Neuralink กำลังรับสมัครอาสาสมัครมนุษย์คนแรก สำหรับทดลองฝังอุปกรณ์ทดลองลงไปในสมอง บริษัทได้ประกาศว่าคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และโรงพยาบาล (ไม่เปิดเผยชื่อ) ได้อนุมัติให้การทดลองนี้รับอาสาสมัครเข้าร่วม
ทางบริษัทมีเป้าหมายการรับอาสาสมัครที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกจากไขสันหลังหรือ ALS (amyotrophic lateral sclerosis) ซึ่งอาสาสมัครจะได้รับการฝังอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างสมองและคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย มีชื่อว่า N1 จะถูกฝังผ่านการผ่าตัดเข้าไปในสมองโดยหุ่นยนต์ผ่านตัดของบริษัท R1
อุปกรณ์การปลูกถ่ายมีอิเล็กโทรด 1,024 กระจายอยู่ในเส้นใย 64 เส้น ที่บางกว่าเส้นผมมนุษย์, ส่วนขั้วไฟฟ้าจะทำหน้าที่บันทึกกิจกรรมประสาทที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และจะถูกถอดรหัสคลื่นสัญญาณเหล่านี้ออกมา
บริษัทกล่าวว่าเป้าหมายการฝัง N1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทดลองสามารถควบคุมเคอร์เซอร์ด้วยความคิด ซึ่งการทดลองนี้จะประเมินความปลอดภัยเป็นหลักและได้เห็นประสิทธิภาพอีกด้วย จากรายงานของ Ars Technica การทดลองคลินิกนี้ยังไม่ปรากฏในฐานข้อมูลกลางของรัฐบาลสำหรับการทดลองคลินิก (clinicaltrails.gov) และยังไม่แน่ชัดว่า Neuralink จะรับอาสาสมัครกี่คน
ก่อนหน้านี้ Neuralink มีประเด็นเรื่องการขออนุญาตจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ Food and Drung Administration (FDA) ซึ่งได้ถูกปฏิเสธคำขอไปเนื่องจาก ความปลอดภัยของอุปกรณ์แบตเตอรี่ลิเธียม, ความเป็นไปได้ในการย้ายอุปกรณ์และความไม่แน่นอนว่าอุปกรณ์จะสามารถถอดออกโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อสมองของมนุษย์ได้หรือไม่
แต่ในเดือนพฤษภาคม Neuralink ประกาศว่าได้รับไฟเขียวจาก FDA ให้เริ่มการทดลองในมนุษย์ ซึ่งการทดลองนี้เรียกว่าการศึกษา PRIME โดยจะใช้เวลากว่า 6 ปีจึงจะสำเร็จ โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับการประเมินถึง 9 ครั้ง ใน 18 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นการติดตามผลระยะยาว รวมไปถึงมีการนัดตรวจ 20 ครั้ง ในระยะเวลา 5 ปี
ที่มา: Ars Technica
Topics:
Neuralink
Elon Musk
อ่านต่อ...
ทางบริษัทมีเป้าหมายการรับอาสาสมัครที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกจากไขสันหลังหรือ ALS (amyotrophic lateral sclerosis) ซึ่งอาสาสมัครจะได้รับการฝังอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างสมองและคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย มีชื่อว่า N1 จะถูกฝังผ่านการผ่าตัดเข้าไปในสมองโดยหุ่นยนต์ผ่านตัดของบริษัท R1
อุปกรณ์การปลูกถ่ายมีอิเล็กโทรด 1,024 กระจายอยู่ในเส้นใย 64 เส้น ที่บางกว่าเส้นผมมนุษย์, ส่วนขั้วไฟฟ้าจะทำหน้าที่บันทึกกิจกรรมประสาทที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และจะถูกถอดรหัสคลื่นสัญญาณเหล่านี้ออกมา
บริษัทกล่าวว่าเป้าหมายการฝัง N1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทดลองสามารถควบคุมเคอร์เซอร์ด้วยความคิด ซึ่งการทดลองนี้จะประเมินความปลอดภัยเป็นหลักและได้เห็นประสิทธิภาพอีกด้วย จากรายงานของ Ars Technica การทดลองคลินิกนี้ยังไม่ปรากฏในฐานข้อมูลกลางของรัฐบาลสำหรับการทดลองคลินิก (clinicaltrails.gov) และยังไม่แน่ชัดว่า Neuralink จะรับอาสาสมัครกี่คน
ก่อนหน้านี้ Neuralink มีประเด็นเรื่องการขออนุญาตจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ Food and Drung Administration (FDA) ซึ่งได้ถูกปฏิเสธคำขอไปเนื่องจาก ความปลอดภัยของอุปกรณ์แบตเตอรี่ลิเธียม, ความเป็นไปได้ในการย้ายอุปกรณ์และความไม่แน่นอนว่าอุปกรณ์จะสามารถถอดออกโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อสมองของมนุษย์ได้หรือไม่
แต่ในเดือนพฤษภาคม Neuralink ประกาศว่าได้รับไฟเขียวจาก FDA ให้เริ่มการทดลองในมนุษย์ ซึ่งการทดลองนี้เรียกว่าการศึกษา PRIME โดยจะใช้เวลากว่า 6 ปีจึงจะสำเร็จ โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับการประเมินถึง 9 ครั้ง ใน 18 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นการติดตามผลระยะยาว รวมไปถึงมีการนัดตรวจ 20 ครั้ง ในระยะเวลา 5 ปี
ที่มา: Ars Technica
Topics:
Neuralink
Elon Musk
อ่านต่อ...