TOP500 ประกาศอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลกประจำรอบเดือนพฤศจิกายน 2023 (อันดับรอบก่อน) แชมป์อันดับหนึ่งยังเป็นเครื่อง Frontier ของ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ที่ครองแชมป์มา 4 สมัยติดต่อกัน สมรรถนะเท่าเดิมที่ 1.194 EFlop/s โดยใช้ซีพียู AMD EPYC 64C, ตัวเร่งประมวลผล AMD Instinct MI250x และโซลูชันของ HPE Cray EX235a
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ที่อันดับ 2 และ 3 ที่เข้าชาร์ทมาใหม่รอบนี้
อันดับสองคือเครื่อง Aurora ของ Argonne Leadership Computing Facility ติดชาร์ทเข้ามาด้วยสมรรถนะ 585.34 PFlop/s ซึ่งยังเป็นแค่ครึ่งเดียวของระบบที่ยังสร้างไม่สมบูรณ์ เสร็จแล้วจะมีสมรรถนะ 2 EFlop/s ซึ่งจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งรายใหม่แทน Frontier รายละเอียดทางเทคนิคของเครื่อง Aurora คือใช้โซลูชันของอินเทลทั้งชุด ซีพียู Xeon CPU Max Series, จีพียู Intel Data Center GPU Max Series และประกอบโดยทีม HPE Cray EX
อันดับสามเป็นเครื่องของไมโครซอฟท์ชื่อว่า Eagle ใช้ซีพียู Xeon Platinum 8480C, จีพียู NVIDIA H100 ได้คะแนนสมรรถนะ 561 Pflop/s โดยเป็นเครื่องที่ไมโครซอฟท์ใช้งานสำหรับคลาวด์ Azure
อันดับ TOP 10 ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นเครื่องเก่าที่เคยอยู่ในชาร์ทมาก่อนแล้ว ยกเว้นเครื่องใหม่ในอันดับ 8-9 อันดับทั้งหมดได้แก่
ถ้านับส่วนแบ่งซีพียูเฉพาะซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 10 อันดับแรก อินเทลมี 5 เครื่อง, AMD มี 2 เครื่อง และ IBM อีก 2 เครื่อง (มี Fugaku เครื่องเดียวที่ใช้ซีพียูจาก Fujitsu)
ส่วนแบ่งตลาด TOP500 แยกตามประเทศ สหรัฐอเมริกายังนำเป็นอันดับหนึ่งที่ 161 เครื่อง (เพิ่มจากเดิมที่มี 150 เครื่อง) ตามด้วยจีน 104 เครื่อง (ลดลงจาก 134 เครื่อง)
ที่มา - TOP500
Topics:
TOP500
Supercomputer
High Performance Computing
อ่านต่อ...
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ที่อันดับ 2 และ 3 ที่เข้าชาร์ทมาใหม่รอบนี้
อันดับสองคือเครื่อง Aurora ของ Argonne Leadership Computing Facility ติดชาร์ทเข้ามาด้วยสมรรถนะ 585.34 PFlop/s ซึ่งยังเป็นแค่ครึ่งเดียวของระบบที่ยังสร้างไม่สมบูรณ์ เสร็จแล้วจะมีสมรรถนะ 2 EFlop/s ซึ่งจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งรายใหม่แทน Frontier รายละเอียดทางเทคนิคของเครื่อง Aurora คือใช้โซลูชันของอินเทลทั้งชุด ซีพียู Xeon CPU Max Series, จีพียู Intel Data Center GPU Max Series และประกอบโดยทีม HPE Cray EX
อันดับสามเป็นเครื่องของไมโครซอฟท์ชื่อว่า Eagle ใช้ซีพียู Xeon Platinum 8480C, จีพียู NVIDIA H100 ได้คะแนนสมรรถนะ 561 Pflop/s โดยเป็นเครื่องที่ไมโครซอฟท์ใช้งานสำหรับคลาวด์ Azure
อันดับ TOP 10 ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นเครื่องเก่าที่เคยอยู่ในชาร์ทมาก่อนแล้ว ยกเว้นเครื่องใหม่ในอันดับ 8-9 อันดับทั้งหมดได้แก่
- อันดับสี่ Fugaku อดีตแชมป์เก่าจากญี่ปุ่น สมรรถนะ 442 Pflop/s
- อันดับห้า LUMI จากฟินแลนด์ ได้อัพเกรดสมรรถนะเพิ่มเป็น 380 Pflop/s เป็นเครื่อง HPE Cray EX อีกราย
- อันดับหก Leonardo จากอิตาลี สมรรถนะ 238.7 Pflop/s ใช้โซลูชันเครื่องของบริษัท Altos
- อันดับเจ็ด IBM Summit อดีตแชมป์โลกอีกราย ซีพียู POWER9 สมรรถนะ 148.8 Pflop/s
- อันดับแปด MareNostrum 5 ACC จากสเปน ตั้งอยู่ที่บาร์เซโลนา สมรรถนะ 183.2 Pflop/s เป็นเครื่องยี่ห้อ Altos
- อันดับเก้า เครื่อง Eos ของ NVIDIA ทำเอง ใช้ซีพียู Xeon 8480C ร่วมกับจีพียู H100 โซลูชันเครื่องแบบ DGX SuperPOD สมรรถนะ 121.4 Pflop/s
- อันดับสิบ Sierra ของ Lawrence Livermore National Laboratory สมรรถนะ 94.6 Pflop/s
ถ้านับส่วนแบ่งซีพียูเฉพาะซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 10 อันดับแรก อินเทลมี 5 เครื่อง, AMD มี 2 เครื่อง และ IBM อีก 2 เครื่อง (มี Fugaku เครื่องเดียวที่ใช้ซีพียูจาก Fujitsu)
ส่วนแบ่งตลาด TOP500 แยกตามประเทศ สหรัฐอเมริกายังนำเป็นอันดับหนึ่งที่ 161 เครื่อง (เพิ่มจากเดิมที่มี 150 เครื่อง) ตามด้วยจีน 104 เครื่อง (ลดลงจาก 134 เครื่อง)
ที่มา - TOP500
Topics:
TOP500
Supercomputer
High Performance Computing
อ่านต่อ...