว”
TechCrunch ตั้งประเด็นไว้น่าสนใจว่าแม้ซัคเคอร์เบิร์กจะพูดกว้าง ๆ ไม่ได้เจาะจง แต่นี่เป็นการพูดถึงบทบาทของ Facebook ในการควบคุมเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ซึ่งที่ผ่านมา Meta แสดงท่าทีที่ค่อนข้างสื่อว่าจะลดบทบาทในด้านนี้ลง เช่น การที่ Meta ยกเลิกข้อจำกัดบัญชีของ Donald Trump ทั้ง Facebook และ Instagram (การบอกว่าเสียใจที่ลบคอนเทนต์บางประเภทก็เข้าข่าย)
New York Times เคยรายงานถึงท่าทีระหว่างฝ่ายขวาของการเมืองสหรัฐฯ (ที่ไม่ต้องการให้รัฐมีบทบาทเหนือเอกชน) กับซัคเคอร์เบิร์กเอาไว้ โดยชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเขาได้ต่อสายตรงถึงโดนัลด์ ทรัมป์ ถึงสองครั้ง แต่ไม่เคยติดต่อหากมลา แฮร์ริส จากฝั่งเดโมแครตเลย
ที่สำคัญคือ ซัคเคอร์เบิร์กได้จ้างไบรอัน เบเกอร์ นักกลยุทธ์ของพรรครีพับบลิกัน เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างเขากับสื่อฝ่ายขวาตลอดจนนักการเมืองในพรรคอีกด้วย
จุดที่น่าสนใจคือในงาน Acquired Podcast เสื้อที่เขาใส่ขึ้นพูดเขียนด้วยภาษาละตินว่า Pathei Mathos หรือเรียนรู้จากความผิดพลาด และอย่างที่เล่าไปแล้ว ความผิดพลาดที่เขาพูดถึงในงานนี้ก็คือการแบกรับปัญหาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมมากเกินไปจากฝ่ายการเมือง
สรุป
หลังจากนี้เราอาจจะได้เห็นตัวตนที่พินอบพิเทาน้อยลงของ Meta จากการเปลี่ยนร่างที่ New York Times เรียกว่า Meta-morphosis (เล่นกับคำว่า Metamophosis ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงภายนอกเหมือนกัน) โดย Techcruch เองก็ให้ความเห็นว่า ถ้านี่ไม่ใช่วิกฤติวัยกลางคนของซัคเคอร์เบิร์ก ก็ต้องเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ถักถอขึ้นอย่างละเมียดละไม
Arwa Mahdawi นักข่าวจาก The Guardian เขียนบทความแสดงความเห็นค่อนข้างรุนแรงว่า นี่เป็นการลดภาพตัวร้ายของ Facebook ด้วยการพลิกรูปโฉมของซีอีโอให้เป็นปุถุชนที่เป็นมิตรและจับต้องได้มากขึ้น
ในมุมของคนสนิทอย่าง Daniel Ek ซีอีโอ Spotify เขาบอกว่านี่คือ Mark 3.0 โดยเวอร์ชัน 1.0 คือตอนที่ซัคเคอร์เบิร์กเป็นไอคอนผู้ผลักดันโซเชียลมีเดียยุคเริ่มแรก 2.0 คือ Evil Mark ที่อื้อฉาวหลังกรณี Cambridge Analytica ส่วน Mark 3.0 คือซัคเคอร์เบิร์กในแบบที่กลับสู่แรงผลักดันดั้งเดิมและเปี่ยมด้วยพลังงาน
คำถามที่อยากจะส่งท้ายเพื่อนำไปสู่การถกเถียงต่อไปก็คือ พลังงานที่ว่าของซัคเคอร์เบิร์กยุคใหม่ กำลังจะนำเราไปสู่อะไร?
อ้างอิง: TechCrunch New York Times The Guardian Axios
Topics:
Mark Zuckerberg
Meta
Platform
Continue reading...