Wikipedia ประกาศรองรับ dark mode อย่างเป็นทางการ บนหน้าเว็บทั้งเดสก์ท็อปและมือถือ
ทีมพัฒนาบอกว่า dark mode เป็นส่วนต่อขยายของธีม Vector ที่เริ่มใช้งานในปี 2022 โดยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่ถูกเรียกร้องเข้ามามากที่สุด แต่การทำ dark mode ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ไม่ใช่เป็นแค่การกดฟิลเตอร์สลับสีแล้วจบกันไป เนื่องจากตัวคอนเทนต์อาจเกิดปัญหาสีเพี้ยนจากการสลับสี จนสูญเสียความหมายที่ถูกต้องไปเลย เช่น หน้าของสี International Orange เมื่อกลับสีแล้วจะเพี้ยน
อีกปัญหาหนึ่งที่พบคือเรื่อง accessibility เพราะการสลับ dark mode จำเป็นต้องให้มีคอนทราสต์ระหว่างตัวอักษรกับสีพื้นที่มากพอ อ่านได้ง่าย แต่เนื้อหาในบางเพจอาจเลือกสีพื้นหลังที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้มากนัก เช่น เพจของสโมสรฟุตบอล Wrexham ใช้สีแดงซึ่งเป็นสีประจำสโมสร เป็นสีพื้นของตาราง แต่เมื่อเป็นสีแดงโทนที่ไม่ได้ออกแบบมาเรื่อง accessibility พอกลับสีแล้วจึงเกิดปัญหา
ทีมพัฒนาจึงต้องสร้างเครื่องมือตรวจเช็คว่ามีเพจใดบ้างที่มีปัญหา accessibility แล้วค่อยๆ ตามไปแก้ไขด้วย เนื่องจากปัญหานี้ ทำให้ทีมพัฒนายังเลือกปล่อย dark mode กับ Wikipedia ในทุกภาษา ให้กับผู้ใช้ทุกคนที่ล็อกอินก่อน ส่วนผู้ใช้ที่ไม่ล็อกอิน จะเห็น dark mode แค่ใน Wikipedia บางภาษาเท่านั้น
วิธีการใช้งานต้องเข้าไปเปลี่ยนธีมในหน้า Settings ของผู้ใช้แต่ละคน โดยเลือกได้ว่าเป็นธีมสี light, dark หรืออิงตามค่าของระบบปฏิบัติการ
ตัวอย่าง International Orange ที่ถูกต้อง (บน) และผิด (ล่าง)
ตัวอย่างโทนสีแดงของ Wrexham ก่อนและหลังแก้ไข
ที่มา Wikipedia
Topics:
Wikipedia
Continue reading...
ทีมพัฒนาบอกว่า dark mode เป็นส่วนต่อขยายของธีม Vector ที่เริ่มใช้งานในปี 2022 โดยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่ถูกเรียกร้องเข้ามามากที่สุด แต่การทำ dark mode ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ไม่ใช่เป็นแค่การกดฟิลเตอร์สลับสีแล้วจบกันไป เนื่องจากตัวคอนเทนต์อาจเกิดปัญหาสีเพี้ยนจากการสลับสี จนสูญเสียความหมายที่ถูกต้องไปเลย เช่น หน้าของสี International Orange เมื่อกลับสีแล้วจะเพี้ยน
อีกปัญหาหนึ่งที่พบคือเรื่อง accessibility เพราะการสลับ dark mode จำเป็นต้องให้มีคอนทราสต์ระหว่างตัวอักษรกับสีพื้นที่มากพอ อ่านได้ง่าย แต่เนื้อหาในบางเพจอาจเลือกสีพื้นหลังที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้มากนัก เช่น เพจของสโมสรฟุตบอล Wrexham ใช้สีแดงซึ่งเป็นสีประจำสโมสร เป็นสีพื้นของตาราง แต่เมื่อเป็นสีแดงโทนที่ไม่ได้ออกแบบมาเรื่อง accessibility พอกลับสีแล้วจึงเกิดปัญหา
ทีมพัฒนาจึงต้องสร้างเครื่องมือตรวจเช็คว่ามีเพจใดบ้างที่มีปัญหา accessibility แล้วค่อยๆ ตามไปแก้ไขด้วย เนื่องจากปัญหานี้ ทำให้ทีมพัฒนายังเลือกปล่อย dark mode กับ Wikipedia ในทุกภาษา ให้กับผู้ใช้ทุกคนที่ล็อกอินก่อน ส่วนผู้ใช้ที่ไม่ล็อกอิน จะเห็น dark mode แค่ใน Wikipedia บางภาษาเท่านั้น
วิธีการใช้งานต้องเข้าไปเปลี่ยนธีมในหน้า Settings ของผู้ใช้แต่ละคน โดยเลือกได้ว่าเป็นธีมสี light, dark หรืออิงตามค่าของระบบปฏิบัติการ
ตัวอย่าง International Orange ที่ถูกต้อง (บน) และผิด (ล่าง)
ตัวอย่างโทนสีแดงของ Wrexham ก่อนและหลังแก้ไข
ที่มา Wikipedia
Topics:
Wikipedia
Continue reading...