Open Source Initiative (OSI) หน่วยงานผู้ให้นิยามของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศนิยามของปัญญาประดิษฐ์โอเพนซอร์ส The Open Source AI Definition – 1.0 เพื่อให้อุตสาหกรรมเข้าใจตรงกันว่าการเป็นโอเพนซอร์ส (ตาม OSI) ต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง
แนวทางนิยามของ OSI สำหรับปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่ต่างจากซอฟต์แวร์มากนัก แต่เพิ่มนิยามรายละเอียด แยกส่วน เช่น ข้อมูลที่ใช้ฝึกนั้นต้องให้รายละเอียดเพียงพอ แม้จะไม่ต้องแชร์ข้อมูลออกมาเสมอไป, ตัวโค้ดที่ใช้รันต้องใช้สัญญาอนุญาตที่ OSI รองรับว่าเป็นโอเพนซอร์ส, และตัวพารามิเตอร์ต้องแจกในสัญญาอนุญาตที่ OSI รับรองเช่นกัน
ด้วยนิยามเช่นนี้ทำให้โมเดล LLM ยอดนิยม ไม่ผ่านนิยามโอเพนซอร์สแทบทั้งหมด โดยโมเดลที่ผ่านนิยาม ได้แก่ Pythia (Eleuther AI), OLMo (AI2), Amber and CrystalCoder (LLM360), และ T5 (กูเกิล) ขณะที่โมเดลบางส่วนไม่ผ่านเพราะส่วนประกอบบางส่วนไม่ครบ เช่น Starcoder2 และ Falcon
ที่มา - OSI
Topics:
Open Source
LLM
Artificial Intelligence
Continue reading...
แนวทางนิยามของ OSI สำหรับปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่ต่างจากซอฟต์แวร์มากนัก แต่เพิ่มนิยามรายละเอียด แยกส่วน เช่น ข้อมูลที่ใช้ฝึกนั้นต้องให้รายละเอียดเพียงพอ แม้จะไม่ต้องแชร์ข้อมูลออกมาเสมอไป, ตัวโค้ดที่ใช้รันต้องใช้สัญญาอนุญาตที่ OSI รองรับว่าเป็นโอเพนซอร์ส, และตัวพารามิเตอร์ต้องแจกในสัญญาอนุญาตที่ OSI รับรองเช่นกัน
ด้วยนิยามเช่นนี้ทำให้โมเดล LLM ยอดนิยม ไม่ผ่านนิยามโอเพนซอร์สแทบทั้งหมด โดยโมเดลที่ผ่านนิยาม ได้แก่ Pythia (Eleuther AI), OLMo (AI2), Amber and CrystalCoder (LLM360), และ T5 (กูเกิล) ขณะที่โมเดลบางส่วนไม่ผ่านเพราะส่วนประกอบบางส่วนไม่ครบ เช่น Starcoder2 และ Falcon
ที่มา - OSI
Topics:
Open Source
LLM
Artificial Intelligence
Continue reading...