Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักเผยรายงานประจำปี 2022 ไทยยังมีปัญหามิจฉาชีพมากขึ้น ยอดสายโทรจากมิจฉาชีพในไทยเพิ่มขึ้น 165% นับเป็น 17 ล้านครั้งในปีก่อน เปรียบเทียบกับปี 2021 ที่มี 6.4 ล้านครั้ง
นอกจากนี้ ยังมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 13.5 ล้านเบอร์ หรือกว่า 45% โดยรหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อเป็นข้อมูลที่มีการรั่วไหลมากที่สุด การรั่วไหลของข้อมูลมาจากหลายสาเหตุทั้งฐานข้อมูลองค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือผู้ใช้กรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ฟิชชิ่ง
สำหรับการหลอกลวงผ่านทาง SMS พบว่า 7 ใน 10 ของข้อความที่ได้รับเป็นข้อความสแปมและมิจฉาชีพ (คิดเป็น 73% จากข้อความทั้งหมด) มิจฉาชีพมักใช้ข้อความในการติดต่อครั้งแรกและหลอกให้เหยื่อกดลิงก์เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวโดยมักเป็นเรื่องบัตรเครดิต สินเชื่อ หรือได้รับสิทธิ์ชิงโชคต่าง ๆ
รายงานยังเผยว่าในประเทศไทย ผู้ใช้ Whoscall แต่ละคนเจอข้อความและสายโทรจากมิจฉาชีพเฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี เพิ่มขึ้น 7% จากปี 2021
ในปี 2022 สายโทรเข้าและข้อความ SMS จากมิจฉาชีพมี 405.4 ล้านครั้งทั่วโลก ถือว่าลดลงจากปี 2021 ที่มี 467 ล้านครั้ง อย่างไรก็ตาม บางประเทศอย่าง ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกงก็ยังได้รับสายโทรและข้อความจากมิจฉาชีพเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้น
คาดว่าปัญหานี้จะเพิ่มขึ้นอีกจากการที่บริการออนไลน์ได้รับความนิยม ข้อมูลของ Fortune Business Insight ที่ทำการวิจัยธุรกิจเผยว่า อุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริตจะมีมูลค่าเพิ่มถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2029 เติบโต 22.8% ต่อปีจากช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการทุจริตมากขึ้นจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
Whoscall ให้คำแนะนำว่าอย่ากดลิงก์ในข้อความ SMS จากคนที่ไม่รู้จัก อย่ากรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ที่น่าสงสัย และหากใช้แอปพลิเคชันก็ให้ช่วยกันรายงานเบอร์มิจฉาชีพให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์
Topics:
Whoscall
Scam
Cybersecurity
อ่านต่อ...
นอกจากนี้ ยังมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 13.5 ล้านเบอร์ หรือกว่า 45% โดยรหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อเป็นข้อมูลที่มีการรั่วไหลมากที่สุด การรั่วไหลของข้อมูลมาจากหลายสาเหตุทั้งฐานข้อมูลองค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือผู้ใช้กรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ฟิชชิ่ง
สำหรับการหลอกลวงผ่านทาง SMS พบว่า 7 ใน 10 ของข้อความที่ได้รับเป็นข้อความสแปมและมิจฉาชีพ (คิดเป็น 73% จากข้อความทั้งหมด) มิจฉาชีพมักใช้ข้อความในการติดต่อครั้งแรกและหลอกให้เหยื่อกดลิงก์เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวโดยมักเป็นเรื่องบัตรเครดิต สินเชื่อ หรือได้รับสิทธิ์ชิงโชคต่าง ๆ
รายงานยังเผยว่าในประเทศไทย ผู้ใช้ Whoscall แต่ละคนเจอข้อความและสายโทรจากมิจฉาชีพเฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี เพิ่มขึ้น 7% จากปี 2021
ในปี 2022 สายโทรเข้าและข้อความ SMS จากมิจฉาชีพมี 405.4 ล้านครั้งทั่วโลก ถือว่าลดลงจากปี 2021 ที่มี 467 ล้านครั้ง อย่างไรก็ตาม บางประเทศอย่าง ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกงก็ยังได้รับสายโทรและข้อความจากมิจฉาชีพเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้น
คาดว่าปัญหานี้จะเพิ่มขึ้นอีกจากการที่บริการออนไลน์ได้รับความนิยม ข้อมูลของ Fortune Business Insight ที่ทำการวิจัยธุรกิจเผยว่า อุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริตจะมีมูลค่าเพิ่มถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2029 เติบโต 22.8% ต่อปีจากช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการทุจริตมากขึ้นจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
Whoscall ให้คำแนะนำว่าอย่ากดลิงก์ในข้อความ SMS จากคนที่ไม่รู้จัก อย่ากรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ที่น่าสงสัย และหากใช้แอปพลิเคชันก็ให้ช่วยกันรายงานเบอร์มิจฉาชีพให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์
Topics:
Whoscall
Scam
Cybersecurity
อ่านต่อ...