ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา วงการลินุกซ์มีการเปลี่ยนผ่านซอฟต์แวร์สำคัญที่ใช้จัดการเสียง จากตัวเดิม PulseAudio (สร้างปี 2004) มาสู่ยุค PipeWire ตัวใหม่ (สร้างปี 2017) โดยตอนนี้ดิสโทรสำคัญๆ อย่าง Fedora, Ubuntu, Debian ทยอยเปลี่ยนมาใช้ PipeWire ครบหมดแล้ว
ล่าสุดเมื่อวานนี้ PipeWire ออกเวอร์ชัน 1.0 ถือเป็นรุ่นเสถียรแรกในระบบเลขเวอร์ชันแบบดั้งเดิม (แม้เริ่มใช้งานจริงมาก่อนสักระยะแล้ว)
PipeWire ถือเป็น "ซูเปอร์เซ็ต" ของ PulseAudio คือนอกจากเป็นเซิร์ฟเวอร์จัดการเสียง (audio) แล้วยังจัดการเรื่องวิดีโอให้ด้วย
ผู้สร้าง PipeWire คือ Wim Taymans วิศวกรซอฟต์แวร์ของ Red Hat โดยช่วงแรกใช้ชื่อโครงการว่า "PulseVideo" ภายหลังเปลี่ยนเป็น Pinos และชื่อสุดท้ายคือ PipeWire
จุดเริ่มต้นของ PipeWire เกิดจากข้อจำกัดของ PulseAudio ที่ออกแบบมาสำหรับงานด้านเสียงทั่วไป หากต้องการระบบเสียงแบบเรียลไทม์ มีค่าความหน่วง (latency) ต่ำสำหรับงานมืออาชีพ โลกของลินุกซ์จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์เสียงอีกตัวคือ JACK ทำให้การสลับไปมามีความยุ่งยาก นอกจากนี้รูปแบบการใช้งานยุคหลังๆ ยังมีงานฝั่งสตรีมวิดีโอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โครงการ PipeWire เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน (PulseAudio, JACK, สตรีมวิดีโอ)
แนวคิดของ PipeWire คือมาแทนซอฟต์แวร์เก่าโดยยังรักษาความเข้ากันได้กับ API เดิมไว้ เพื่อให้แอปพลิเคชันอื่นๆ ใช้งานได้เหมือนเดิม สถานะตอนนี้ PipeWire มาแทนส่วน PulseAudio ได้สมบูรณ์แล้ว ส่วนการแทน JACK ยังทำได้บางส่วน มีบางฟีเจอร์ขาดไปเล็กน้อย ส่วนฝั่งของวิดีโอกำลังค่อยๆ ตามมาต่อไป
การมาถึงของ PipeWire ทำให้โลกไม่จำเป็นต้องมีดิสโทรลินุกซ์เฉพาะกิจสำหรับงาน pro-audio อีกต่อไป (เช่น Fedora JAM หรือ Ubuntu Studio) เพราะใช้งาน PipeWire บนดิสโทรปกติได้เลย ซึ่ง Taymans บอกว่าเราเกือบไปถึงจุดนั้นแล้ว
หน้าเว็บของ PipeWire มองตัวเองเป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนลินุกซ์ยุคใหม่ ควบคู่ไปกับ Wayland (เซิร์ฟเวอร์จัดการกราฟิก) และ Flatpak (ตัวจัดการแพ็กเกจของค่าย Red Hat)
ที่มา - PipeWire, Fedora Magazine
Topics:
Linux
Open Source
Audio
อ่านต่อ...
ล่าสุดเมื่อวานนี้ PipeWire ออกเวอร์ชัน 1.0 ถือเป็นรุ่นเสถียรแรกในระบบเลขเวอร์ชันแบบดั้งเดิม (แม้เริ่มใช้งานจริงมาก่อนสักระยะแล้ว)
PipeWire ถือเป็น "ซูเปอร์เซ็ต" ของ PulseAudio คือนอกจากเป็นเซิร์ฟเวอร์จัดการเสียง (audio) แล้วยังจัดการเรื่องวิดีโอให้ด้วย
ผู้สร้าง PipeWire คือ Wim Taymans วิศวกรซอฟต์แวร์ของ Red Hat โดยช่วงแรกใช้ชื่อโครงการว่า "PulseVideo" ภายหลังเปลี่ยนเป็น Pinos และชื่อสุดท้ายคือ PipeWire
จุดเริ่มต้นของ PipeWire เกิดจากข้อจำกัดของ PulseAudio ที่ออกแบบมาสำหรับงานด้านเสียงทั่วไป หากต้องการระบบเสียงแบบเรียลไทม์ มีค่าความหน่วง (latency) ต่ำสำหรับงานมืออาชีพ โลกของลินุกซ์จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์เสียงอีกตัวคือ JACK ทำให้การสลับไปมามีความยุ่งยาก นอกจากนี้รูปแบบการใช้งานยุคหลังๆ ยังมีงานฝั่งสตรีมวิดีโอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โครงการ PipeWire เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน (PulseAudio, JACK, สตรีมวิดีโอ)
แนวคิดของ PipeWire คือมาแทนซอฟต์แวร์เก่าโดยยังรักษาความเข้ากันได้กับ API เดิมไว้ เพื่อให้แอปพลิเคชันอื่นๆ ใช้งานได้เหมือนเดิม สถานะตอนนี้ PipeWire มาแทนส่วน PulseAudio ได้สมบูรณ์แล้ว ส่วนการแทน JACK ยังทำได้บางส่วน มีบางฟีเจอร์ขาดไปเล็กน้อย ส่วนฝั่งของวิดีโอกำลังค่อยๆ ตามมาต่อไป
การมาถึงของ PipeWire ทำให้โลกไม่จำเป็นต้องมีดิสโทรลินุกซ์เฉพาะกิจสำหรับงาน pro-audio อีกต่อไป (เช่น Fedora JAM หรือ Ubuntu Studio) เพราะใช้งาน PipeWire บนดิสโทรปกติได้เลย ซึ่ง Taymans บอกว่าเราเกือบไปถึงจุดนั้นแล้ว
หน้าเว็บของ PipeWire มองตัวเองเป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนลินุกซ์ยุคใหม่ ควบคู่ไปกับ Wayland (เซิร์ฟเวอร์จัดการกราฟิก) และ Flatpak (ตัวจัดการแพ็กเกจของค่าย Red Hat)
ที่มา - PipeWire, Fedora Magazine
Topics:
Linux
Open Source
Audio
อ่านต่อ...